ผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและคุณค่าโภชนาการของผักเหลียง (Gnetum gnemon var. Tenerum)

ผู้แต่ง

  • จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ชุมพร
  • ณัชพัฒน์ สุขใส สาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ชุมพร
  • ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ชุมพร
  • อำนาจ รักษาพล สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ชุมพร
  • เบญจมาศ ณ ทองแก้ว สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ชุมพร

DOI:

https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.2

คำสำคัญ:

ผักเหลียง , ปุ๋ยอินทรีย์ , การเจริญเติบโต , สารต้านอนุมูลอิสระ

บทคัดย่อ

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชผักและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผักเหลียงเป็นผักพื้นบ้านที่นิยมปลูกในจังหวัดชุมพร วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อทดสอบผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและศึกษาคุณค่าโภชนาการของผักเหลียง ในการทดลองได้วางแผนการทดลองแบบ (Completely Randomized Design: CRD) ประกอบด้วย 4 การทดลอง ๆ ละ 10 ซ้ำ ดังนี้ การทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยใดๆ (ชุดควบคุม) การทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์มูลไก่อัดเม็ด อัตรา 300 กรัม/ต้น  การทดลองที่ 3 ปุ๋ยมูลไก่อัดเม็ด 150 กรัม/ต้น ร่วมกับปุ๋ยมูลค้างคาวอัดเม็ด 150 กรัม/ต้น การทดลองที่ 4 สารอินทรีย์แบบผง สูตรบำรุงพืช Organic way® อัตรา 0.1 กรัม/ต้น ทดสอบนาน 56 วัน จากผลการทดลองพบว่า ทุกการทดลองทำให้มีความสูงต้น ความกว้าง      ทรงพุ่ม จำนวนใบเพสลาด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ส่วนคุณค่าโภชนาการและสารสำคัญที่พบในผักเหลียงที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พบว่าการใส่สารอินทรีย์ผง สูตรบำรุงพืช Organic way® ทำให้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด 1,658.34 mmoles TE อย่างไรก็ตาม สิ่งทดลองดังกล่าว ทำให้มีปริมาณพอลีฟีนอลรวมทั้งหมดต่ำที่สุด จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ปุ๋ยอินทรีย์แต่ละชนิดมีผลต่อคุณค่าโภชนาการและ สารสำคัญของผักเหลียง อาจใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารสชาติและคุณค่าทางโภชนาการของผักเหลียง

 

References

Department of Agricultural Extension. n.d. Pugleang. [Online]. Available https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2018/10/pugleang.pdf (June 7, 2024). [in Thai]

Department of Soil Science. 2001. Basic of Soil Science. Bangkok: Kasetsart University. 547 p. [in Thai]

Foi Phikun, W. 2003. Techniques and Use of Soil, Fertilizer and Water. Surin: Faculty of Science and Technology, Surin Rajabhat University. 406 p. [in Thai]

Kunathip, K. 2021. The Study of Total Phenolic Content and Antioxidant Activity of Kale Powder Products. Master Thesis. Dhurakij Pundit University. 40 p. [in Thai]

Pandey, K.B. and S.I. Rizvi. 2009. Plant polyphenols as dietary antioxidants in human health and disease. Oxid Med Cell Longev. 2(5): 270-278.

Suwanrit, A. 2007. The truth about fertilizers. Journal of Soil and Fertilizer 29(3): 89-99. [in Thai]

Thai Agricultural Research Data Warehouse. 2024. Liang vegetables, leafy vegetables from the forest, suitable for city people. [Online]. Available http://blog.arda.or.th/Vegetables/Liangvegetable–leafyvegetablefromtheforest (January 12, 2024). [in Thai]

Tincheva, P.A. 2019. The effect of heating on the vitamin C content of selected vegetables. World Journal of Advanced Research and Reviews 3(3): 27-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2025

How to Cite

วิชาสวัสดิ์ จ., สุขใส ณ. ., เอ้งฉ้วน ฉ. ., รักษาพล อ. ., & ณ ทองแก้ว เ. . (2025). ผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและคุณค่าโภชนาการของผักเหลียง (Gnetum gnemon var. Tenerum). วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 42(1), 15–25. https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.2