การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเชิงกลของมะม่วงแก้วก่อนและหลังการดองสำหรับการออกแบบและสร้างเครื่องหั่นและปอกเปลือกชิ้นมะม่วงดอง Study on Physical Properties of Mango for Design and Fabrication Picked Mango Cutting and Peeling Machine

Main Article Content

สิรินาฏ น้อยพิทักษ์
ณฤดล ผอูนรัตน์
เกรียงไกร มีถาวร
กิตติยา วงค์สกุลสุขกูล
ศิวลักษณ์ ปฐวีรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของมะม่วงแก้วผลสดและผลดอง ด้วยการวัดขนาดของผลมะม่วง   การทดสอบแรงเฉือนเนื้อมะม่วงแบบตามยาวผลและตามขวางผล และการทดสอบความแน่นเนื้อของมะม่วงแบบปอกเปลือกและแบบไม่ปอกเปลือก แล้วใช้ข้อมูลเหล่านี้ออกแบบเครื่องปอกและหั่นมะม่วงดอง จากขนาดของผลมะม่วงที่วัดได้สามารถกำหนดระยะห่างของใบมีดการหั่นได้ 1.5 cm จะได้ชิ้นเนื้อที่มีขนาดที่เหมาะสม แรงที่กระทำกับเนื้อสัมผัสมะม่วงสามารถทำให้ทราบถึงแรงเริ่มต้นในการหั่นเนื้อมะม่วงและสามารถออกแบบกลไกชุดปอกให้สามารถกดชิ้นมะม่วงดองเป็นระนาบให้กับใบมีดปอก เนื่องจากชิ้นเนื้อมะม่วงดองมีขนาดแตกต่างกัน จึงสามารถออกแบบสร้างและทดสอบเครื่องหั่นและปอกเปลือกชิ้นมะม่วงดองสามารถทำงานได้ 2 รูปแบบ   คือ รูปแบบที่ 1 การหั่นชิ้นมะม่วง ที่ความเร็วรอบชุดใบมีดหั่น 80 rpm มีประสิทธิภาพอัตราการทำงาน 105.61 kg h-1 และรูปแบบที่ 2 ใช้งานในกระบวนการหั่นร่วมกับการปอกเปลือกชิ้นเนื้อมะม่วงดอง ด้วยความเร็วรอบชุดใบมีดหั่น 80 rpm มุมใบปอกที่ 2˚ และสายพานตัวล่างสำหรับลำเลียงชิ้นมะม่วงดองและสายพานชุดลูกกลิ้งตัวบนที่ระดับ 0.06 m s-1 มีประสิทธิภาพการปอกเปลือกชิ้นมะม่วงดองจากเปอร์เซ็นต์การปอก 83.90% และอัตราการทำงาน 48.70 kg h-1 

The objective of this research was to study the physical characteristics of fresh and pickled Kaew mango by measuring the size of the mango. The shear strength of the mango pulp was tested on longitudinal and transversal of the fruit, and the firmness test of the pulp was done and compared between peeling and unpeeling fruit. These data were used to design a pickled mango cutting and peeling machine. Based on the measured size of the mango fruits, a blade spacing of 1.5 cm was determined for slicing the mango pulp into optimal size pieces. The action force on the mango pulp could reveal the cutting force of the mango flesh and the peeling mechanism could be designed to press the pickled mango flesh into a plane for the peeling blade. The picked mango cutting and peeling machine was designed, built and tested in 2 functional forms. The first form involved cutting the mango pieces at a blade rotation speed of 80 rpm, achieving an operational rate of 105.61 kg h-1. The second form involved simultaneous cutting and peeling of the pickled mango pieces, with a blade rotation speed of 80 rpm, a peeling

Article Details

บท
Post-harvest and food engineering

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2547. ผลิตภัณฑ์มะม่วง. แหล่งข้อมูล : ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/ 2011-005-0117/#p=55 เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2566

ปานมนัส ศิริสมบูรณ์, 2554. เทคโนโลยีเนื้อสัมผัสของผลผลิตเกษตรและอาหาร. กรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย

มติชนออนไลน์. 2566. มะม่วงไทยสุดปัง! ส่งออก 2 เดือนแรกปี65 พุ่ง15% แปรรูปขนม-พร้อมทาน ขยายตัวเพิ่ม. แหล่งข้อมูล : https://www.matichon.co.th/economy/news_3303416. เข้าถึงเมื่อ 14 มิถุนายน 2566

ลำพอง แต้มครบุรี และธวัชชัย รัตน์ชเลศ. 2548. การประเมินสายต้นมะม่วงแก้วเพื่อการแปรรูปเป็นมะม่วงอบแห้ง. วารสารเกษตร 21(3), 219-228

วิรัตน์ หวังเขื่อนกลาง. 2556. เครื่องหั่นมันชิ้น. รายงานการประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2556, 255-261. ประจวบคีรีขันธ์ : โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนด์พลาซ่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. 1-4 เมษายน 2556, หัวหิน, ประจวบคีรีขันธ์

อิศราวุฒิ บุญแก้ว. 2562. การพัฒนาออกแบบเครื่องปอกมะม่วงดองเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปมะม่วงดอง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 50(3), 268-283

อุษาพร ภูคัสมาส. 2557. มะม่วง ผลไม้รสชาติดีมีประโยชน์. วารสารอาหาร 44(3), 51-53

Costa, F. 2016. Mechanical investigation to assess the peel contribution in apple fruit. Postharvest Biology and Technology. 111, 41-47.

Lana, M. M., Tijskens, L. M., De Theije, A., Dekker, M., and Barrett, D. M. 2007. Measurement of firmness of fresh-cut sliced tomato using puncture tests–studies on sample size, probe size and direction of puncture. Journal of texture studies, 38(5), 601-618.

Mahmoud, W. A. E. M., Mahmoud, R. K., and Eissa, A. S. 2022. Determining of some physical and mechanical properties for designing tomato fruits cutting machine. Agricultural Engineering International: CIGR Journal, 24(4), 131-142.

Sirisomboon, P. and Pornchaloempon g, P. 2011. Instrumental textural properties of mango (cv Nam Doc mai) at commercial harvesting time. International journal of Food Properties 14, 441-449.