การพัฒนาเพิ่มประสิทธิเครื่องสไลด์เนื้อทุเรียนสำหรับเกษตรกรท้องถิ่น Development of durian flesh slicing machine for local agriculturists

Main Article Content

teerawat chuenatsadongkot
Sarayut Chitphutthanakul

บทคัดย่อ

ในงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาเครื่องสไลด์เนื้อทุเรียนเพื่อนำไปแปรรูปสำหรับเกษตรกรท้องถิ่น และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของมอเตอร์ที่นำมาใช้ส่งกำลังของเครื่องสไลด์เนื้อทุเรียนระหวางมอเตอร์ 1/4 แรงม้า มอเตอร์ 1/2 แรงม้า และมอเตอร์ 1 แรงม้า โดยการทำงานกับเครื่องสไลด์เนื้อทุเรียนเงื่อนไขเดียวกัน ระยะเวลาที่ใช้ทดสอบเท่ากัน สภาพแวดล้อมภายนอกเหมือนกัน เนื่องจากการสไลด์เนื้อทุเรียนในปัจจุบันทำได้ค่อนข้างช้า จึงได้ทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องสไลด์เนื้อทุเรียนต้นแบบ เพื่อควบคุมการสไลด์เนื้อทุเรียนได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่อง และใช้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของมอเตอร์เมื่อนำมาใช้กับเครื่องมี 3 ปัจจัย คือปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาเท่ากับการสไลด์เนื้อทุเรียนด้วยมือ ค่าเฉลี่ยความหนาของแผ่นทุเรียนที่ได้ ความสมบูรณ์ของแผ่นทุเรียนที่ได้ ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องสไลด์เนื้อทุเรียนเป็นแผ่นบาง ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้เครื่องสไลด์เนื้อทุเรียนแผ่นบาง ในช่วงอายุผลทุเรียน 100 ถึง 115 วันหลังดอกบาน มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการใช้แรงคน 1 คน อยู่ประมาณ 0.80 กิโลกรัมต่อนาที แต่ในช่วงอายุผลทุเรียนมากที่ 120 วันหลังดอกบาน มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเท่านั้นที่ประมาณ 0.1 กิโลกรัมต่อนาที ส่วนของประสิทธิภาพด้านความหนาของแผ่นทุเรียนที่ได้ มีความหนาอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด 1 ถึง 2 มิลลิเมตร โดยการใช้เครื่องมีค่าเฉลี่ยความหนาประมาณ 1.10 ถึง 1.50 มิลลิเมตร ส่วนของประสิทธิภาพด้านความสมบูรณ์ของแผ่นทุเรียนที่ได้ ในช่วงอายุ 100 ถึง 110 วันจะมีความสมบูรณ์ที่มากกว่าร้อยละ 75 ของแผ่นทุเรียนทั้งหมด และความสมบูรณ์จะลดลงเมื่อผลทุเรียนมีอายุเพิ่มขึ้นที่ 115 และ 120 วัน จะลดลงเหลือร้อยละ 65 ถึงร้อยละ 75 ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลผลิตเมื่อใช้มอเตอร์ส่งกำลังที่แตกต่างกันที่มอเตอร์ 1/4 แรงม้า 1/2 แรงม้า และ 1 แรงม้า ปริมาณผลผลิตที่ได้มีความใกล้เคียงกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ค่าเฉลี่ยความหนาของแผ่นทุเรียนที่ได้จากมอเตอร์ 1/4 แรงม้า กับ 1/2 แรงม้ามีค่าใกล้เคียงกัน แต่ที่มอเตอร์ 1 แรงม้า จะมีค่าเฉลี่ยความหนาของแผ่นทุเรียนมากกว่าเล็กน้อย ส่วนความสมบูรณ์ของแผ่นทุเรียนที่ได้จากมอเตอร์ 1/4 แรงม้า และ 1/2 แรงม้า มีค่าความสมบูรณ์ที่ใกล้เคียงกัน ส่วนมอเตอร์ 1 แรงม้าจะได้ความสมบูรณ์ของแผ่นทุเรียนที่น้อยกว่าเล็กน้อย

Article Details

บท
Power and machinery

References

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. ข้อมูลสถิติการ เพาะปลูกทุเรียน ปี 2563. แหล่งข้อมูล : http://mis- app.oae.go.th/product/ทุเรียน. เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565.

สำนักการค้าสินค้า. 2564. สินค้าทุเรียนและผลิตภัณฑ์. รายงานกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 4-8.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2563. ทุเรียน ราชา แห่งผลไม้ไทยถูกใจคนต่างแดน. รายงานกลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานราก กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 5-9.

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย. 2560. ทุเรียนทอด จังหวัดจันทบุรี. แหล่งข้อมูล : https://souvenirbuu.wordpress.com/ ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย/ภูมิปัญญาภาคกลาง/ทุเรียน. เข้าถึง เมื่อ 26 มีนาคม 2565.

พงษ์ศักดิ์ นาใจคง และกัมปนาท ถ่ายสูงเนิน. 2553. การวิจัย และพัฒนาเครื่องฝานกล้วยนํ้าว้าสุก. วิทยานิพนธ์ คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชเทคโนโลยีมงคลธัญบุรี. 48-57.

ศักรินทร์ หมูนุ่ม. 2559. การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกเผือก. รายงานวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน. 52-68.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. 2561. เผยสูตรทุเรียนทอดกรอบ. กลุ่ม เกษตรกรบ้านยายดาพัฒนา จ. ระยอง. แหล่งข้อมูล : https://www.technologychaoban.com/marketing/. เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2565.

ธีรวัฒน์ ชื่นอัศดงคต, เทวรัตน์ ตรีอำนรรค และกระวี ตรี อำนรรค. 2560. การจำแนกความสุก-แก่ของ ทุเรียนพันธุ์ หมอนทองด้วยการวิเคราะห์เชิง ภาพถ่าย. Agricultural Sci. J. 48 : 3 (Suppl.) : 303—306.

Charnchai Phontri and Ruephuwan Chantrasa. 2562. Innovation development of durian stick processing machine for transferring knowledge to foundation community. Asia- Pacific Journal of Science and Technology: Volume: 24. Issue: 04.