แบบจำลองการเกษตรฤดูแล้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สาธิต เหลืองเจริญลาภ หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กรุงเทพฯ
  • อาภาพงศ์ ชั่งจันทร์ หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กรุงเทพฯ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.20

คำสำคัญ:

การเกษตรฤดูแล้ง , แบบจำลองการเกษตร , ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบจำลองการปลูกพืชฤดูแล้งให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สูงที่สุด กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาโครงสร้างสิ่งแวดล้อมต่อการตัดสินใจทำการเกษตรในฤดูแล้ง ดังนี้ 1.1) คัดเลือกโครงสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจทำการเกษตรในฤดูแล้ง 1.2) สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับผู้บริหาร (หัวหน้าหน่วยงาน) จำนวน 6 ท่าน กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มเกษตรกรที่มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 32 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ประเภทแบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิดที่ผ่านการวิเคราะห์ความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ (IOC) 0.8 และขั้นตอนที่ 2 สร้างแบบจำลองการตัดสินใจการทำการเกษตรในฤดูแล้ง โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ดังนี้ 2.1) กำหนดเงื่อนไขปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว 2.2) วิเคราะห์แบบจำลองการตัดสินใจการทำการเกษตรในฤดูแล้งโดยการวิเคราะห์การถดถอย    เชิงเส้น (Multiple linear regression) โดยมีขั้นตอน ดังนี้ (1) กำหนดให้ปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นฤดูแล้ง เป็นตัวแปรต้น และปัจจัยอื่นเป็นตัวแปรตาม และ (2) ลดรูปตัวแปรตาม และยืนยันสมมติฐานที่ได้ให้เป็นค่าคงที่ (3) แบบจำลองการเกษตรฤดูแล้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำเกษตรฤดูแล้งของโครงการฯ ประกอบด้วย 8 โครงสร้าง ได้แก่ (1) ปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นฤดูแล้ง (2) ระยะห่างจากแปลงเพาะปลูกถึงคลองชลประทาน (การเข้าถึงน้ำชลประทาน) (3) ปฏิทินการทำการเกษตรของโครงการ (4) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (5) นโยบายการประกันรายได้หรือผลผลิตหรือโครงการอื่น ๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน (6) นโยบายสนับสนุนปัจจัยการผลิต (7) นโยบายสนับสนุนสินเชื่อการเกษตร และ (8) มาตรการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 2) แบบจำลองการเกษตรฤดูแล้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด คือ หากช่วงต้นฤดูแล้งมีปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำต่ำกว่า 770.00 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ทำการเกษตรควรประกอบไปด้วย บ่อปลา 1,499 ไร่ บ่อกุ้ง 2,734 ไร่  พืชเมล็ดพันธุ์ 591 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 1,379 ไร่ และข้าวนาปรัง 60,697 ไร่ เกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 1,204.28  ล้านบาท/ฤดูกาล ค่า R2 แสดงความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นฤดูแล้ง และรายได้สุทธิเท่ากับ 0.9989

References

Chankaew, K. 2004. Environmental Science. 6th Edition. Bangkok: Kasetsart University Press. 357 p. [in Thai]

Charmonman, U. 2001. Methods for Ensuring the Quality of School Education. Bangkok: Chulalongkorn University. 91 p. [in Thai]

Cherdchanpipat, N. 2015. Teaching Materials for Subject 02207321: Design of Farm Irrigation Systems. Nakhon Pathom: Regional Economy Office, Department of Irrigation Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University Kamphaeng San Campus. 33 p. [in Thai]

Food Security Steering Committee throughout the Supply Chain. 2021. Provincial Monthly Agricultural Product Production Calendar Manual for Food Security and Nutrition Management in 2021. Nonthaburi: Ministry of Public Health 19 p. [in Thai]

Freedman, D.A. 2009. Statistical Models: Theory and Practice. Cambridge: Cambridge University Press. 458 p. ISBN 978-1-139-47731-4.

Planning Division Department of Land Development. 2022. Agricultural areas of Thailand. [Online]. Available https://webapp.ldd.go.th/lpd/ (February 19, 2024).

Regional Economy Office. 2019. Report on Prices of Important Thai Agricultural Products. Bangkok: Bank of Thailand. 22 p.

Sanguansap, S. 2003. Guidelines for Distributing Production in Irrigation Areas: Training of Project Staff to Improve the Water Management System (MWMS). Bangkok: Royal Irrigation Department. 214 p. [in Thai]

Srikanjun, W. and S. Suvarnajata. 2019. Water management: case study of the Lam Pao water delivery and maintenance project. Santapol College Academic Journal 5(1): 25-39. [in Thai]

Thongchan, P. 1989. Project Evaluation Techniques and Methods. Bangkok: Prannok Printing. 31 p. [in Thai]

Thongpan, S. 1984. Peanut Cultivation and Use of Watered Areas for Dry Season Crops in the Lam Pao Irrigation Area, Kalasin Province. 97 p. In Research Report. Bangkok: National Research Council of Thailand. [in Thai]

Thongplew, K. and W. Warawut. 2003. Multi-criteria Decision Making for Water Allocation in Conditions of Water Scarcity from Reservoir Systems: Case Study in the Upper Mun River Basin. pp. 45-54. In The 41st Kasetsart University Academic Conference: Engineering and Architecture. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2025

How to Cite

เหลืองเจริญลาภ ส. ., & ชั่งจันทร์ อ. . (2025). แบบจำลองการเกษตรฤดูแล้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 42(1), 239–253. https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.20