ความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ของเกษตรกร ในจังหวัดนครสวรรค์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.7คำสำคัญ:
ข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ , ปัจจัย, ความเป็นไปได้ , ความคิดเห็นบทคัดย่อ
ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ยังคงใช้สารเคมีอยู่มาก ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์อินทรีย์ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ให้ได้มาตรฐานอินทรีย์ของเกษตรกร จึงเป็นเรื่องจำเป็น การวิจัยนี้จึงพยายามที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความเป็นไปได้ และปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ของเกษตรกร รวมทั้งความคิดเห็นของบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ของเกษตรกร โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ร่วมกับเทคนิคการสนทนากลุ่มกับเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์จำนวน 181 คน ใน 6 อำเภอ ของจังหวัดนครสวรรค์ และชุดคำถามร่วมกับวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับตัวแทนบริษัทเอกชนผู้ผลิตอาหารสัตว์ ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเหตุผล ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.90) เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 56.90 ปี สมรสแล้ว (ร้อยละ 70.70) จบประถมศึกษา (ร้อยละ 54.10) มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือน 179,143.64 บาทต่อปี มีพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์เฉลี่ย 22.31 ไร่ มีแหล่งเงินทุนคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ร้อยละ 50.30) เคยฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 53.00) ใช้ที่ดินของตนเองและเช่ามากที่สุด (ร้อยละ 37.60) มีประสบการณ์ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 13.73 ปี มีทัศนคติ (=3.20) และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 97.80) ในระดับปานกลางมีความคิดเห็นต่อการปลูกข้าวโพดอินทรีย์ในระดับเห็นด้วยมาก (
=3.52) และความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์อยู่ในระดับมาก (
=3.93) ในขณะที่พบ 4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นไปได้ในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ คือ ระดับการศึกษา ทัศนคติ ความคิดเห็น และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์อินทรีย์ อย่างไรก็ตามเกษตรกรต้องการให้มีการเจาะน้ำบาดาล หาวิธีการป้องกันแมลงศัตรูพืช และการประกันราคารับซื้อที่แน่นอน เพื่อบรรเทาปัญหาความไม่เพียงพอของน้ำ แมลงศัตรูพืช และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
References
Department of Agriculture. 2020. Knowledge Management Technology for Producing Corn for Animal Feed in the Central Region. Bangkok: Office of Agricultural Research and Development Region 5, Department of Agriculture. 67 p. [in Thai]
Guilford, J.P. 1954. Psychometric Methods. New York: McGraw-Hill. 597 p.
Khaowisade, T. 2020. Adoption of Organic Agriculture of Rice Farmers in Sam Chuk District, Suphan Buri Province. Master Thesis. Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. 137 p. [in Thai]
Nakhon Ratchasima Provincial Agricultural and Cooperatives Office. 2018. Animal Feed Maize. Nakhon Ratchasima: Agricultural Information Group. 15 p. [in Thai]
Nakhon Sawan Provincial Agricultural Extension Office. 2020. Information on farmers participating in the large-scale corn planting system. [Online]. Available http://www.nakhonsawan.doae.go.th/2016/ (June 26, 2024). [in Thai]
Office of Agricultural Economics. 2014. Animal feed maize: cultivated area, harvested area, yield, and yield per rai by district. [Online]. Available https://www.oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์/TH-TH (June 26, 2024). [in Thai]
Office of Agricultural Economics. 2022. Animal feed maize. [Online]. Available https://mis-app.oae.go.th/product/ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (June 26, 2024). [in Thai]
Panpleum, P. and P. Pasunon. 2013. Factors affecting consumers’ willingness to pay for organic products in green markets and specialty health food chain stores in the Bangkok metropolis and vicinity. Modern Management Journal 14(1): 169-178. [in Thai]
Panyakul, T. 2016. Overview of Thai organic agriculture. 2559. [Online]. Available http://www.greennet.or.th/article/411 (June 26, 2024). [in Thai]
Poung-ngamchuen, J. and T. Buwjoom. 2022. Farmers’ attitude on tobacco growing for reducing smog from maize stubble burning, Mae Chaem district, Chiang Mai, Thailand. Journal of Agricultural Production 4(1): 13-27.
Poung-ngamchuen, J. and T. Buwjoom. 2023. The feasibility synthesis of growing hemp instead of maize to reduce smog from maize stubble burning in northern Thailand. Universal Journal of Agricultural Research 11(2): 230-240.
Poung-ngamchuen, J. and W. Phromta. 2021. Tobacco growing for reducing smog effect from maize stubble burning in upper northern thailand. Journal of MCU Social Science Review 10(3): 184-197. [in Thai]
Saenthaweesuk, S. 2018. A Study of Knowledge and Attitudes of Farmers About the Use of Organic Fertilizers at Paksong District, Champasak Province, LAOs PDR. Master Thesis. Rajabhat Mahasarakham University. 41 p. [in Thai]
Slovin, E. 1960. Slovin’s Formula for Sampling Technique. New York: Houghton-Mifflin. 5 p.
Sookplung, D., C. Thawornratana and A. Jai-aree. 2022. Factors affecting organic farming of farmers in Suphan Buri province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences 5(3): 1166-1184. [in Thai]
Sukkarat, K. and D. Athinuwat. 2019. Study of consumption behavior and attitude of organic product consume. Thai Journal of Science and Technology 9(1): 68-76. [in Thai]
Thaveethavornsawat, S. and O. Siriwong. 2022. Farmers’ views on acceptance of organic farming in Nong Hi district, Roi Et. Journal of Humanities and Social Sciences Bansomdejchaopraya Rajabhat University 16(1): 70-85. [in Thai]
Unjan, R., J. Phetchit and S. Buakhao. 2023. The feasibility of farmers enhancing towards organic rice farmers: a case study of Khao Ro Sub-district, Thung Song district, Nakhon Sri Thammarat province. Journal of Agricultural Research and Extension 40(3): 116-126. [in Thai]
Wachirawongsakorn, P. and T. Jamnongkarn. 2022. Paddy farmer’s knowledge, attitude and key factors affecting the decision making on organic rice production of farmers in Phitsanulok province. Rajabhat Chiang Mai Research Journal 23(2): 190-209. [in Thai]
Wanmaung, A., W. Intaruccomporn, P. Prapatigul and S. Suriyon. 2021. Farmers’ needs of organic rice production extension in Chiang Mai province. Journal of Agricultural Production 3(3): 57-66. [in Thai]
Wannawong, P. 2012. Adoption of the Standard Organic Agricultural System of Farmers in Chiangmai. Master Thesis. Maejo University. 137 p. [in Thai]
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper International. 1130 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร