วิจัยและพัฒนาเครื่องฝังปุ๋ยแบบปรับอัตราหยอดอัตโนมัติสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก Research and Development of an Automatic Fertilizer Applicator for Small Four-Wheel Tractors.

Main Article Content

Tanapong Sanchum
Khanit Wannaronk
Wirot Horasart
Sarawuth Parnthon
Sarocha Thuengsuk
Arnon Saicomfu
Akkaphap Panpoom
Artorn ponboon
Uthai Tanee

บทคัดย่อ

        ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้ปัจจัยการผลิต(ปุ๋ย) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การใส่ปุ๋ยไม้ผล โดยทั่วไปนิยมใช้การหว่าน การให้ปุ๋ยด้วยวิธีการหว่าน มีข้อเสียคือ สูญเสียเนื้อปุ๋ยที่จะหมดไปกับการระเหยไปในอากาศ และเมื่อฝนตกหนักๆ ปุ๋ยจะละลายและไหลไปกับน้ำอย่างรวดเร็ว จึงเกิดการสูญเสียปุ๋ย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาเครื่องฝังปุ๋ยแบบปรับอัตราหยอดแบบอัตโนมัติสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก เพื่อให้ใส่ปุ๋ยได้แม่นยำตามค่าที่ต้องการ เกิดการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การทำงานจะมีชุดหัวเจาะ จะเจาะหลุมดินกว้าง 10 cm. ลึกประมาณ 15 cm. หลังจากเจาะหลุมเสร็จแล้ว ปุ๋ยจากถังปุ๋ยจะไหลลงท่อที่ติดอยู่ที่ชุดเจาะและถูกปล่อยลงหลุม จากนั้นมีชุดกลบ ระบบควบคุมอัตราหยอดและการจ่ายปุ๋ย โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์กระแสตรง 12 V 250 w สำหรับควบคุมการจ่ายปุ๋ยตามอัตราการที่กำหนด ดำเนินการทดสอบการเจาะหลุม หยอดปุ๋ยและกลบ 8 หลุมรอบโคนต้น พบว่า เครื่องฝังปุ๋ยแบบปรับอัตราหยอดแบบอัตโนมัติ สามารถใส่ปุ๋ยในอัตราการหยอดต่อต้นได้อย่างแม่นยำ (กำหนดปริมาณปุ๋ยที่ 1 kg.plant-1 อัตราหยอดปุ๋ย 125 g.hole-1) มีความสามารถในการทำงาน 1.07 rai.hr-1 อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 2.65 lite.rai-1 ที่ความชื้นดิน 15.03 %wb และความหนาแน่นดินสภาพแห้ง 2.13 g.cm-3 เครื่องฝังปุ๋ยแบบปรับอัตราหยอดแบบอัตโนมัติสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กจะมีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 698.52 rai.year-1


 


This research aims to develop an automatic fertilizer applicator for small tractors. In order to apply fertilizer
precisely as desired, Reduce fertilizer loss from sowing methods. This ensures the most efficient utilization of
fertilizer. Working of the drill bit machine the drill bit machine creates a hole in the ground that is 10 cm wide and
roughly 15 cm deep. After drilling the hole, fertilizer from the fertilizer tank flows into a pipe attached to the drilling
unit and is released into the hole. Then comes the cover set. The system controls the rate of fertilizer application
and distribution. Using a microcontroller to control the speed of a 12 V 250 W DC motor for controlling the fertilizer
distribution at the specified rate. We carried out an experiment where we drilled eight holes around the tree's
base, applied fertilizer to them, and covered them. It was found that the automatic fertilizer applicator was able
to apply fertilizer precisely. The fertilizer amount was set at 1 kg plant-1, the fertilizer application rate was 125 g
hole-1, the work capacity was 1.07 rai hr-1, the fuel consumption rate was 2.65 L rai-1, the soil moisture was 15.03%

Article Details

บท
Power and machinery

References

ขนิษฐ์ หว่านณรงค์, อัคคพล เสนาณรงค์, เวียง อากรชี, สราวุฒิ ปานทน, ธนพงค์ แสนจุ้ม, วีระ สุขประเสริฐ, อุทัย ธานี, อาธร พรบุญ. 2560. วิจัยและพัฒนาเครื่องใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินแบบแยกถังปุ๋ยสำหรับอ้อย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ประจำปี 2560. สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.

บัณฑิต จิตรจำนงค์, พักตร์วิภา สุทธิวารี, กิตติศักดิ์ กิตติรัตน์, พีระพงษ์ ชมภู, ยุทธนา เครือหาญชาญพงค์, ขนิษฐ์ หว่านณรงค์, อุทัย ธานี, จันทร์เพ็ญ วิจิตร, ปิยะมาศ โสมภีร์, กมลภัทร ศิริพงษ์. 2563. วิจัยและพัฒนาเครื่องใส่ปุ๋ยเคมีกึ่งอัตโนมัติแบบโรยตามแนวปลายทรงพุ่มสำหรับสวนทุเรียน โดยใช้ต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ประจำปี 2563. สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.

ประพันธ์ สุวรรณมามูล, ณัฐฐา แสงนรินทร์ เหมจินดา. 2564. ผลของรูปแบบการให้ปุ๋ยต่อการคงเหลือของธาตุอาหารในดินและผลผลิตของนํ้ายางพารา. รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 59. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 10-12 มีนาคม 2564. กรุงเทพฯ.

ราคาน้ำมัน. 2564. ราคาขายปลีกประจำปี 2564. แหล่งข้อมูล: https://www.pttor.com/th/oil_price. เข้าถึงเมื่อ 12 มิถุนายน 2565.

สถาบันวิจัยพืชสวน. 2559. การลดต้นทุนการผลิตพืชสวน (พืชสวนอุตสาหกรรม). กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, วัฒนศักดิ์ ชมภูนิช. 2551. ศึกษาวิธีการใส่ปุ๋ยอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ. รายงานผลงานวิจัยและพัฒนาด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตร ประจำปี 2551. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.