การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเถ้าไม้ยางพารากลับมาใช้เป็นส่วนผสมอิฐบล็อกประสาน

Main Article Content

นงลักษณ์ เล็กรุ่งเรืองกิจ
ภวินท์ ธัญภัทรานนท์

บทคัดย่อ

โครงงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตอิฐบล็อกประสานโดยการเพิ่มสัดส่วนของการแทนที่ปูนด้วยเถ้าไม้ยางพาราโดยการเพิ่มเวลาบ่มให้มีระยะเวลานานขึ้น การนำเถ้าไม้ยางพารากลับมาใช้ประโยชน์นี้เพื่อช่วยลดกากของเสียอุตสาหกรรมและความสิ้นเปลืองค่าส่งกำจัดทุกเดือนในปริมาณมากถึง 3,000 ตันต่อเดือน ซึ่งอาจก่อปัญหาทางสิ่งแวดล้อมจากสภาพความเป็นด่างค่อนข้างสูงของขี้เถ้าที่มีค่า pH ระหว่าง 9-11 และยังเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตอิฐบล็อกประสานให้เกิดความคุ้มทุนได้เร็วขึ้น ดินสีส้มถูกใช้เป็นส่วนผสมหลัก 6 ส่วน ใน 7 ส่วนโดยน้ำหนัก และส่วนที่เหลือคือ วัสดุประสานซึ่งเป็นการผสมเถ้าไม้ยางพาราเข้ากับปูนซีเมนต์ ในอัตราส่วน 0:100, 10:90, 20:80, 30:70, 40:60 และ 50:50 โดยทดสอบที่ระยะบ่ม 60, 90 และ 120 วัน ผลการทดสอบพบว่า ที่ระยะบ่ม 90 วัน อิฐบล็อกประสานมีค่าความต้านแรงอัดสูงที่สุดเท่ากับ 5.96, 4.86, 4.59, 3.72, 3.63 และ 3.40 MPa ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าไม้ยางพาราที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้ความต้านแรงอัดในอิฐบล็อกประสานมีค่าลดต่ำลง โดยอิฐบล็อกประสานมีน้ำหนักเฉลี่ย 5.2 กิโลกรัมต่อก้อน และมีค่าความหนาแน่นประมาณ 1,740 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อัตราการแทนที่ที่เหมาะสม คือ 20:80 และระยะบ่มที่เหมาะสม คือ 9 วัน ซึ่งทำให้ได้ความต้านแรงอัดเท่ากับ 4.58 MPa ผลการศึกษาแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ของการใช้เถ้าไม้ยางพาราเป็นวัสดุผสมเพื่อผลิตอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนักซึ่งรับความต้านแรงอัดระหว่าง 2.5-5 MPa โดยเพิ่มปริมาณเถ้าไม้ยางพาราได้มากถึงร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้สูงที่สุดจาก 4.64 บาท เหลือ 3.57 บาทต่อก้อน และช่วยลดระยะเวลาคืนทุนจาก 9.5 เดือน เหลือเพียง 8.1 เดือน

Article Details

บท
Energy and environment

References

1. Teerayut Suksawat, Thanaporn Muangmongkul, Waranyou Sridachw and Roypimjai Petchkul 2014 Brick cinderblock for the development of the palmoil. Wicha Journal, 33(1), 75-82.
2. Nipon Tanpaiboonkul 2017 Replacing cement by dust from rock crushing plant in Interlocking Block Production. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 126-135.
3. Piyaphol Srihabutra, Penchai Weingtai, Pakapol Changyant and Jetsiri Thuanmunla 2016 The usage of rice straw in Interlocking block. Journal of Science and Technology MSU, (36)4, 478-486.
4. Sompong Hirunmasuwan and Supachai Isarangkul Na Ayuthaya 2017 The Utilization of rice hush ash and fly ash as pozzolanic materials for stabilization and solidification of chromium sludge in the form of concrete Interlocking block for using as construction Materials Journal of Science and Technology, 25(6), 1072-1082.
5. Suriya Garaged 2014 Compressive strength of interlocking block manufactured from cement and crushed golden apple snail shell. Thesis of Master of Engineering Program in Construction and Infrastructure Management, Suranaree University of Technology.
6. Abedeen Dasaesamoh, Posee Vaji, Pharidah Salae and Nurihan Naesae 2015 Para rubber wood fly ash containing interlocking brick. Journal of Yala Rajabhat University, (10)1, 77-86.
7. Abedeen Dasaesamoh, Hapuesoh Maha and Haleemoh Chebueraheng 2014 Properties of interlocking block from Para rubber wood fly ash mixed Narathiwat kaolin. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 5(2), 202-208.