การประเมินการดูดใช้และประสิทธิภาพธาตุอาหารของอ้อยสายพันธุ์ต่างๆ ภายใต้สภาพดินทรายที่ได้รับน้ำชลประทาน

Main Article Content

ยุพดี ระดาไสย
วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ พลพินิจ

บทคัดย่อ

งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูดใช้ธาตุอาหารและประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในอ้อยพันธุ์ต่างๆ ภายใต้สภาพดินทราย ดำเนินการทดลอง ณ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2561 - พฤศจิกายน 2562 โดยใช้อ้อยพันธุ์ KK3, KKU99-02, KKU99-03, UT12, UT13 และ Kps01-12 ให้น้ำชลประทานด้วยระบบน้ำหยดตามความต้องการของอ้อย โดยรักษาความชื้นดินที่ระดับความจุความชื้นสนาม  ให้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ และให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 ตามค่าวิเคราะห์ดิน (ไนโตรเจน และโพแทสเซียม 7.36 และ 8.96 กก./ไร่) เมื่ออ้อยอายุได้ 6 เดือน  วิเคราะห์ปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในใบและลำต้นอ้อย ที่อายุ 4, 6, 8, 10 และ 12 เดือนหลังปลูก ที่ระยะเก็บเกี่ยวอ้อยคำนวณประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหาร ผลการทดลองพบว่า ที่อายุ 4 และ 6 เดือน อ้อยพันธุ์ UT12 มีความสามารถในการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงที่สุดแต่ไม่แตกต่างกับอ้อยพันธุ์ KKU99-02  นอกจากนี้ที่ระยะเก็บเกี่ยวอ้อยปลูก (อายุ 12 เดือน) พบว่าอ้อยพันธุ์ UT12 มีปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจนได้สูงที่สุด แต่ไม่แตกต่างจากอ้อยพันธุ์ ขอนแก่น 3 UT13 และ KPS01-12  ปริมาณการดูดใช้ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม รวมทั้งประสิทธิภาพการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ทั้งนี้เมื่ออ้อยได้รับน้ำตามความต้องการตลอดการเจริญเติบโตอ้อยสามารถดูดธาตุอาหารไนโตรเจนได้สูง 30-70 กก./ไร่ ฟอสฟอรัส 10-19 กก./ไร่ และโพแทสเซียม 50-100 กก./ไร่  และมีค่าประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารเชิงสรีรวิทยา ธาตุไนโตรเจนอยู่ที่ 154 – 234, ฟอสฟอรัส 619-776 และ โพแทสเซียม 120-164 (กก./กก.)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2547. คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจจับรับรองมาตรฐานสินค้า. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน.

กรมพัฒนาที่ดิน, 2560. โปรแกรมปุ๋ยรายแปลง แหล่งข้อมูล: https://www.ldd.go.th/www/lek_web/web.jsp?id=17863 ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562.

รัชนีกร หาญสุด. 2563. อิทธิพลของการให้สังกะสีซัลเฟตต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และค่าความหวานของอ้อยภายใต้สภาพดินทรายที่มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ชยันต์ ภักดีไทย, ศรีสุดา ทิพยรักษ์ และวัลลีย์ อมรพล. 2555. การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในดินทราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. แก่นเกษตร. 40(ฉบับพิเศษ 3): 149-158.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2562. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2561/62. แหล่งที่ข้อมูล: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9040.pdf. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563.

Hemwong, S., G. Cadisch, B. Toomsan, V. Limpinuntana, P. Vityakon, and A. Patanothai. 2008. Dynamics of residue decomposition and N2 fixation of grain legumes upon sugarcane residue retention as an alternative to burning. Soil and Tillage Research. 99: 84-97.

Jangpromma, N., P. Songsri, S. Thammasirirak, and P. Jaisil. 2010. Rapid assessment of chlorophyll content in sugarcane using a SPAD chlorophyll meter across different water stress conditions. Asian Journal of Plant Sciences. 9: 368-374.

Jangpromma, N., S. Thammasirirak, P. Jaisil, and P. Songsri. 2012. Effects of drought and recovery from drought stress on above ground and root growth, and water use efficiency in sugarcane ('Saccharum officinarum' L.). Australian Journal of Crop Science. 6: 1298.

Kaewpradit, W., B. Toomsan, G. Cadisch, P. Vityakon, V. Limpinuntana, P. Saenjan, and A. Patanothai. 2009. Mixing groundnut residues and rice straw to improve rice yield and N use efficiency. Field Crops Research. 110: 130-138.

Muchow, R.C., M.J. Robertson, A.W. Wood, and B.A. Keating. 1996. Effect of nitrogen on the time course of sucrose accumulation in sugarcane. Field Crops Research. 47: 143-153.

Oliveira, M.W., P.C.O. Trivelin, A.E. Boaretto, T. Muraoka, and J. Moratti. 2002. Leaching of nitrogen, potassium, calcium and magnesium in a sandy soil cultivated with sugarcane. Pesquisa Agropecuária Brasileira. 37: 861–868.

Parashar, K.S., C.S. Saraf, and K.P. Sharma. 1978. Studied on the effect of soil-moisture regimes and fertilizer levels on spring planted sugar cane grown pure and inter-cropped with moong. Indian Sugar Journal. 28: 253-261.

Zhou, W., D. Chen, Q. Zeng, M. A. Tahir, Q. Wu, Y. Huang, and Z. Huang. 2021. Differential physiological behavior of sugarcane genotypes in response to sparingly soluble phosphorus‐sources. Journal of Plant Nutrition and Soil Science. 184: 187-197.