การประเมินผลผลิตและแอนโทไซยานินในเมล็ดสายพันธุ์ก้าวหน้าข้าวก่ำเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงลูกผสมระหว่างพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดและปทุมธานี 1

Main Article Content

กฤษฎิ์ พุทธาศรี
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย
ต่อนภา ผุสดี
ศันสนีย์ จำจด

บทคัดย่อ

ข้าวเหนียวก่ำมีสารแอนโทไซยานินแต่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เพียงปีละครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตและทางเลือกในการบริโภคข้าว จึงได้ผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเหนียวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดและข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 คัดเลือกจนได้ข้าวเจ้าก่ำสายพันธุ์ก้าวหน้า ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสายพันธุ์ก้าวหน้าที่ได้จากการผสมพันธุ์ดังกล่าว เพื่อคัดเลือกให้ได้ข้าวก่ำเจ้าที่มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง มีผลผลิตและปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดสูง โดยใช้สายพันธุ์ก้าวหน้าข้าวก่ำเจ้ารวม 5 สายพันธุ์ ปลูกประเมินในฤดูนาปีและนาปรัง บันทึกวันออกดอก ความสูงต้น ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต ปริมาณแอนโทไซยานินและอะมิโลส สายพันธุ์ก้าวหน้าทุกสายพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อเทียบกับพันธุ์แม่ก่ำดอยสะเก็ดในฤดูนาปี สายพันธุ์ก้าวหน้าออกดอกเร็วกว่าพันธุ์แม่ 10-23 วัน มีต้นเตี้ยกว่าและให้ผลผลิตสูงกว่า จากผลการทดลองใน 2 ฤดู สายพันธุ์ก้าวหน้าออกดอกระหว่าง 101-114 และ 120-127 วัน มีความสูงต้นระหว่าง 76.0-81.1 และ 78.4-88.1 ซม. ผลผลิตระหว่าง 484.2-727.3 และ 453.6-750.7 กก./ไร่ มีปริมาณแอนโทไซยานินระหว่าง 3.4-23.8 และ 12.6-36.6 มก./100 ก. และปริมาณอะมิโลสระหว่าง 11.2-13.9 และ 11.5-14.0% ตามลำดับ ทุกสายพันธุ์มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำเหมือนพันธุ์แม่ มีเมล็ดเรียวยาวเหมือนพันธุ์พ่อ จากผลการทดลองสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ก้าวหน้า K2 ที่ให้ลักษณะตรงตามความต้องการ โดยพบว่าสายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตสูงที่สุดในระดับเดียวกับพันธุ์พ่อปทุมธานี 1 ในฤดูนาปีและฤดูนาปรังมีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 727.3 และ 750.7 กก./ไร่ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีปริมาณแอนโทไซยานินสูงกว่าสายพันธุ์อื่น โดยปริมาณแอนโทไซยานินเฉลี่ยเท่ากับ 23.8 และ 36.6 มก./100 ก. ในฤดูนาปีและนาปรัง ตามลำดับ ซึ่งสายพันธุ์ก้าวหน้าที่ได้จากการทดลองนี้จะนำไปปลูกทดสอบขยายผลในแปลงเกษตรกรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ดําเนิน กาละดี, ศันสนีย์ จําจด, แสงทิวา สุริยงค์, กนกวรรณ ศรีงาม, ปณิตา บุญสิทธิ์, และสมทบ นันทะเสน. 2552. สารแกมม่าโอไรโซนอลและแอนโทไซยานินในความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวก่ำพื้นเมืองไทยและความเป็นไปได้ในการร้างพันธุ์ใหม่เพื่อเพิ่มคุณค่าความเป็นข้าวเพื่อสุขภาพ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ดำเนิน กาละดี และศันสนีย์ จำจด. 2543. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องพันธุศาสตร์การปรับปรุงพันธุ์และโภชนศาสตร์เกษตรของข้าวเหนียวดำ. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ธรรมนูญ หัทยานันท์, ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย, และศันสนีย์ จำจด. 2559. การคัดเลือกสายพันธุ์ก้าวหน้าพันธุ์ข้าวเจ้าก่ำไม่ไวต่อช่วงแสงและมีปริมาณแอนโทไซยานินสูง. วารสารเกษตร. 33(1): 81-90.

