การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชนข้าวเหนียวนครพนม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.18คำสำคัญ:
เส้นทางการท่องเที่ยว , การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม, ชุมชนข้าวเหนียว , นครพนมบทคัดย่อ
การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชนข้าวเหนียวนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนข้าวเหนียวในจังหวัดนครพนม เพื่อพัฒนาให้เกิดเส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดนครพนม จากต้นทุนทางวัฒนธรรมข้าวเหนียว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบ มีส่วนร่วม (Observation participation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus group) เพื่อค้นหาชุมชนผู้ผลิตข้าวเหนียว ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีกิจกรรมการท่องเที่ยวแสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น ผลการศึกษาได้พื้นที่ชุมชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) ชุมชนท่องเที่ยววัฒนธรรมตำบลนาถ่อน 2) วิสาหกิจชุมชนข้าวเม่าหวานบ้านนาล้อม 3) วิสาหกิจชุมชนการแปรรูปข้าวตำบลต้นผึ้ง (ข้าวสุข) ดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus group) เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวจากคุณค่าด้าน “ความเชื่อ ศาสนา ข้าวปลาอาหาร สืบสานวัฒนธรรม ชาวนครพนม” ได้เส้นทางท่องเที่ยวจำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง “นมัสการพระธาตุพนม เยี่ยมชมวัฒนธรรมชนเผ่า” และเส้นทาง “ภูมิปัญญา นาคาลุ่มน้ำโขง”
เพื่อให้การท่องเที่ยวช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจบนฐานบริบทของชุมชน คณะทำงานมุ่งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน หนุนเสริมระบบการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีมาตรฐาน และถ่ายทอดความรู้ตามความต้องการของพื้นที่ สร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวเพื่อจำหน่ายในกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น คัพเค้กข้าวเม่า ข้าวกล้องอินทรีย์ ผ้าย้อมสีฟางข้าว เป็นต้น
References
Asker, S., L. Boronyak, N. Carrard and M. Paddon. 2010. Effective Community Based Tourism: A Best Practice Manual. Queensland: Sustainable Tourism Cooperative Research, Griffith University. [Online]. Available https://opus.lib.uts.edu.au/bitstream/10453/35150/1/askeretal2010effectivecbt.pdf (September 22, 2022).
Booparkob, Y., S. Khetjenkarn and J. Wongmanee. 2017. The role of local cuisines in creative tourism process: a case study of Lao Khrang Ethnic group in Chai Nat province. Dusit Thani College Journal 11(Special May 2017): 93-108. [in Thai]
Department of Tourism. 2024. Thai tourism standards. [Online]. Available: https://www.dot.go.th/ebooks/ebooks-view/418 (February 2, 2023). [in Thai]
Jatuporn, C. 2021. The Relationship between Tourism and Economic Growth in Thailand. Master Thesis. Maejo University. 83 p. [in Thai]
Nakhon Phanom Provincial Office. 2021. Nakhon Phanom Provincial Development Plan 2018-2022 (Revised 2021). [Online]. Available http://www2.nakhonphanom.go.th/files/com_news_struct/2020-01_378aeea6a87766d.pdf (September 22, 2022). [in Thai]
Praprutkit, S. 2010. An Evaluation of Attraction Site in Amphur Muang, Changwad Trad to Create the Ecotourism Route. Master Thesis. Srinakharinwirot University. 201 p. [in Thai]
Richards, G. 2018. Cultural tourism: A review of recent research and trends. Journal of Hospitality and Tourism Management 36(2018): 12-21. https://doi.org/10.1016/j.jhtm.2018.03.005
Sattaka, P., R. Padakan and P. Latvilayvong. 2013. Glutinous Rice Corridor: A New Eco-tourism Destination of the Greater Mekong Subregion. pp. 11-15. In The 2013 ISSAAS International Congress and General Meeting, 12 November 2013. Muntinlupa City: ISSAAS.
Šťastná, M., A. Vaishar, J. Brychta, K. Tuzová, J. Zloch and V. Stodolová. 2020. Cultural tourism as a driver of rural development case study: Southern Moravia. Sustainability 12(21): 9064. https://doi.org/10.3390/su12219064
Suansokchueak, S., P. Lawthong, A. Malakha and T. Kongmee. 2018. Guidelines for creative marketing development: the organic rice in Surin province. PULINET Journal 5(3): 107-117. [in Thai]
TAT Intelligence Center. 2004. The compass quarter 4/2004. [Online]. Available:https://www.dla.go.th/upload/news/type9/2018/11/40628_1.pdf?time=1544920032593 (October 20, 2004). [in Thai]
The Tourism Authority of Thailand. 2024. Annual Report 2023. [Online]. Available https://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report (October 20, 2024). [in Thai]
Thierakroj, T., P. Kaekratok, A. Sinthusan, T. Donnet, S. Aromsuk, Y. Srimanee, N. Plongmai, N. Denpongsan and P. Tanmaneewatana. 2017. Study Report. Value Added Project for Creative Organic Products, Ban Khamkhra Ta, Dongmafai Subdistrict, Sai Mun District, Yasothon Province. Bangkok: Thailand Science Research and Innovation. 123 p. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร