การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่ควบคุมโรคเหี่ยวเขียวและช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริก

Main Article Content

ทวินันท์ บางขาม
เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรคเหี่ยวเขียวที่เกิดจากเชื้อ Ralstonia solanacearum และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริก นำเชื้อ Streptomyces-PR15,  Streptomyces-PR87 และ Bacillus spp. จำนวน 34 ไอโซเลต มาทดสอบการยับยั้งเชื้อ R. solanacearum (biovar 3 และ 4) โดยเทคนิค dual culture bioassay พบว่า ทั้งเชื้อ Streptomyces-PR15 และ Streptomyces-PR87 ยับยั้งเชื้อ R. solanacearum ได้อย่างชัดเจนทุกไอโซเลต ส่วนเชื้อ Bacillus spp. ที่ยับยั้งเชื้อ R. solanacearum ได้มากที่สุด ได้แก่ Bacillus-Ba046, Ba032, Ba028, Ba033 และ NTS3 มีความกว้างของวงใสตั้งแต่ 26.53-34.10 มม. เชื้อปฏิปักษ์ 22 ไอโซเลต สังเคราะห์ Indole 3-acetic Acid (IAA) ได้ในปริมาณ 3.26 - 17.86 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร คัดเลือกเชื้อปฏิปักษ์ Streptomyces-PR87, Bacillus-Ba046, Bacillus-NTS3 และ Bacillus-Ba033 มาทดสอบกับเมล็ดพริกโดยวิธี blotter test พบว่า การแช่เมล็ดพริกในเซลล์แขวนลอยเชื้อปฏิปักษ์เข้มข้น 1x108 cfu/ml  เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนเพาะไม่มีผลเชิงลบต่อเปอร์เซ็นต์ความงอก แต่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกที่อายุ 21 วันหลังเพาะได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม ตรวจสอบการเป็นเอนโดไฟต์ของ Bacillus spp. ทั้ง 3 ไอโซเลต พบว่าเป็นเอนโดไฟต์อยู่ได้ทั้งภายในเนื้อเยื่อส่วนราก ลำต้น และใบของต้นกล้าพริก เมื่อประเมินการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวในสภาพโรงเรือนทดลอง พบว่า กรรมวิธีใช้ Bacillus-NTS3 ควบคุมโรคได้ดีที่สุด มีการเกิดโรค 40.00 % และดัชนีความรุนแรงของโรคต่ำ 31.67 % รองลงมาคือ Streptomyces-PR87  มีการเกิดโรค 53.33% และดัชนีความรุนแรงของโรค 25 % ในขณะที่กรรมวิธีควบคุมที่ปลูกเชื้อ R. solanacearum เพียงอย่างเดียวมีการเกิดโรค 100% และดัชนีความรุนแรงของโรคที่ 83.33 %

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

นันทภัค เกตุสุวงษ์ และเพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล. 2562. การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงในการควบคุมโรคเหี่ยว สเคลอโรเตียมและช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นมะเขือเทศ. แก่นเกษตร. 47: 819-828.

ปภัสสร สีลารักษ์ และเพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล. 2559. การถ่ายทอดทางเมล็ดพันธุ์ของเชื้อราฟิวซาเรียมสาเหตุโรคถอดฝักดาบของข้าวและศักยภาพของเชื้อ Streptomyces-PR15 และ Streptomyces-PR87 ในการควบคุมโรคจากเชื้อฟิวซาเรียมของพืชเศรษฐกิจ. แก่นเกษตร. 44(ฉบับพิเศษ 1): 238-245.

ภัทรกร ภูริชินวุฒิ. 2548. พันธุศาสตร์โมเลกุลของเชื้อ Streptomyces spp. ที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Acidovarax avenae subsp. citrulli และเชื้อรา Didymella bryoniae. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วีรกรณ์ แสงไสย์. 2557. บทบาทของเชื้อ Streptomyces ปฏิปักษ์ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและกระตุ้นภูมิต้านทานโรคไวรัส TMV ของพริก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยลธิดา ชนะชัย และ เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล. 2563. การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคแอนแทรกโนสพริกในแนวกว้างและช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช. แก่นเกษตร 48: 333-344.

รัติกาล ยุทธศิลป์ และเพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล. 2555. การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อ Streptomyces spp. ปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสของพริก. แก่นเกษตร 40 (ฉบับพิเศษ1): 224-232.

เมธาวี ธิมาศ. 2552. ศักยภาพของเชื้อ Streptomyces spp. ต่อการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวและโรครากปมมะเขือเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างฟีโนไทป์ และจีโนไทป์ของเชื้อ Streptomyces spp. ต่อความสามารถในการยับยั้งเชื้อ Ralstonia solanacearum. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Dhingra, O. D., and J.B. Sinclair. 1995. Basic plant pathology methods. CRC Press, Inc. USA.

Eljounaidi, K., S.K. Lee, and H. Bae. 2016. Bacterial endophytes as potential biocontrol agents of vascular wilt diseases–review and future prospects. Biological Control. 103: 62-68.

Hardoim, P. R., L.S. Van Overbeek, G. Berg, A.M. Pirttilä, S. Compant, A. Campisano, and A. Sessitsch. 2015. The hidden world within plants: ecological and evolutionary considerations for defining functioning of microbial endophytes. Microbiology Molecular Biology Reviews. 79: 293-320.

Harris, L. J., M.A. Daeschel. M.E. Stiles, and T.R. Klaenhammer. 1989. Antimicrobial activity of lactic acid bacteria against Listeria monocytogenes. Journal of food protection. 52: 384-387.

Hayward, A. 1991. Biology and epidemiology of bacterial wilt caused by Pseudomonas solanacearum. Annual Review Phytopathology. 29: 65-87.

Khamna, S., A. Yokota, and S. Lumyong. 2009. Actinomycetes isolated from medicinal plant rhizosphere soils: diversity and screening of antifungal compounds, indole-3-acetic acid and siderophore production. World Journal of Microbiology and Biotechnology. 25: 649-655.

Rosenblueth, M., and E. Martínez-Romero. 2006. Bacterial endophytes and their interactions with hosts. Molecular plant-microbe interactions. 19: 827-837.

Shafi, J., H. Tian, and M. Ji. 2017. Bacillus species as versatile weapons for plant pathogens: a review. Biotech-nology and Biotechnological Equipment. 31: 446-459.

Olanrewaju, O. S., and O. O. Babalola. 2019. Streptomyces: implications and interactions in plant growth promotion. Applied microbiology and biotechnology. 103: 1179-1188.

Vanitha, S. C., S. R. Niranjana, C. N. Mortensen, and S. Umesha. 2009. Bacterial wilt of tomato in Karnataka and its management by Pseudomonas fluorescens. Biocontrol. 54: 685-695.

Woo, S. L., and O. Pepe. 2018. Microbial consortia: promising probiotics as plant biostimulants for sustainable agriculture. Frontiers in plant science. 9: 1801.