การเปรียบเทียบสมรรถภาพการขุน ลักษณะซาก และผลตอบแทนจากการขุนโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนและโคนมเพศผู้ตอน เปรียบเทียบสมรรถภาพการขุนโคพันธุ์กำแพงแสนและโคนมเพศผู้ตอน

Main Article Content

Anchalee Khongpradit
สุริยะ สะวานนท์
ภูมพงศ์ บุญแสน
ปรมาพิชญ์ เจริญศรี
Piny Tong
คมกฤช เอกฉัตร
พีระยุทธ อินกล่ำ
ภานุวัฒน์ กาลจักร
สุริยะ สะวานนท์

บทคัดย่อ

การผลิตเนื้อโคคุณภาพต้องเลือกใช้พันธุ์โคที่เหมาะสมและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการขุนโคพันธุ์กำแพงแสนเพศผู้ตอนและโคนมเพศผู้ตอนที่มีผลต่อสมรรถภาพการขุน ลักษณะซาก และผลตอบแทนจากการขุนโคที่ได้รับอาหารข้นแบบจำกัด คือ
1) ระยะแรกได้อาหารข้น 6 กก./ตัว/วัน 2) ระยะกลางได้อาหารข้น 7 กก./ตัว/วัน และ 3) ระยะสุดท้ายได้อาหารข้น 8 กก./ตัว/วัน ร่วมกับการให้หญ้าเนเปียร์หมักกินอย่างเต็มที่ และเสริมฟางข้าว 1 กก./ตัว/วัน ตลอดการขุน ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพการขุน และลักษณะซากระหว่างโคสองสายพันธุ์ด้วยการทดสอบที (Sample T-test) ผลการศึกษาพบว่าโคพันธุ์กำแพงแสนและโคนมเพศผู้ตอนมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน ปริมาณอาหารที่กินได้ต่อวัน และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) อย่างไรก็ตาม โคนมเพศผู้ขุนมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักมากกว่าโคพันธุ์กำแพงแสน 13.3 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารในการเพิ่มน้ำหนักตัวของโคนมเพศผู้ขุนสูงกว่าโคพันธุ์กำแพงแสน  แต่พบว่าโคพันธุ์กำแพงแสนมีเปอร์เซ็นต์ซากมากกว่าโคนมเพศผู้ตอน เฉลี่ย 6 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) แต่ปริมาณการสะสมไขมันแทรกในมัดกล้ามเนื้อ ค่าสีของเนื้อ ค่าการสูญเสียน้ำในระหว่างการเก็บรักษา และค่าความเป็นกรด-ด่างในเนื้อโคพันธุ์กำแพงแสนกับโคนมเพศผู้ตอนไม่มีความแตกต่างในทางสถิติ (P>0.05) จากการทดลองนี้พบว่าการขุนโคทั้งสองสายพันธุ์มีต้นทุนสูงกว่าผลตอบแทน (ขาดทุน)

Article Details

บท
บทความวิจัย