พรพาชื่น ชูเชิด, ศิริพร เรียบร้อย คิม, และอัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ. 2017. การเปรียบเทียบปริมาณสารสำคัญในข้าวเหนียวดำ 6 สายพันธุ์. Science and Technology RMUTT. 7(2): 271–279.

เบญจวรรณ พลโคตร. 2553. การประเมินสายพันธุ์ก้าวหน้าในประชากรลูกผสมชั่วที่ 8 ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดเพื่อคัดเลือกลักษณะข้าวเจ้าก่ำ. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เทวา ขอดเรือนแก้ว, ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย, ต่อนภา ผุสดี, และศันสนีย์ จำจด. 2563. การประเมินประชากรลูกผสมระหว่างข้าวไร่พันธุ์ก่ำหอม มช. กับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง. แก่นเกษตร. 48: 535-546.

พีรนันท์ มาปัน, สุพรรณนิกา ติ๊บขัน, ชนากานต์ พรมอุทัย, ดำเนิน กาละดี, และศันสนีย์ จำจด. 2557. การคัดเลือกในชั่วต้นเพื่อลักษณะแอนโทไซยานินในเมล็ดสูงและไม่ไวต่อช่วงแสงในลูกผสมชั่วที่ 2 ระหว่างข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดและปทุมธานี 1. วารสารนเรศวรพะเยา. 7(2): 160-171.

ยุพเยาว์ คบพิมาย, ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์, และวราภรณ์ แสงทอง. 2561. การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อใช้ตรวจสอบสนิปส์ของยีน SSIIa ที่สัมพันธ์กับอุณหภูมิแป้งสุกในข้าวไทย. Thai Journal of Science and Technology. 7(3): 282-292.

รณชัย ช่างศรี และสุรพล ใจดี. 2552. มะลิโกเมนสุรินทร์และมะลินิลสุรินทร์. เอกสารแผ่นพับเผยแพร่. ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์. กรมการข้าว.

สุณิสา สุนะรินทร์ และดำเนิน กาละดี. 2545. พฤติกรรมของยีนที่ควบคุมการสังเคราะห์สีม่วงในข้าวเหนียวดำ. วารสารวิชาการเกษตร. 21: 34-44.

สมใจ สาลีโท, นันทิดา สินสายไทย, เรณู จําปาเกตุ, พุธชาติ ศรีพนม, ชรินทร์ แก้วคําแจ้ง, รุ่งฤดี ทัณทะรักษ์, นภสร แก้ววิเศษ, กรวรรณ ม่วงศรี, รุจิรัตน์ วงษ์จันทร์แดง, ชลณิภา นวลทอง, วิทยา ทีโสดา, ชาญชัย ประดับศรี, มนัส อันทะรึก, สุวิทย์ กุลสุข, ดุจดาว แสงธิ, วีระศักดิ์ หอมสมบัติ, ธัญวราภรณ์ ปรุงฆ้อง, สุพัฒนา บุรีรัตน์, รณชัย ช่างศรี, สําเร็จ สุนทรา, ชนะ ศรีสมภาร, สุขวิทยา ภาโสภะ, ยศพร ตันสมรส, อลงกด ลีนารถ, ปัญญา คําแสนพันธ์, เอกสิทธิ์ สกุลคู, ธานี ชื่นบาน, อภิชาติ สายยศ, รัฐธิภา ธนารักษ์, ณราวุฒิ ปิยโชติสกุลชัย, สุรเชษฐ์ ชามนตรี, จิรวุฒ ภาสดา, อรสา วงษ์เกษม, พัชราภรณ์ รักชุม, อังคณา กันทาจันทร์, ยุพดี รัตนพันธ์, ปิยะนุช เที่ยงดีฤทธิ์, คนึงนิจ ศรีวิลัย, ชิษณุชา บุดดาบุญ, จงใจ มะปะเข, อัฒพล สุวรรณวงศ์, ธีระวัช สุวรรณนวล, จรัญจิต เพ็งรัตน์, กิตติพงศ์ เพ็งรัตน์, พิบูลวัฒน์ ยังสุข, อนุชาติ คชสถิตย์, วิรงค์รัตน์ พิมพ์แสน, อุไรวรรณ คชสถิตย์, กฤษณา สุดทะสาร, ธนาภา สมใจ, จิรพงศ์ ใจรินทร์, พัณณ์ชิตา เวชสาร, วราภรณ์ วงศ์บุญ, กฤษณา สัตยากุล, รานี เมตตาจิตร, ศุภลักษณา หล่าจันทึก, พิสิฐ พรหมนารท, ปริชาติ คงสุวรรณ, พิษณุ หินตั้ง, อิสระพงศ์ บุตรจันทร์, สมหมาย เลิศนา, ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์, อรชุณร์ สารพินิจ, รัฐพงศ์ มีกุล, สมลักษณ์ มอญขาม, สุนันทา วงศ์ปิยชน, กัญญา เชื้อพันธุ์, วัชรี สุขวิวัฒน์, ปราณี มณีนิล, รัตนวรรณ จันทร์ศศิธร, กาญจนา กล้าแข็ง, สุนิยม ตาปราบ, พยอม โคเบลลี่, วันทนา ศรีรัตนศักดิ์, อังศุธรย์ วสุสัณห์, มัณฑนา นครเรียบ, และจิราภรณ์ กระแสเทพ. 2563. ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 83 (มะลิดำหนองคาย 62). วารสารวิชาการข้าว. 11(1): 22-43.

