อิทธิพลของการใช้พืชอนุรักษ์ในแปลงปลูกชาน้ำมันต่อการกร่อนดิน และการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินบนพื้นที่สูง บ้านปางมะหัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พิชญา คะเณย์
ชนิดา เกิดชนะ
ชัยสิทธ์ ทองจู
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย

บทคัดย่อ

การกร่อนดินโดยน้ำเป็นสาเหตุหรือกระบวนการหนึ่งที่ทำให้ดินเสื่อมโทรมซึ่งพบมากในพื้นที่สูง การสูญเสียธาตุอาหารในดินไปกับตะกอน และน้ำที่ไหลบ่าตามผิวดิน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราการกร่อนดิน และการสูญเสียธาตุอาหารภายใต้ระบบการปลูกพืชอนุรักษ์ร่วมกับชาน้ำมัน บ้านปางมะหัน จังหวัดเชียงราย วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 ตำรับการทดลอง ดังนี้ 1) ปลูกชาน้ำมันเพียงอย่างเดียว 2) ปลูกชาน้ำมันร่วมกับถั่วพุ่มดำ 3) ปลูกชาน้ำมันร่วมกับถั่วเหลือง 4) ปลูกชาน้ำมันร่วมกับแถบหญ้าแฝก 5) ปลูกชาน้ำมันร่วมกับถั่วพุ่มดำ และแถบหญ้าแฝก และ 6) ปลูกชาน้ำมันร่วมกับถั่วเหลือง และแถบหญ้าแฝก พบว่า การปลูกชาน้ำมันเพียงอย่างเดียวมีการสูญเสียดินและน้ำไหลบ่ามากที่สุด (9.41 กก./ไร่, 37.17 ลบ.ม./ไร่) และเป็นสาเหตุให้มูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์สูงที่สุด (41.39 บาท/ไร่) ขณะที่การปลูกชาน้ำมันร่วมกับถั่วพุ่มดำ และแถบหญ้าแฝก มีการสูญเสียดินและน้ำไหลบ่าน้อยที่สุด (5.69 กก./ไร่, 20.76 ลบ.ม./ไร่) นอกจากนี้ การปลูกพืชเชิงแถบอนุรักษ์ร่วมในระบบส่งผลให้ธาตุอาหารในดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนเทียบกับดินก่อนปลูก การปลูกพืชอนุรักษ์ในทุกตำรับการทดลองไม่มีผลให้ความชื้นของดิน ค่าความจุน้ำใช้ประโยชน์ได้ ความหนาแน่นรวมของดินแตกต่างกัน ยกเว้นสัมประสิทธิ์การนำน้ำขณะดินอิ่มตัว และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเม็ดดินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อิทธิพลของระยะเวลาที่ใช้ในการปลูกพืชอนุรักษ์มีผลทำให้ปริมาณการสูญเสียดิน น้ำไหลบ่า และมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ลดลง ขณะที่ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณธาตุอาหารหลัก และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเม็ดดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในดินอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2545. การสูญเสียดินในประเทศไทย. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

จรัณยา สุคนธากร, ศุภิฌา ธนะจิตต์, สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่มและเอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2559. ผลสะสมของวัสดุปรับปรุงดินต่อการแจกกระจายของเม็ดดินและการกักเก็บคาร์บอนของดินวารินที่ปลูกมันสำปะหลัง. วารสารแก่นเกษตร. 44(4): 657-668.

จุฑารัตน์ มนูญโย,ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, บุณฑริก ฉิมชาติ และศิริสุดา บุตรเพชร. 2562.การประเมินการกร่อนดินและการสูญเสียธาตุอาหารภายใต้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร. 35(3): 447-459.

ฐนชนก คำขจร. 2558. การประเมินการกร่อนดิน และการสูญเสียธาตุอาหาร ภายใต้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ปลูกยางพาราบนพื้นที่ดอน กรณีศึกษา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

พบชาย สวัสดี. 2556. เอกสารวิชาการ เรื่อง “การจัดการดินมีปัญหาทางการเกษตรบริเวณพื้นที่ภาคใต้ตอนบน”. สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต11. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ภาดล สหเจริญ, กิตติชัย ดวงมาลย์, เกษม จันทร์แก้วและอรอนงค์ ผิวนิล. 2560. สภาพกร่อนได้ของดินตามลักษณะภูมิประเทศเนินเขาและลอนลาดขรุขระในเขตเงาฝน ลุ่มน้ำพุสวรรค์ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35(3): 49-57.

มัตติกา พนมธรนิจกุล และศิวะพงศ์ นฤบาล. 2550. รายงานการวิจัยเรื่องการเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการใช้น้ำของพืชในระบบวนเกษตรน้ำฝนอย่างยั่งยืนบนพื้นที่ลาดชัน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน. 2562. ชาน้ำมัน. แหล่งข้อมูล: https://www.teaoilcenter.org/%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99/. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564.

สหรัตถ์ อารีราษฎร, 2553. ระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวางแผนในการปลูกผักเชิงผสม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร ปัจจัยการผลิต: ราคาขายปลีกปุ๋ยเคมีรายเดือน. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95/TH-TH. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564.

อดิเรก ปัญญาลือ, เจษฎา จงใจดี, ศันสนีย์ จำจด และเบญจวรรณ ฤกษ์เกษม. 2561. ผลของการปลูกข้าวโพดแซมถั่วต่อการชะล้างพังทะลายหน้าดินและความหลากหลายทางชีวภาพในดิน. วารสารแก่นเกษตร. 46(3): 449-458.

อาทิตย์ ศุขเกษม, สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม, เอิบ เขียวรื่นรมณ์, อัญชลี สุทธิประการ และศุภิฌา ธนะจิตต์. 2560. ผลของระบบอนุรักษ์ดินและน้ำต่อการกร่อนดินและการกักเก็บคาร์บอนในระบบพืชไร่. วารสารแก่นเกษตร. 35(2): 285-296.

อารีย์ สุวรรณจินดา, บัญญัติศิรินาวงศ์ และศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา. 2556. ยุทธศาสตร์การปลูกหญ้าแฝกในการปรับปรุงดินที่แข็งดานเพื่อการปลูกพืชตามแนวพระราชดำริ. วารสารสมาคมนักวิจัย. 18(2): 16-28.

อุทิศ เตจ๊ะใจ. 2557. เอกสารวิชาการ เรื่อง “แนวทางการวางระบบการพัฒนาที่ดินบนพื้นที่สูงเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนในเขตภาคเหนือของประเทศไทย”. สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Babalola, O., S.C. Jimba, O. Maduakolam, and O. A. Dada. 2003. Use of vetiver grass for soil and water conservation in Nigeria. Department of Agronomy, University of Ibadan, Nigeria.

Blake, G.R., and K.H. Hartge. 1986. Bulk density. pp. 363-382. In: A. Klute, ed. Methods of Soil Analysis, Part1: Physical and Mineralogical Properties. Agronomy, No. 9. American Society of Agronomy Inc., Madison, Wisconsin.

Bray, R.A., and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. SoilSci.59: 39-45.

Cassel, D.K., and D.R. Nielsen. 1986. Field capacity and available water capacity. Methods of Soil Analysis, Part 1: Physical and Mineralogical Method. 901-926.

Chapman, H.D. 1965. Cation exchange capacity. pp. 891-901. In: C.A. Black, ed. Method of Soil Analysis, Part 2: Chemical and Microbiological Properties.Agronomy, No.9.American Society of Agronomy Inc., Madison, Wisconsin.

Chomitz, K.M., and K. Kumari. 1998. The domestic benefits of tropical forests: a critical review. World Bank Research Observer. 13: 13-35.

Dahmardeh. M, A. Ghanbari, B. A. Syahsar, and M. Ramrodi. 2010.The role of intercropping maize (Zea mays L.) and Cowpea (Vigna unguiculata L.) on yield and soil chemical properties. African Journal of Agriculture Research. 5(8): 631-636.

Day, D.R. 1965. Particle fraction and particle size analysis, pp. 546-566. In C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis, Part I: Agronomy No. 9. American Society of Agronomy Inc., Madison, Wisconsin, USA.

Jackson, M.L. 1965. Soil Chemical Analysis-Advanced Course. Department of Soils, University of Wisconsin, WI.

Jinlin, M., Y. Hang, R. Yukui, Ch. Guochen, and Zh. Naiyan. 2010. Fatty acid composition of Camellia oleifera oil. Journal of Consumer Protection and Food Safety. 6: 9-12.

Kemper, W.D., and R.C. Rosenau. 1986. Aggregate Stability and Size Distribution, pp. 425-442. In Klute, A.(Ed.), Methods of Soil Analysis, Part I: Physical and Mineralogical Methods, No.9, Agronomy, SSSA, Madison.

Klute, A. 1965. Laboratory measurement of hydraulic conductivity of saturated soils, pp. 210- 220. In: C.A. Black, ed. Methods ofSoil Analysis, Part l. Physical and Mineralogical Properties. Agronomy, No. 9. American Society of Agronomy Inc., Madison, Wisconsin, USA.

Labrière, N., L. Bruno, L. Yves, F. Vincent, and B. Martial. 2015. Soil erosion in the humid tropics: A systematic quantitative review. Agriculture, Ecosystems and Environment. 203: 127-139.

Natural Resources Conservation Service. 1996. Soil Survey Laboratory Method Manual. Soil Survey Investigation. Report No.42, Version 3.0. National Resources Conservation Service, United States Department of Agriculture.

Pansak, W., T. Hilger, B. Lusiana, T. Kongkaew, C. Marohn, and G. Cadisch. 2010. Assessing soil conservation strategies for upland cropping in Northeast Thailand with the WaNuLCAS model. Agricultural Systems. 79: 123–144.

Peter, P.C. 2008. Assessment of Structural Stability in Nkpologu Sandy Clay Loam Soil, M.Sc. Thesis, Department of Soil Science, University of Nigeria, Nsukka.

Pratt, P.F. 1965. Potassium. P.1022-1030. In: C.A. Black (ed.). Methods of Soil Analysis. Part 2. Chemical and Microbiological Properties. Agron. No. 9. American Society of Agronomy Inc., Madison, Wisconsin.

Shrestha, R.P., D. Schmidt-Vogt, and N. Gnanavelrajah. 2010. Relating plant diversity to biomass and soil erosion in a cultivated landscape of the eastern seaboard region of Thailand. Applied Geography. 30: 606–617.

Walkley, A., and C.A. Black. 1 9 3 4. An examination of Degtjareff method for determining soil organic matter and proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science. 37: 29-35.

Zhang, X.A, R.E. Wang and S.H. Wu. 2012. Soil Aggregate Distribution of Soil under Different Soil Management Practices. State Key Laboratory of Forest and Soil Ecology, Institute of Applied of Sciences, Shenyang 110164, China.