การศึกษาการวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มสำหรับปาล์มทะลายโดยใช้ต้นแบบหัววัดไฟฟ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายจะประกาศบังคับการซื้อขายปาล์มทะลายตามเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลาย แต่ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มที่สามารถวัดได้ถูกต้อง รวดเร็ว สอดคล้องกับการวัดด้วยวิธีมาตรฐาน การออกแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มในทะลายปาล์มต้องคำนึงถึงลักษณะของปาล์มทะลายซึ่งประกอบด้วยส่วนที่ให้น้ำมันและไม่ให้น้ำมันอีกทั้งความสุกแก่ของผลปาล์มไม่เท่ากันสม่ำเสมอทั้งทะลาย หัววัดทรงกระบอกถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้บรรจุเปลือกปาล์มที่ถูกฝานเป็นแผ่นบางใส่ในหัววัด ต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มสำหรับปาล์มน้ำมัน ได้รับการพัฒนาจากความสัมพันธ์สองประการ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นเปลือกปาล์มกับความจุไฟฟ้าของเปลือกปาล์มหั่นบางโดยใช้หัววัดทรงกระบอก และความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นเปลือกปาล์มกับเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลายปาล์ม แรงดันไฟฟ้าขาออกแบบโวลต์ พีค-พีคจากวงจรไฟฟ้าต้นแบบถูกอ่านค่าโดยเครื่องออสซิลโลสโคป ต้นแบบจะต้องทำการเปลี่ยนค่าความต้านทาน (R) ด้วยสวิทซ์เลือก 3 ระดับ โดยใช้ต้านทาน (R) เป็นค่า 613 KOhms, 100 KOhmsและ 10 KOhms สำหรับเปลือกปาล์มสุกจัด ปาล์มกึ่งสุก และ ปาล์มดิบ ตามลำดับ ต้นแบบเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มในทะลายปาล์มน้ำมันจะถูกพัฒนาต่อในรูปแบบของแผ่นวงจรพีซีบี เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ถูกต้อง สามารถวัดซ้ำ และสามารถผลิตซ้ำได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
Thai Socities of Agricultural Engineering
References
กรมวิชาการเกษตร. 2548. เอกสารวิชาการ ปาล์มน้ำมัน. เอกสารวิชาการลำดับที่ 16/2547 ISBN 974-436-315-7 พิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2548 ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ธีระ เอกสมทราเมษฐ์. 2554. อัตราพันธุกรรมและสหสัมพันธ์ของลักษณะเชิงปริมาณ ใน การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน หน้า 259-308. สงขลา : ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากร
ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เบญจมาภรณ์ พิมพา. 2553. โครงการการศึกษาปริมาณน้ำมันในทะลายปาล์มสุกและสภาวะการบ่มที่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณน้ำมันปาล์มดิบในจังหวัดสุราษฏร์ธานี รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สกว.
ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร, ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, นายพงษ์รวี นามวงศ์, ปริญญวัฒน์ อยู่ทองอินทร์, คชธร อ่างบุญพงษ์,
สุรชาติ ระย้าทอง1. 2564. การศึกษาเปรียบเทียบค่าทางไฟฟ้าของตัวอย่างปาล์มน้ำมันด้วยหัววัดแบบเข็มและหัววัดทรงกระบอกกับเครื่องวัดค่าทางไฟฟ้ามาตรฐาน. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วันที่ 12-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
เพ็ญศิริ จำรัสฉาย. 2557. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ใครได้ใครเสีย. ในการอภิปราย “ปาล์มน้ำมันไทยแข่งขันได้ด้วยวิชาการ – ประเทศก้าวหน้า เกษตรกรมั่นคง” ห้องประชุมมนตรีรุมาคม ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร วันที่ 30 พฤษภาคม 2557
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร, 2562. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ทะลายปาล์มน้ำมัน มกษ. 5702-2562 จำนวน 9 หน้า
อรรัตน์ วงศ์ศรี, เตือนจิตร เพ็ชรรุณ และ ชญาดา ดวงวิเชียร. 2554. พันธุ์และการคัดเลือกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน ในเอกสารการจัดการสวนปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันปาล์ม สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 1 – 10.
Hartley C.W.S. 1988. The Oil Palm. 2nd Longman Publishers Ltd., London. 706 pp.