การพัฒนาเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับรดน้ำพืชในร่องสวน

Main Article Content

ชูเกียรติ โชติกเสถียร
ภวินท์ ธัญภัทรานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเรือรดน้ำพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่สามารถควบคุมผ่านรีโมท และประเมินต้นทุนเพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกรสามารถสร้างใช้งานโดยใช้อุปกรณ์ที่จัดหาได้ในท้องถิ่น   เรือดังกล่าวถูกควบคุมด้วยบอร์ด Arduino Uno R3 และรับสัญญาณวิทยุจากรีโมทบังคับ   ต้นกำลังที่ใช้ในการขับเคลื่อนเรือเป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง   การให้น้ำแบบพ่นฝอยเกิดจากหัวสปริงเกอร์ 180 degree จำนวน 6 หัว กับเครื่องสูบน้ำแบบจุ่มแช่   แหล่งกำเนิดไฟฟ้าในงานวิจัยนี้เป็นเซลล์ไฟฟ้าแสงอาทิตย์ซึ่งถูกควบคุมให้ประจุไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าลงแบตเตอรี่ 2 ลูก   ค่าเฉลี่ยระดับน้ำชลประทานที่ได้จากเรือจะมีปริมาณน้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญตามแนวรัศมีการกระจาย  อย่างไรก็ตาม การให้น้ำโดยเรือจะมีปริมาณน้ำที่ได้ในพื้นที่ 1 rai สูงกว่าการใช้แรงงานคน และพบว่าการให้น้ำโดยใช้เรือมีระยะเวลาการจัดการน้อยกว่าการให้น้ำโดยใช้แรงงานคนประมาณ 2.91 เท่า และปริมาณน้ำที่ได้ยังคงสูงกว่าประมาณ 1.19 เท่า   จุดคุ้มทุนต่อปีและระยะเวลาคืนทุนเมื่อปริมาณการใช้งานเท่ากับจุดคุ้มทุนของเรือมีค่า 133.09 rai และ 8.15 year ตามลำดับ   อย่างไรก็ตาม พื้นที่การปลูกแบบร่องคูที่มีความกว้างของคันดินมากกว่าการศึกษานี้ หรือความเข้มแสงแดดที่อ่อนในวันที่ปฏิบัติงานจะทำให้มีการใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอร์รี่สูงขึ้น   ข้อจำกัดเหล่านี้จำเป็นต้องพิจารณาเพิ่มเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของเรือ

Article Details

บท
Electronics and information technology

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2563. ข้อมูลการจัดการดิน. แหล่งข้อมูล: https://www.ldd.go.th/Web_Soil/clay.htm. เข้าถึงเมื่อ 13 ตุลาคม 2563.

ณรงค์ชัย วิวัฒนาช่าง, ชนะรบ วิชาลัย, อรวรรณ จันทสุทโธ, ณรงค์เดช ยังสุขเกษม. 2560. นวัตกรรมระหัดวิดน้ำจากภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ 5(2), 167–178.

ปาริชาติ ประเสริฐสังข์, ธีรศาสตร์ คณาศรี. 2561. การศึกษาเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จากกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 6(1), 63–80.

พงศ์ศักดิ์ ชลธนสวัสดิ์, สมพินิจ เหมืองทอง, ชุติ ม่วงประเสริฐ, รัตนา ตั้งวงศ์กิจ. 2563. การให้น้ำหยดด้วยระบบโซล่าเซลล์สำหรับการปลูกอ้อย, วิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 3(1), 64–72.

พรรณวิภา อรุณจิตต์, นาวี โกรธกล้า, ปิจิราวุช เวียงจันดา. 2558. โรงเรือนปลูกพืชควบคุมและมอนิเตอร์อัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย. รายงานการประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2558 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8, 454–458. ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค. 17–19 มีนาคม 2558, บางนา, กรุงเทพฯ.