ความหลากชนิดและอัตราการเพิ่มพูนของไม้ไผ่ในพื้นที่ป่าชุมชน จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
ไม้ไผ่, ความหลากชนิด, ป่าชุมชน, จังหวัดแพร่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของชนิด และอัตราการเพิ่มพูนของไม้ไผ่ ในพื้นที่ป่าชุมชน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยทำการคัดเลือกพื้นที่ป่าชุมชน 3 แห่ง เป็นกลุ่มตัวอย่างของป่าชุมชนในอำเภอลอง ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านปง ป่าชุมชนบ้านนาสาร และป่าชุมชนบ้านหัวฝาย ทำการวางแปลงตัวอย่างแบบเป็นระบบขนาด 20x20 ตารางเมตร ในพื้นที่ป่าชุมชนละ 25 แปลง รวมทั้งหมด 75 แปลง ทำการเก็บข้อมูล ด้านจำนวนกอไม้ไผ่ นับจำนวนลำ พร้อมทำการสุ่มจำนวน 3 ลำต่อกอ วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง วัดความสูงทั้งหมด ความกว้างของกอ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลค่าดัชนีความหลากของชนิดจากสมการของ Shanon–Wiener Index (H') และนับจำนวนตอไม้ไผ่สดที่ถูกตัด นับจำนวนหน่อไผ่ใหม่จากแปลงตัวอย่างชนิดละ 30 กอ เพื่อคำนวณอัตราการเพิ่มพูนของไม้ไผ่แต่ละชนิด
ผลการศึกษาพบไม้ไผ่ จำนวน 5 ชนิด 4 สกุล ได้แก่ ไผ่ซางนวล (Dendrocalamus membranaceus) ไผ่ข้าวหลาม (Cephalostachyum pergracile) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) ไผ่ไล่ลอ (Gigantochloa nigrociliata) และไผ่บงดำ (Bambusa tulda) โดยในป่าชุมชนบ้านปง มี 5 ชนิด บ้านนาสาร มี 5 ชนิด และบ้านหัวฝาย มี 4 ชนิด ซึ่งไม่พบไผ่บงดำ โดยมีค่าดัชนีความหลากชนิด (H') ของไม้ไผ่ในพื้นที่บ้านปง เท่ากับ 1.00 บ้านนาสาร เท่ากับ 1.32 และบ้านหัวฝาย เท่ากับ 1.27 ขนาดของพื้นที่หน้าตัด (ตารางเมตร/เฮกแตร์) บ้านปง เท่ากับ 0.54 บ้านนาสาร เท่ากับ 0.49 และบ้านหัวฝาย เท่ากับ 0.63 และด้านความถี่โดยรวม (ร้อยละ) บ้านปง เท่ากับ 152 บ้านนาสาร เท่ากับ 196 และบ้านหัวฝาย เท่ากับ 212 ตามลำดับ อัตราการเพิ่มพูนของไม้ไผ่ ซางนวลในป่าชุมชนบ้านปงมากที่สุด 758 ลำ/ปี รองลงมา บ้านหัวฝาย จำนวน 608 ลำ/ปี และบ้านนาสาร จำนวน 368 ลำ/ปี ตามลำดับ
References
Asanok, L., N. Papukjan, J. Punsata and S. Maiman. 2015. The preliminary study on stocking and utilization of bamboo in mixed deciduous forest with bamboo after disturbance at Huai Mae Hin community forest, Ngao district Lumpang province. Thailand Forest Ecological Journal 4: 175-181.
Bulunpruek, W. 2000. Implementation of the Community Forest Establishment Project of Ban Mae Han, Mae Hong Son Province. Chiang Mai: Maejo University. 100 p. [in Thai]
Congalton, R.G. and K. Green. 2019. Assessing the Accuracy of Remotely Sensed Data: Principles and Practices. Florida: CRC press. 348 p.
Limchuwong, S. 1997. Preparation of Government Officials. Speech in Training, 18-22 March 1997 at Wiang Inn Hotel, Chiang Rai Province. Chiang Rai: Forest Resource Management Office No.2. [in Thai]
Marchesini, V.A., O.E. Sala and A.T. Austin. 2009. Ecological consequences of a massive flowering event of bamboo (Chusquea culeou) in a temperate forest of Patagonia, Argentina. Journal of Vegetation Science 20(3): 424-432.
Marod, D., V. Neumrat, S. Panuthai, T. Hiroshi and P. Sahunalu. 2005. The Dynamics of Mixed Deciduous Forest after Agregarious Flowering of Bamboo (Cephalostachyum pergracile) at Mae Klong Watershed Resaearch Station, Kanchanaburi. Agriculture and Natural Resources 39(4): 588-593.
Sangkaew, S., A. Teerawatananon and K. Jindawong. 2011. Bamboo of Thailand. Bangkok: Company Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. 263 p. [in Thai]
Shannon, C.E. and W. Wiener. 1949. The Mathematical Theory of Communication. Urbana: Illinois Press-University. 131 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร