การศึกษาประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ไก่พื้นเมืองภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ณปภัช ช่วยชูหนู คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, นครศรีธรรมราช
  • ประพจน์ มลิวัลย์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, นครศรีธรรมราช
  • เอื้อมพร เอกขระ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, นครศรีธรรมราช
  • สมคิด ชัยเพชร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, นครศรีธรรมราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.9

คำสำคัญ:

ไก่แดง , ไก่เบตง , ไก่คอล่อน , น้ำเชื้อ, การผลิตไข่ , อัตราการผสมติด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณ คุณภาพน้ำเชื้อ และอัตราการผสมติดด้วยการผสมเทียม ภายใต้การเลี้ยงในโรงเรือนของไก่แดง เบตง และคอล่อน ซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองของภาคใต้ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) โดยใช้พ่อพันธุ์ไก่แดง ไก่เบตง และ  ไก่คอล่อน อายุ 8 เดือน สายพันธุ์ละ 6 ตัว รวม 18 ตัว และแม่ไก่พันธุ์ไก่แดง เบตง และคอล่อน อายุ 5 เดือน สายพันธุ์ละ 30 ตัว รวม 90 ตัว สัตว์ทดลองผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ ดังนี้ ไก่แดง จากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี  ไก่คอล่อน จากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช และไก่เบตง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทำการรีดน้ำเชื้อ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินคุณภาพน้ำเชื้อ ประกอบด้วย ปริมาณ ความเข้มข้น อัตราอสุจิรอดชีวิต อสุจิรูปร่างปกติ อัตราการไข่ ขนาดฟองไข่ และการทดสอบอัตราการผสมติดโดยการผสมเทียม ใช้น้ำยาเจือจางน้ำเชื้อสูตร IGGKPh ผสมเทียม 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำเชื้อและคุณภาพน้ำเชื้อเฉลี่ยของไก่แดง ไก่เบตง และไก่คอล่อน เฉลี่ยในรอบ 1 ปี ไก่เบตงมีปริมาณน้ำเชื้อเฉลี่ย 0.40±0.13 มล. สูงกว่า (P<0.01) ไก่แดงและไก่คอล่อน ซึ่งมีปริมาณ 0.36±0.12 และ 0.34±0.14 มล. ตามลำดับ แต่ไก่คอล่อนมีความเข้มข้นของอสุจิเฉลี่ย (4,002.70±194.80)x106 เซลล์/มล. สูงกว่า (P<0.05) ไก่แดง และไก่เบตง ซึ่งมีความเข้มข้น (3,875.50±262.80)x106 และ (3,732.20±187.70)x106 เซลล์/มล. ตามลำดับ แต่ไก่เบตงมีจำนวนอสุจิเฉลี่ยต่อการรีด (1,489.20±132.12)x106 เซลล์ สูงกว่า (P<0.05) ไก่คอล่อนและไก่แดง (1,378.30±172.61)x106 และ (1,372.69±137.51)x106 เซลล์ เปอร์เซ็นต์อสุจิรอดชีวิต อสุจิรูปร่างปกติ และการเคลื่อนที่ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) การให้ผลผลิตไข่ของแม่ไก่ในรอบ 1 ปี แม่ไก่คอล่อนมีน้ำหนักฟองไข่เฉลี่ย 46.35±9.05 กรัม/ฟอง สูงกว่า (P<0.01) ไก่แดงและไก่เบตง ซึ่งมีน้ำหนัก 41.52±8.13 และ 45.06±9.33 กรัม/ฟอง ตามลำดับ แม่ไก่เบตงและแม่ไก่คอล่อนมีน้ำหนักตัวในการวางไข่ฟองแรก 1,650.25±190.75 และ 1,680.36±125.53 กรัม/ตัว ตามลำดับ สูงกว่า (P<0.05) แม่ไก่แดง 1,580.50±110.15 กรัม/ตัว อัตราการผสมติดจากการผสมเทียมและประสิทธิภาพการฟักออกของไก่ทั้งสามสายพันธุ์ ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) จากข้อมูลปริมาณและคุณภาพน้ำเชื้อ อัตราการไข่ และอัตราการผสมติด ของไก่พื้นเมืองภาคใต้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเพาะขยายพันธุ์ การวางแผนการผสมพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ และการเก็บรักษาเก็บน้ำเชื้อแบบแช่แข็งเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรม

References

Aengwanich, W. 2008. Comparative ability to tolerance heat between Thai indigenous, Thai indigenous crossbred and broilers chicken by using percentage of lymphocyte. Inter Journal Poultry Science 7: 1071-1073.

Ampaporn, K. 2010. The Study of Genetic Diversity and Genetic Structure Comparison Between Red Jungle Fowls and Thai Native Chicken by Microsatellites. Master Thesis. Khon Kaen University. 115 p. [in Thai]

Blesbois, E., F. Seigneurin, I. Grasseau, C. Limouzin, J. Besnard, D. Gourichon, G. Coquerella, P. Rauit and M. Tixier-Boichard. 2007. Semen cryopreservation for ex-situ management of genetic diversity in chickens creation of the French avian cryo bank. Poultry Science 86: 555-564.

