ผลการเสริมใบอังกาบหนูผงในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซากและค่าไขมันในเลือดไก่เนื้อ

ผู้แต่ง

  • พิพัฒน์ ชนาเทพาพร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์
  • จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

อังกาบหนู, สมรรถภาพการผลิต, ไขมันในเลือด, ไก่เนื้อ, คุณภาพซาก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมใบอังกาบหนูผงต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก  และค่าไขมันในเลือดของไก่เนื้อ ทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ปัจจัยที่ใช้ในการทดลองมี 5 ปัจจัย คือ การเสริมใบอังกาบหนูผงในอาหารสำเร็จรูป  ที่ระดับ 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0% (โดยน้ำหนัก) ในแต่ละปัจจัยทำการทดลอง 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ทำการเก็บข้อมูลน้ำหนักตัวของไก่เนื้อทดลอง และข้อมูลปริมาณอาหาร ที่กินของไก่เนื้อทุกสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์       นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ทำการวิเคราะห์หาค่าไขมันในเลือด โดยการสุ่มไก่เนื้อหน่วยทดลองละ 6 ตัว เพื่อเก็บตัวอย่างเลือดจาก     เส้นเลือดดำบริเวณปีก (Wing vein) ตัวละ 2 มิลลิลิตร และทำการศึกษาคุณภาพซาก โดยการสุ่มไก่เนื้อหน่วยทดลองละ 3 ตัว มาชั่งน้ำหนักตัวไก่มีชีวิต จากนั้นทำการฆ่าแล้วชั่งน้ำหนักซากและอวัยวะภายใน และทำการตัดแต่งชิ้นส่วนตามวิธีมาตรฐานสากล แล้วนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ซาก และเปอร์เซ็นต์ชิ้นส่วนต่าง ๆ  ผลการทดลองการเสริมใบอังกาบหนูผงในระดับที่แตกต่างกัน  ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตไก่เนื้อ พบว่าการเสริม ใบอังกาบหนูผงที่ระดับ 0.5% นั้น ทำให้ไก่เนื้อมีค่าเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโต (ADG) ดีกว่าไก่เนื้อในกลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)  การเสริมใบอังกาบหนูผงในทุกกลุ่มไม่พบความแตกต่างทางสถิติของค่าเฉลี่ยคุณภาพซากโดยรวม ทั้งเปอร์เซ็นต์ซากหลังฆ่า เปอร์เซ็นต์ตัดแต่ง และค่าปริมาณไขมันในเลือดทั้งหมด (P>0.05)

References

Amoo, S.O., J.F. Finnie and J. Van Staden. 2009. In Vitro pharmacological evaluation of three Barleria species. Journal of Ethnopharmacology 121(2): 274-277.

Jaturasitha, S. 2007. Meat Management. Chiang Mai: Mingmuang Press. 170 p. [in Thai]

Khajarern, S. and J. Khajarern. 2006. Dietary substitution of Thai herbs for antibiotics for growth promotion and disease prevention in poultry and pigs. Journal of Mahanakorn Veterinary Medicine 1(1): 33-49. [in Thai]

Kumar, V.P., A. Sharma, S.C. Joshi, R.S. Gupta and V.P. Dixit. 2005. Effect of isolated fractions of Barleria prionitis root methanolic extract on reproductive function of male rats: preliminary study. Fitoterapia 76(5): 428-432.

Kupittayanant, S. 2006. Effects of garlic (Allium saltivum linn.) supplementation on male characteristic in broiler chickens. [Online]. Available http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/handle/123456789/2396. (November 20, 2022).

Panja, P. 2015. Effects of dietary supplementation of Moringa oleifera leaves powder on production performances and plasma lipid in broilers. Thai Science and Technology Journal 23(2): 283-292. [in Thai]

Poonpipat, R., S. Isariyodom, S. Thummabood and P. Sukprasert. 1999. Effect of Herbal Plant Andrographis paniculata wall. ex nees. supplementation in broiler rations. pp. 108-112. In Proceedings of the 37th Kasetsart University Annual Conference: Animal, Veterinary Science. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Singh, B., S. Bani, D.K. Gupta, B.K. Chandan and A. Kaul. 2003. Anti-inflammatory activity of ‘TAF’ an active fraction from the plant Barleria prionitis Linn. Journal of Ethnopharmacology 85(2-3): 187-193.

Somkuna, A. and N. Somkuna. 2014. Effects of Supplementation of Kariyat (Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees) in broiler diets on productive performance. [Online]. Available http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2843?show=full. (November 2, 2022).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024