อภิชาติ วรรณวิจิตร, ธีรยุทธ ตู้จินดา, และสมวงษ์ ตระกูลรุ่ง. 2558. เกษตรนวัตกรรม รวบรวมผลงานนวัตกรรมทางการค้นคว้าวิจัยในวาระครบรอบ 72 ปี แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

อภิชาติ เนินพลับ, อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ, สุรีย์ ศรีวันทนียกุล, นลินี เจียงวรรธนะ, สุพัตรา สุวรรณธาดา, สอาง ไชยรินทร์, ดวงอร อริยพฤกษ์, พงศา สุขเสริม, ภมร ปัตตาวะตัง, ควพร พุ่มเชย, พรสุรี กาญจนา, เจตน์ คชฤกษ์, พจน์ วัจนภูมิ, เยาวลักษณ์ กันยะมี, สุธีรา มูลศรี, ศิลาวัน จันทรบุตร, ธิติมา ขันติยวิชย์, จรัญจิต เพ็งรัตน์, และสุภาณี จงดี. 2559. ข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว (Leum Pua Glutinous Rice Variety). วารสารวิชาการข้าว. 7(2): 47-62.

อภิรัตน์ โตลำดับ, ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย, ต่อนภา ผุสดี, และศันสนีย์ จำจด. 2563. การคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวเหนียวดำที่มีปริมาณสารแอนโทไซยานินในเมล็ดสูงจากประชากรข้าวพื้นเมืองภาคเหนือของประเทศไทย. แก่นเกษตร. 48: 1042-1055.

Abdel-Aal, E.S.M., and P. A. Hucl. 1999. Rapid method for quantifying total anthocyanins in blue aleurone and purple pericarp wheats. Cereal Chemistry. 76: 350-354.

Blando, F., C. Gerardi, and I. Nicoletti. 2004. Sour cherry (Prunus cerasus L.) anthocyanins as ingredients for functional foods. Journal of Biomedicine and Biotechnology. 2004 (5): 253-258.

Hui, C., Y. Bin, Y. Xiaoping, Y. Long, C. Chunye, M. Mantian, and L. Wenhua. 2010. Anticancer activities of an IRRI. 2002. Standard Evaluation System for Rice (SES). International Rice Research Institute, Los Baños. Philippines.

Juliano, B.O., 1993. Rice in human nutrition. Food and Agriculture Organization of The United Nations, Rome, Italy.

Laenoi, S., B. Rerkasem, S. Lordkaew, and C. Prom-u-thai. 2018. Seasonal variation in grain yield and quality in different rice varieties. Field Crop Research. 221: 350-357.

Rerkasem, B., S. Jumrus, N. Yimyam, and C. Prom-u-thai. 2015. Variation of grain nutritional quality among Thai purple rice genotypes grown at two different altitudes. Science Asia. 41: 377-385.

Suwannalert, S. and T. Rattanachitthawat. 2011. High levels of phytophenolics and antioxidant activities in Oryza Sativa – unpolished Thai rice strain of Leum Phua. Tropical Journal of Pharmacuetical Research. 10(4): 431-436.

Tananuwong, K., and W. Tewaruth. 2010. Extraction and application of antioxidants from black glutinous rice. Food Science and Technology. 43: 476-481.

Xia, M., W. H. Ling, J. Ma, D. D. Kitts, and J. Zawistowski. 2003. Supplementation of diets with the black rice pigment fraction attenuates atherosclerotic plaque formation in apolipoprotein E deficient mice. Journal of Nutrition. 133: 744-751.