ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาในสภาพแช่แข็งต่อคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของเนื้อหมู

ผู้แต่ง

  • วรวลัญช์ ฉิมพะเนาว์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • สุบงกช โตไพบูลย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • เอกรินทร์ อินประมูล วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • มาลัยพร วงค์แก้ว วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • รัตติยากร ชาตตนนท์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

คำสำคัญ:

เนื้อหมู, การเก็บรักษาในสภาพแช่แข็ง , คุณสมบัติทางกายภาพ, คุณสมบัติทางเคมี

บทคัดย่อ

สืบเนื่องจากปัญหาที่พบ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ จังหวัดเชียงใหม่ คุณภาพเนื้อสัมผัสของ  ไส้กรอกชนิดอิมัลชันที่ผลิตจากเนื้อหมูแช่แข็งมีความแตกต่างจากการแปรรูปด้วยเนื้อหมูสดในบางรอบการผลิต งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาผลของการเก็บรักษาในสภาพแช่แข็งต่อคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของเนื้อหมู เพื่อระบุระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บรักษาเนื้อหมูแช่แข็งก่อนนำมาแปรรูปเป็นไส้กรอก โดยคัดเลือกเนื้อหมูสดใหม่ส่วนสันนอกที่มีขนาด สี และน้ำหนักใกล้เคียงกัน จากนั้นนําไปล้างน้ำสะอาดและทำการตัดแต่ง โดยเลาะแยกเอาแต่ส่วนของเนื้อแดง โดยให้แต่ละชิ้นมีน้ำหนักชิ้นละประมาณ 500 กรัม บรรจุใส่ถุงซิปล็อค เก็บรักษาเนื้อหมูที่อุณหภูมิ -40°ซ. เป็นระยะเวลา 6 เดือน และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ค่าสี ลักษณะเนื้อสัมผัส และโครงสร้างทางจุลภาค และคุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ ค่าความเป็นกรดด่าง ปริมาณความชื้น การสูญเสียน้ำจากการทำละลายน้ำแข็ง ปริมาณโปรตีน และปริมาณไขมัน ผลการศึกษาพบว่าระหว่างการเก็บรักษา ในสภาพแช่แข็ง เนื้อหมูมีการเปลี่ยนแปลงสีจากสีแดงสดเป็นสีโทนแดงที่มีความคล้ำมากขึ้นและมีสีซีดจางลง ค่าความยืดหยุ่นลดลง ค่าความคงทนต่อการบดเคี้ยวที่บ่งบอกถึงความเหนียวเพิ่มขึ้น และมีค่าความแข็งเพิ่มขึ้น ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนภายหลังการเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา 3 เดือน สอดคล้องกับภาพการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางจุลภาคค่าความเป็นกรดด่างของเนื้อหมูแช่แข็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปจนถึงเดือนที่ 4 และลดลงเล็กน้อยหลังจากนั้น โดยความชื้นในเนื้อสัตว์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่พบการสูญเสียน้ำจากการทำละลายน้ำแข็งของเนื้อหมูเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการ แช่แข็ง สำหรับปริมาณโปรตีนไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ปริมาณไขมันลดลงภายหลังการเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา 2 เดือน จากการวิเคราะห์ทั้งหมดบ่งชี้การเสื่อมสภาพของเนื้อหมูและชี้ให้เห็นว่าไม่ควรนำเนื้อหมูที่เก็บรักษาไว้นานเกิน 3 เดือน มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

References

Ali, S., W. Zhang, N. Rajput, M. Ammar Khan, C. Li and G. Zhou. 2015. Effect of multiple freeze–thaw cycles on the quality of chicken breast meat. Food Chemistry 173: 808-814.

AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of AOAC International. 17th Edition. Gaithersburg, Maryland: AOAC International.

Aroeira, C.N., R.A.T. Filho, P.R. Fontes, A.L.S. Ramos, L.A.M. Gomide, M.M. Ladeira and E.M. Ramos. 2017. Effect of freezing prior to aging on myoglobin redox forms and CIE color of beef from Nellore and Aberdeen Angus cattle. Meat Science 125: 16-21.

