การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของเครื่องหั่นมันสำปะหลังแบบลูกเต๋า Development and evaluation of cassava cutting cube machine.
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของระบบแปรรูปสำหรับเครื่องหั่นมันสำปะหลังแบบลูกเต๋า เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดระยะเวลาในการทำงาน และลดจำนวนแรงงาน ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย เครื่องหั่นหัวมันสำปะหลังแบบแผ่นเครื่องหั่นมันสำปะหลังแบบลูกเต๋า ชุดสายพานลำเลียง และระบบควบคุมการทำงานของชุดสายพานลำเลียง เพื่อตอบสนองการทำงานของระบบให้มีความต่อเนื่องตลอดเวลา จากผลการทดลองหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของเครื่องหั่นมันสำปะหลังแบบแผ่นของสายพันธุ์ระยอง 9 และเกษตรศาสตร์ 50 พบว่า ความเร็วรอบสำหรับการหั่นเท่ากับ 1,162.38 และ 1,199.15 rpm และอัตราการป้อนเท่ากับ 22.07 และ 20.5 kg min-1 ซึ่งให้เปอร์เซ็นต์มันสำปะหลังแผ่นสมบูรณ์เท่ากับ 77.45% และ 72.65% ตามลำดับ และสำหรับสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของเครื่องหั่นมันสำปะหลังแบบลูกเต๋าของสายพันธุ์ระยอง 9 และเกษตรศาสตร์ 50 คือ ความเร็วรอบของชุดหั่นลูกเต๋าเท่ากับ 1,231.69 และ 1,224.74 rpm และอัตราการป้อนเท่ากับ 20.92 และ 22.07 kg min-1 ตามลำดับ จากการทดสอบประสิทธิภาพของระบบแปรรูปสำหรับเครื่องหั่นมันสำปะหลังแบบลูกเต๋า พบว่าในกรณีมันสำปะหลังสายพันธุ์ระยอง 9 ความสามารถในการผลิตเท่ากับ 767.59±49.31 kg hr-1 และมีเปอร์เซ็นต์ความเป็นลูกเต๋าเท่ากับ 38.01±2.35% ส่วนมันสำปะหลังสายพันธุ์เกษตรศาสตร์50 ความสามารถในการผลิตเท่ากับ 784.31±35.76 kg hr-1และมีเปอร์เซ็นต์ความเป็นลูกเต๋าเท่ากับ 40.23±2.46%
This research aims to develop and evaluate the efficiency of a processing system for a cassava cutting cube machine. Increase productivity, shorten working time and reduce the number of workers due to the current shortage. The developed system Contributes to making the processing process more continuous. The key components are cassava cutting machine, Cassava cutting cube machine, conveyor belt and control system of conveyor belt. The optimized conditions of the Cassava cutting machine of Rayong 9 and Kasetsart 50 were 1,162.38 and 1,199.15 rpm, and feed rates were 22.07 and 20.5 kg.hr-1, respectively. The optimized conditions of the Cassava cutting cube machine of Rayong 9 and Kasetsart 50 were 1,231.69 and 1,224.74 m.min-1, and feed rates were 20.92 and 22.07 kg.hr-1 respectively. System performance testing found, Rayong 9 cultivar had production capability was 767.59±49.31 kg.hr-1 and percentage of cassava cube was 38.01±2.35%. Kasetsart 50cultivar had a production capability was 784.31±35.76 kg.hr-1 and percentage of cassava cube was 40.23±2.4%.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย
Thai Socities of Agricultural Engineering
References
ไชยวัฒน์ มณีอินทร์, อาทิพงศ์ รัชฎานนท์ และอาลีฟ กัลยามิตร. 2561. การออกแบบและพัฒนาชุดกดและชุดมีดสำหรับเครื่องหั่นมันสำปะหลังแบบลูกเต๋า. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วิรัตน์ หวังเขื่อนกลาง. 2556. เครื่องหั่นมันเส้น, รายงานการประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2556, 256-261. ประจวบคีรีขันธ์ : โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนด์พลาซ่า. 1-4 เมษายน 2556.
ธัชพล อรรถประวิทย์, ธีรเดช ธัญญเจริญ และพชรพล ประภารัตน์. 2562. การสร้างและออกแบบชุดใบมีดสำหรับเครื่องหั่นมันสำปะหลังแบบลูกเต๋า, ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ธนพล ศิริแพทย์, สุริยัน โมคศิริ และอติวิชญ์ วงศ์สุวานิช. 2560. การออกแบบและพัฒนาใบมีดสำหรับเครื่องหั่นมันสำปะหลังแบบลูกเต๋า, ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
งานวิจัยกรุงศรี. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2566-2568: มันสำปะหลัง. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.
com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/cassava/io/cassava-2023-2025. เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. มันสำปะหลังโรงงาน. แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th/view/. เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ความเป็นมาของมันสำปะหลังในประเทศไทย. แหล่งที่มา:https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=17891 เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2566.