ผลการใช้เชื้อเพลิงขยะ (RDF) ร่วมกับชีวมวลต่อสมรรถนะและการปลดปล่อยมลพิษของเตาเผาภาชนะเซรามิก งานวิจัยนี้เป็นศึกษาผลกระทบทางด้านสมรรถนะของเตาเผา การปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์และเถ้า จากการนำเชื้อเพลิงขยะ มาใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงดั้งเดิม (ไม้) ที่อัตราส่วน 20 : 80 wt. % w.b. เทียบกับการใช้เชื้อเพลิงไม้ ซึ่งเป็นการเผาไหม้โดยตรงเพื่อให้ความร้อนแก่ชิ้นงานตัวอย่าง ได้แก่ กระถางดินเผาและจาน-ชามเซรามิก สำหรับใส่อาหาร โดยใช้เตาเผาเครื่องปั้นดินเผาชนิดทางเดินลมร้อนลง ใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงดั้งเดิม ของอุตสาหรรมเตาเผาภาชนะเซรามิก ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยเชื้อเพลิงขยะที่นำมาใช้ร่วมเป็นเชื้อเพลิงขยะประเภทที่ 3 และ 5 (Refuse-Derived Fuel 3, 5: RDF-3, RDF-5) ที่ผ่านการแปรรูปโดยระบบบำบัดขยะทางกลและชีวภาพของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Suranaree University of Technology, Mechanical and Biological Treatment: SUT MBT) การวัดมลพิษทางอากาศจะตรวจวัดเพียงเชื้อเพลิงไม้ล้วนเทียบกับ ไม้ : RDF-3 เนื่องจาก RDF-3 และ RDF-5 มีคุณสมบัติทางเคมีที่เหมือนกัน จึงใช้ RDF-3 เป็นตัวแทนในการตรวจวัดมลพิษทางอากาศ

Main Article Content

Nontakorn Phakphoom
Pansa Liplap
Thipsuphin Hinsui
Weerachai Arjharn

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงขยะ (Refuse-derived Fuel; RDF) ร่วมกับชีวมวลต่อสมรรถนะ การปลดปล่อยมลพิษจากเตาเผาเซรามิก รวมไปถึงการปนเปื้อนในเถ้าและผลิตภัณฑ์ เชื้อเพลิง 3 ประเภท ได้แก่ ไม้  ไม้ : RDF-3 และ ไม้ : RDF-5 ที่อัตราส่วน 80 : 20 wt. % w.b. ถูกใช้ในการวิจัย โดยพบว่าการใช้ RDF ทั้ง 2 ประเภท ร่วมกับไม้ มีการเผาไหม้ได้ดีเทียบเท่าไม้ มีการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์และเถ้าส่วนใหญ่มีค่าใกล้เคียงกัน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกตัว ด้านการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ พบว่า ไม้ : RDF-3 มีการปลดปล่อยมลพิษมากกว่าไม้ล้วนอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นค่า NOx และ HF ที่มีค่าลดลง แต่ทั้งไม้และ ไม้ : RDF-3 มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 400 และ 539 mg m-3 ตามลำดับ โดยสรุป RDF-3 และ RDF-5 สามารถใช้ประโยชน์กับอุตสาหกรรมเซรามิกได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะและการปลดปล่อยมลพิษในผลิตภัณฑ์ เถ้า และทางอากาศ ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกตัว ยกเว้นค่าฝุ่นละออง  

Article Details

บท
Energy and environment
Author Biographies

Pansa Liplap, Suranaree University of Technology

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Thipsuphin Hinsui

ดร.

Weerachai Arjharn

Asst. Prof. Dr. 

References

Code of Federal Regulation. (2022) Maximum Concentration of Contaminants for the Toxicity Characteristic. Available at: https://www.ecfr.gov/current/title-40/chapter-I/subchapter-I/part-261/sub part-C/ section-261.24. Accessed on 28 July 2022.

กรมควบคุมมลพิษ. 2564. สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ แหล่งข้อมูล: https://thaimsw.pcd.go.th/report1. php?year=2564. เข้าถึงเมื่อ 19 พฤษภาคม 2565.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553, 16 กรกฎาคม). ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 87ง พ.ศ. 2553

กรมควบคุมมลพิษ. (2561, 26 กันยายน). ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง แนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยด้วยเตาเผาอย่างมีประสิทธิภาพ พ.ศ. 2561

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2556, 23 พฤษภาคม). ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548

ทวีชัย ลิมปสันติเจริญ รัฐพล อ้นแฉ่ง และมัลลิกา ปัญญาคะโป, (2561). การระบายและการแพร่กระจายของโลหะในฝุ่นจากอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปี ที่ 14 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2561

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2556, 23 พฤษภาคม). ประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เครื่องปั้นดินเผาเออร์เทนแวร์ ฉบับที่ 1782 พ.ศ. 2556