Blom, E. 1950. A one – minute live-dead sperm stain by means of eosin-nigrosin. International. Journal of Fertility and Sterility 1: 176-177.

Boonmatan T. 2013. Cold and Frozen Storage of Native Chicken “Leung Hang Kao” Semen. Master Thesis. Suranaree University of Technology. 121 p. [in Thai]

Burrows, W.H. and J.P. Quinn. 1937. The collection of spermatozoa from the domestic fowl and turkey. Poultry Science 14: 19-24.

Chanjula, P., W. Wanichapichart, T. Thongchumroon and S. Laochareonsuk. 2004. Village Betong chicken production in three Southernmost Thailand: a study of phenotypic characteristics, growth, carcass, yield and egg performance of Betong chickens. Journal of Agriculture 20(3): 278-288.

Chuaychu-noo, N. 2018. The Quantity Improvement of Cryopreservation Semen Production in Roosters. Doctoral Dissertation. Khon Kaen University. 101 p. [in Thai]

Duangduen, C. 2008. Influence of hsp70 Gene Variation on Heat Tolerance in Thai Native Chickens. Master Thesis. Khon Kaen University. 103 p. [in Thai]

Etches, R.J. 1996. Reproduction in Poultry. Cambridge: CAB International. 320 p.

Gee, G.F. 1995. Artificial Insemination and Cryopreservation of Semen from Non Domestic Birds. pp. 262-279. In Bakst M.R. and G.J. Wishart. Proceedings of the First International Symposium on the Artificial Insemination of Poultry. Savoy, IL: Poultry Science Association, Inc.

Hammerstedt, R.H. 1995. Cryopreservation of Poultry Semen Current Status and Economics. pp. 229-250. In. Bakst M.R and G.J. Wishart. Proceedings of the First International Symposium on the Artificial Insemination of Poultry Science. Savoy, IL: Poultry Science Association.

Information and Communication Technology Center, Department of Livestock Development. 2021. Database system for farmers. [Online]. Available https://opendata.nesdc.go.th/dataset/d7681470-0120-47ab-8315-5cd28b 9539c8/resource/1b116b37-ce19-415d-ae04-dd734add184f/download/-2564.pdf (October 25, 2022). [in Thai]

Intharachote, U., A. Leotaragul, T. Choimai, T. Jeendoung and C. Prapasawat. 2018. Foundation Stock of 4 Bred Thai Indigenous Chicken. 85 p. In Research Report. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). [in Thai]

Khongsen, M. and P. Boomkaew. 2013. Quantity and quality of semen in chicken. Princess of Narathiwat University Journal 5(4): 144-152. [in Thai]

Lokaewmanee, K. 2014. Factors influencing egg quality. Kasetsart Extension Journal 60(2): 1-8. [in Thai]

Lukaszewicz, E., A. Jerysz, A. Partyka and A. Siudzinska. 2008. Efficacy of evaluation of rooster sperm morphology using different staining methods. Research in Veterinary Science 85(3): 583-588.

Odthon, W., W. Wanicharpichart and V. Supasiripong. 2009. Selection and Breeding Improvement of Naked Neck Chicken. 40 p. In Research Report. Songkhla: Thaksin University. [in Thai]

Saeid, J.M., and K.A. Al-soudi. 1975. Seasonal variation in semen characteristics of White Leghorn, New 178 Hampshire and Indigenous chicken in Iraq. British Poultry Science 16(1975): 97-102.

SAS. 1997. Institute. Inc. SAS/STAT User’s Guide: Ver¬sion 6.12.4 th ed. Carry North Carolina: SAS Institute Inc. 1848 p.

Somtaw S. 2015. Annual Variation on Semen Characteristic and Frozen Semen Quality of Hmong Black-Bone Chicken. Master Thesis. Khon Kaen University. 110 p. [in Thai]

Sonseeda, P., T. Vongpralub and B. Laopaiboon. 2013. Effects of environmental factors ages and breeds on semen characteristics in Thai indigenous chickens: a one year study. The Thai Journal of Veterinary Medicine 43(3): 347-352.

Surai, P.F. and G.J. Wishart. 1996. Poultry artificial insemination technology in the countries of the former USSR. World Poultry Science Journal 52: 27-43.

Vongpralub, T and Y. Phasuk. 2007. Development of Frozen Semen Storage Techniques and Artificial Insemination of Native Chickens. 115 p. In Research Report. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2025

How to Cite

ช่วยชูหนู ณ. ., มลิวัลย์ ป. ., เอกขระ เ. ., & ชัยเพชร ส. . (2025). การศึกษาประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ไก่พื้นเมืองภาคใต้. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 42(1), 94–106. https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.9