การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราไพราโคสโตรบินเพื่อพัฒนาคุณภาพสีผิวผลของลำไย
DOI:
https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.5คำสำคัญ:
ไพราโคลสโตรบิน, ลำไย, สีผิวผล , ดัชนีการเกิดโรค , การวิเคราะห์สารตกค้างบทคัดย่อ
การศึกษาผลของการพ่นสารไพราโคลสโตรบินก่อนการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพสีผิวผลลำไยพันธุ์ดอและการเกิดโรค โดยใช้ต้นลำไยอายุ 20 ปี ในสวนของเกษตรกรที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยพ่นสารไพราโคลสโตรบินความเข้มข้น 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อผลลำไยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.0 ซม. (60 วันก่อนเก็บเกี่ยว) วางแผน การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) โดยมี 4 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ไม่ใช้สารไพราโคลสโตรบิน (ชุดควบคุม) 2) ใช้สาร 1 ครั้ง 30 วันก่อนเก็บเกี่ยว 3) ใช้สาร 2 ครั้ง 30 และ 45 วันก่อนเก็บเกี่ยว และ 4) ใช้สาร 3 ครั้ง 30, 45 และ 60 วันก่อนเก็บเกี่ยว ผลการศึกษาพบว่ากรรมวิธีที่พ่นสาร 2 และ 3 ครั้ง ทำให้ค่าความสว่าง (L) ของผลลำไยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม แต่ค่าสีแดง (a) และค่าสีเหลือง (b) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกกรรมวิธี การวิเคราะห์สารไพราโคลสโตรบินตกค้าง ตรวจพบสารตกค้างในระดับต่ำมาก (0.02-0.05 มก.ต่อกก.) ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MRLs โดยไม่พบสารตกค้างในชุดควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่ากรรมวิธีที่พ่นสารไพราโคลสโตรบิน 1, 2 และ 3 ครั้ง มีดัชนีการเกิดโรคบนผลลำไย 21.9, 13.7 และ 13.5% ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าชุดควบคุม (37.6%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้สารไพราโคลสโตรบินพ่น 1-3 ครั้ง ก่อนการเก็บเกี่ยวช่วยเพิ่มความสว่างของผลลำไยทำให้สีผิวผลเป็นสีเหลืองทองและลดการเกิดโรคได้โดยมีสารตกค้างไม่เกินมาตรฐาน MRLs
References
Chen, Y., H. Lin, Y. Jiang, S. Zhang, Y. Lin and Z. Wang. 2014. Phomopsis longanae Chi induced pericarp browning and disease development of harvested longan fruit in association with energy status. Postharvest Biology and Technology 93: 24-28.
FRAC. 2022. Frac code list: fungal control agents sorted by cross-resistance pattern and mode of action. [Online]. Available https://www.frac.info/docs/default-source/publications (October 24, 2021).
Jaroenkit, T., P. Manochai and N. Charasamrit. 2002. Influence of Fruit Wrapping on the Quality of Longan Skin Color after Harvest (Abstract). pp. 207-208 In Documents from Naresuan Agriculture Seminar No. 1. Phitsanulok: Naresuan University. [in Thai]
Manochai, P., T. Charoenkit, S. Mahattanaphak, C. Pimpimon, P. Chompurat and P. Jomngam. 2018. Increasing the Potential of Longan Production for Export and Post-management: Harvesting to Reduce Losses of the Ban Mae Tam Farmer Group, Mueang District, Phayao Province. Bangkok: The Office of the Research Fund. 222 p. [in Thai]
Manochai, P., W. Suthon, S. Salirat, C. Senanan, C. Srichan and S. Usahatanon. 2005. Pruning to Control the Longan Canopy: the Upturned Canopy, in Putting Fruit Tree Research Results into Commercial Practice. Chiang Mai: Fruit Branch, Department of Horticulture, Maejo University. 70 p. [in Thai]
Office of Research and Development of Postharvest and Agricultural Product Processing. 2014. Postharvest fruit diseases. [Online]. Available www.doa.go.th (October 24, 2021). [in Thai]
Pipattanapakdee, E., D. Bunyakiat, C. Tiyanon, P. Sihanam and O. Rueangwong. 2021. Survey of post-harvest longan fruit rot disease. Agricultural Science 52(2)(Special): 61-64. [in Thai]
Plant Standard and Certification Division. 2018. Set agricultural product standards: pesticide residues: maximum residue limits. [Online]. Available https://www.doa.go.th/psco/?option=com_contact&view=contact&i%20d=1&itemid=61 (October 24, 2021).
Senanan, C. and P. Manochai. 2019. Effect of Fungicides on the Development of Skin Color Quality of Longan Fruit. 30 p. In Research Report. Chiang Mai: Chiatai Company Limited. 30 p. [in Thai]
Sittikul, C., A. Akkaraphisann, P. Nuanbunruang and S. Arun. 2002. Disease and Insect Management: Important Enemies of Longan out of Season in the Northern Region. 220 p. In Research Report. Bangkok: Fund Office, Research Support. [in Thai]
Somat, T. 2000. Chemicals to Prevent and Kill Plant Diseases for the Public. Bangkok: Green Fence Publishing House. 101 p. [in Thai]
Wisetsang, O. 2009. Guide to Selecting Plant Fungicides. Bangkok: Plant Disease Research Group, Plant Protection Development Office, Department of Agriculture. 141 p. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร