PDF การศึกษาความเป็นไปได้ในการทดลองการเติมน้ำสู่ชั้นน้ำใต้ดินแบบระบบสระน้ำในพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเกษตร จังหวัดนครพนม

Main Article Content

วราเดช แสงบุญ

บทคัดย่อ

การศึกษาความเป็นไปได้ในการทดลองการเติมน้ำสู่ชั้นน้ำใต้ดินแบบระบบสระน้ำในพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเกษตร จังหวัดนครพนม จากผลการทดสอบค่าการซึมผ่านของน้ำ (infiltration) ด้วยวิธีการทดสอบแบบ double ring test โดยใช้สมการของ Horner ในฤดูร้อนค่าสูงสุดอยู่ที่สถานี Inf03 พิกัด X คือ 464697 พิกัด Y คือ 1930908 ค่าการซึมผ่านของน้ำอยู่ที่ 4776.00 มิลลิเมตรต่อวัน ค่าต่ำสุดอยู่ที่สถานี Inf11 พิกัด X คือ 464750 พิกัด Y คือ 1931119 มีค่า 5.00 มิลลิเมตรต่อวัน ในฤดูฝนค่าสูงสุดอยู่ที่สถานี Inf01 พิกัด X คือ 464536 พิกัด Y คือ 1930931 มีค่า 46.2 มิลลิเมตรต่อวัน ค่าต่ำสุดอยู่ที่สถานี Inf17 พิกัด X คือ 464999 พิกัด Y คือ 1931333 ค่าการซึมผ่านของน้ำอยู่ที่ 0.2  มิลลิเมตรต่อวัน ผลจากการทดสอบค่าการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ(Recharge) ค่าสูงสุดอยู่ที่สถานี Inf02 พิกัด X คือ 464601 พิกัด Y คือ 1930924 มีค่า 242.7 มิลลิเมตร ค่าต่ำสุดอยู่ที่สถานี Inf06 พิกัด X คือ 464605 พิกัด Y คือ 1931002 มีค่า 0.7 มิลลิเมตรต่อวัน จากการนำข้อมูลชั้นธรณีและอุทกธรณีวิทยาในพื้นที่ใกล้เคียงมาวิเคราะห์กับพื้นที่ที่ทำการวิจัย สันนิฐานได้ว่ามีความใกล้เคียงกับระยะ 0- 10 เมตร เป็นหน่วยหิน A และที่ระยะ 10-30 เมตรเป็นหน่วยหิน B เป็นพื้นผิวร่องรอยกัดเซาะ (erosional surface) ทั้งนี้หน่วยหิน A สามารถแบ่งออกได้เป็นหน่วยหิน A1 และ A2 โดยหน่วยหิน A2 เป็นชั้นตะกอนทรายละเอียดถึงตะกอนทรายปานกลาง มีความหนา 5 ถึง 20 เมตร จากข้อมูลการทดสอบการซึมผ่านของน้ำ (infiltration) และการไหลของน้ำบาดาลผ่านชั้นน้ำ(Recharge)และชั้นธรณี ชี้ให้เห็นว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ในการจัดทำการทดลองการเติมน้ำสู่ชั้นน้ำใต้ดินแบบระบบสระน้ำในพื้นที่โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเกษตร จังหวัดนครพนม แต่ควรมีการเจาะชั้นธรณีในพื้นที่โดยตรงอีกครั้งจะเป็นการวิจัยที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น

Article Details

บท
Soil and water engineering

References

รายงานสถานการณ์สาธารณภัยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย กระทรวงมหาดไทย จังหวัดนครพนม, 423/2558.
รายงานการประชุมคณะกรมการจังหวัดนครพนมครั้งที่ 5/2559.
สถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดนครพนม, 2558.
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. รายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการทดลองเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และพิจิตร”, 2558.
กิจการ พรหมมา. 2555. “อุทกธรณีวิทยา”: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิศิษฏ์ สุขวัฒนานันท์. 2535. “แผนที่ธรณีวิทยา”. กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี.
กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี. 2552. “รายงานสถานภาพทรัพยากรธรณี ปี พ.ศ.2552”.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2549. “รายงานงานศึกษาแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้านธรณีวิทยาชั้นเกลือหินและอุทกธรณีวิทยาที่ศึกษาโดยมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ พ.ศ. 2549”.