Chantarat, P., K. Kijroongrojana and M. Vittayanont. 2005. Effect of ice storage on muscle protein properties and qualities of emulsion fish sausage from bigeye snapper (Priacanthus tayenus) and lizardfish (Saurida undosquamis). Songklanakarin Journal of Science and Technology 27(1): 123-138.

Choi, M.J., T. Abduzukhurov, D. Park, E. Kim and G.P. Hong. 2018. Effects of deep freezing temperature for long-term storage on quality characteristics and freshness of lamb meat. Korean Journal for Food Science of Animal Resources 38(5): 959-969.

Etheridge R.D., G.M. Pesti and E.H. Foster. 1998. A comparison of nitrogen values obtained utilizing the Kjeldahl nitrogen and Dumas combustion methodologies (Leco CNS 2000) on samples typical of an animal nutrition analytical laboratory. Journal of Animal Feed Science and Technology 73: 21-28.

Huidobro, F.R, E. Miguel, B. Blázquez and E. Onega. 2005. A comparison between two methods (Warner Bratzler and texture profile analysis) for testing either raw meat or cooked meat. Meat Sci 69(3): 527-536.

Hussein, H.A., M.N. Salman and A.M. Jawad. 2020. Effect of freezing on chemical composition and nutritional value in meat. Drug Invention Today 13(2): 329-333.

Kennedy, C.J. 2000. Managing Frozen Foods. Sawston: Woodhead Publishing. 304 p.

Kono, S., M. Kon, T. Araki and Y. Sagara. 2017. Effects of relationships among freezing rate, ice crystal size and color on surface color of frozen salmon fillet. Journal of Food Engineering 214: 158-165.

Leygonie, C., T.J. Britz and L.C. Hoffman. 2012. Impact of freezing and thawing on the quality of meat. Review Meat Science 91(2): 93-98.

McGuire, R.G. 1992. Reporting of objective colour measurement. HortScience 27(12): 1254-1255.

Medic, H., I.D. Kusec, J. Pleadin, L. Kozacinski, B. Njari, B. Hengl and G. Kusec. 2018. The impact of frozen storage duration on physical, chemical and microbiological properties of pork. Meat Science 140: 119-127.

Mortensen, M., H.J. Andersen, S.B. Engelsen and H.C. Bertram. 2006. Effect of freezing temperature, thawing and cooking rate on water distribution in two pork qualities. Meat Science 72(1): 34-42.

Mousavi, R., T. Miri, P.W. Cox and P.J. Fryer. 2007. Imaging food freezing using X-ray microtomography. International Journal of Food Science and Technology 42: 714-727.

Przybylski, W., G. Monin, M. Koćwin-Podsiadła and E. Krzecio. 2006. Glycogen metabolism in muscle and its effects on meat quality in pigs. Journal of Food and Nutrition Sciences 56(3): 257-262.

Rattanapanone, N. 2014. Food Chemistry. 5th Edition. Bangkok: Odeon Store Publisher. 504 p. [in Thai]

Reddy, G.V.S., L.N. Srikar, B.K. Khuntia and N. Vinaykumar. 1995. Effect of pre- process storage in ice on the chemical characteristics of fish mince. Journal of Food Science and Technology 32: 315-319.

Russell, A.B., P.E Cheney and S.D Wantling. 1999. Influence of freezing conditions on ice crystallization in ice cream. Journal of Food Engineering 39(2): 179-191.

Tippala, T., N. Koomkrong and A. Kayan. 2021. Influence of freeze-thawed cycles on pork quality. Animal Bioscience 34(8): 1375-1381.

Wei, R., P. Wang, M. Han, T. Chen, X. Xu and G. Zhou. 2017. Effect of freezing on electrical properties and quality of thawed chicken breast meat. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences 30(4): 569-575.

Wu, Z., W. Ma, Z. Xian, Q. Liu, A. Hui and W. Zhang. 2021. The impact of quick-freezing methods on the quality, moisture distribution and microstructure of prepared ground pork during storage duration. Ultrasonics Sonochemistry 78: 105707.

Zhang, Y., Y.H.B. Kim, E. Puolanne and P. Ertbjerg. 2022. Role of freezing-induced myofibrillar protein denaturation in the generation of thaw loss: a review. Meat Science 190: 108841.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024