เครื่องคัดแยกเกรดแตงโดยใช้การตรวจวัดน้ำหนักแบบโมอัตโนมัติ เครื่องคัดแยกเกรดแตงโดยใช้การตรวจวัดน้ำหนักแบบโมอัตโนมัติ

Main Article Content

วรวุฒิ กังหัน,ดิเรก ไชยสิทธิ์,ไตรภพ คนาจันทร์แสง, อภิชาต ศรีประดิษฐ, ทวีศักดิ์ กังหัน

บทคัดย่อ

กระบวนการในการคัดแยกเกรดผลไม้ในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่จะมีการคัดแยก คุณภาพ ขนาด จะถูกอ้างอิงตามลักษณะการ     ซื้อขายในท้องตลาดกลางในประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปการคัดแยกดังกล่าวยังคงใช้มนุษย์เข้ามามีบทบาทในการคัดแยกเกรดผลไม้ชนิดต่างๆ โดยจะต้องมีต้นทุนสำหรับการจ้างงานดังกล่าว และข้อจำกัดที่สำคัญสำหรับการคัดแยกเกรดผลไม้โดยใช้มนุษย์คือ ระยะเวลาการทำงาน และความผิดพลาดที่เกิดขึ้น การคัดแยกเกรดแตงโมในปัจจุบันจากการลงพื้นที่สำรวจไปที่ บริษัท ทรัพย์เทวีธัญผล จำกัด      และตลาดไท ซึ่งเป็นตลาดที่กระจายสินค้าที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทย โดยจะต้องนำแตงโมมาชั่งน้ำหนักทีละลูกก่อนการบรรจุลงกล่องผลิตภัณฑ์ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า และต้องใช้ต้นทุนด้านแรงงานคนจำนวนมาก ทางผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและสร้างเครื่องคัดแยกเกรดแตงโมโดยใช้ตัวจับน้ำหนักแบบอัตโนมัติและอีกทั้งยังสามารถนำไปคัดแยกเกรดผลไม้อื่นๆได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยเครื่องคัดแยกเกรดดังกล่าวสามารถคัดแยกได้ 4 กลุ่มตัวอย่าง แตงโมจะถูกส่งไปตามสายพานลำเลียง สามารถตั้งค่าน้ำหนักผ่านทางจอทัชสกรีนโดยมีการตรวจจับน้ำหนักโดยใช้โหลดเซลล์ หลังจากนั้นส่งสัญญาณไปยังระบบ Programmable Logic Controller (PLC) จะทำหน้าที่ประมวลผลและสั่งการไปเปิดช่องรับสำหรับคัดแยกเกรดแตงโมตามเกรดที่กำหนดไว้ใน ผลการทดสอบเครื่องคัดแยกเกรดแตงโมโดยวัดเป็นค่าความผิดพลาด การทดลองมีการตั้งค่าน้ำหนักที่ทำการทดสอบจากตัวอย่าง 3 เกรด ใช้แตงโมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 ผล ได้ผลของค่าความผิดพลาด เกรดที่ 1 เกรดที่ 2 และเกรดที่ 3 มีเปอร์เซ็นความผิดพลาด 0.00 %

Article Details

บท
Electronics and information technology

References

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ.2561 แหล่งข้อมูล: https://www.acfs.go.th/#/attachfile-multi2/standard-act. เข้าถึงเมื่อ 29 สิงหาคม 2562.
Mitsubishi Electric’s FA Business.2019แหล่งข้อมูล https://www.mitsubishielectric.com. เข้าถึงเมื่อ 2 กันยายน 2562.
วรวุฒิ กังหัน, อิศกฤตา โลหพรหม. 2561. การพัฒนาและทดลองคัดแยกเกรดแตงโมด้วยการประมวลภาพดิจิตอล. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 ประจำปี 2561, 414–420. คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 26-27 เมษายน 2561, อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์.
TongSun, Kang Huang, HuirongXu, Yibin Ying. 2010. Research advances in nondestructive determination of internal quality in watermelon/melon: A review, Journal of Food Engineering. 100(4), 569-577.
Dengfei Jie, Xuan Wei. 2018. Review on the recent progress of non-destructive detection technology for internal quality of watermelon, Computers and Electronics in Agriculture. 151, 156-164.
Abbaszadeh, R., Rajabipour, A., Ahmadi, H., Mahjoob, M.J., Delshad, M.. 2013.Prediction of watermelon quality based on vibration spectrum. Postharvest Biol.Technol. 86, 291–293.