การพัฒนาระบบการให้อาหารปลาแบบอัตโนมัติสำหรับการเลี้ยงปลานิล

Main Article Content

ชนาภา เทพเสนา
อาทิตย์ คูณศรีสุข
สมร พรชื่นชูวงศ์

บทคัดย่อ

ในทศวรรษที่ผ่านมาระบบการเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทยนิยมเลี้ยงเชิงการค้าเป็นส่วนใหญ่ ประสิทธิภาพผลผลิตของผู้เพาะเลี้ยงปลาขึ้นอยู่กับการจัดการเกี่ยวกับการให้อาหาร อาทิ ประเภท ความถี่ในการให้อาหาร รวมทั้งวิธีการให้อาหาร ส่วนใหญ่นิยมให้อาหารด้วยแรงงานคน โดยใช้วิธีการให้กินจนอิ่ม อย่างไรก็ตามพบว่า การให้อาหารด้วยคนมักให้อาหารเกินความต้องการของปลา ส่งผลเสียคือทำให้ประสิทธิภาพในการใช้อาหารลดลง มีการสะสมของของเสียในน้ำ อีกทั้งในปัจจุบันมักพบปัญหาขาดแคลนแรงงานคนในภาคการเกษตร ด้วยสาเหตุที่กล่าวมาล้วนทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจสำหรับผู้เพาะเลี้ยงปลา ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงออกแบบและสร้างเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ โดยใช้ Arduino Mega เป็นตัวควบคุม มีการติดตั้งระบบแจ้งเตือนข้อความอัตโนมัติไปยังผู้เลี้ยงและใช้โซลาร์เซลล์ เป็นแหล่งพลังงาน จากนั้นทำการทดสอบเปรียบเทียบวิธีการให้อาหารโดยใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติกับวิธีการให้อาหารโดยใช้แรงงานคน โดยเลี้ยงปลานิลในบ่อดินขนาด (15×50×1.5 m3) ทำการสุ่มปลาทดลองที่มีน้ำหนักเฉลี่ยของปลาทดลองเริ่มต้นหนัก 473.64 + 8.73 กรัมต่อตัว จำนวน 500 ตัว/บ่อ (อัตราการปล่อย 2.25 ตัวต่อตารางเมตร) และให้อาหารเป็นระยะเวลา 4 เดือน (เมษายน-กรกฎาคม 2562) โดยให้อาหารสูตรทางการค้า 3% ต่อน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง คือ เวลา 9:00 น. และ 16:00 น. ทำการสุ่มปลาทุก ๆ เดือน โดยสุ่มจำนวน 50 ตัวต่อบ่อ เพื่อนำไปประเมินสมรรถนะการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารของปลานิล ผลที่ได้พบว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักสุดท้ายอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และประสิทธิภาพการใช้โปรตีน ของปลานิลที่ให้อาหารด้วยเครื่องให้อาหารอัตโนมัติจะมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (CV) ต่ำกว่าการให้ด้วยแรงงานคน แสดงให้เห็นถึงความสม่ำเสมอของน้ำหนักปลาที่เลี้ยงมีขนาดใกล้เคียงกัน ข้อมูลค่า DO, pH และค่าอุณหภูมิของน้ำที่บันทึกได้จากเครื่องให้อาหารอัตโนมัติ มีค่า 5.82 ± 2.63 mg/L, 7.09 ± 0.93 and 27.63 ± 0.89 °C ตามลำดับ โดยค่าคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาทั้งสองบ่อมีค่าใกล้เคียงกัน และเป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลา จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร และเพิ่มความแม่นยำของปริมาณอาหารที่ให้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2560. การตัดสินใจการลงทุน. แหล่งข้อมูล: https://bsid.dip.go.th/th/category/financial-accounting/fs-investmentdections ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561.

กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ. 2560. ความแตกต่างระหว่างเพศและการผสมพันธุ์. แหล่งข้อมูล: http://www.fisheries.go.th/genetic/index.php/2013-11-15-01-35-24/85-2013-11-25-08-28-46/101-2014-02-06-01-52-39?showall=&start=3 ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561.

เกวลิน หนูฤทธิ์. 2563. สถานการณ์การผลิตและการค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ในปี 2563 และแนวโน้มปี 2564. กลุ่มเศรษฐกิจการประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง, กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการค่าจ้าง กระทรวงแรงงาน. 2563. ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10). แหล่งข้อมูล: https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2020/01/Prakadwage10-6Jan2020.pdf ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563.

สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด. 2553. คู่มือการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (จี เอ พี). แหล่งข้อมูล: https://www.fisheries.go.th/sf-satun/images/download/gap.pdf ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561.

Chang, C. M., W. Fang, R. C. Jao, C. Z. Shyu, and I. C. Liao. 2005. Development of an intelligent feeding controller for indoor intensive culturing of eel. Aquacultural Engineering. 32(2): 343-353.

Mattos, B.O., E.C.T.N. Filho, K.A., Barreto, L.G.T., Braga, and R.F., Silva. 2016. Self-feeder systems and infrared sensors to evaluate the daily feeding and locomotor rhythms of Pirarucu (Arapaima gigas) cultivated in outdoor tanks. Aquaculture. 457: 118-123.

Noor, M. Z. H., A. K. Hussian, M. F. Saaid, M. S. A. M. Ali, and M. Zolkapli. 2012. The design and development of automatic fish feeder system using PIC microcontroller. p.343-347. In: 2012 IEEE Control and System Graduate Research Colloquium. July 16–17, 2012, Universiti Teknologi MARA, Shah Alam, Selangor, Malaysia.

Ogunlela, A. O., and A. A. Adebayo. 2016. Development and Performance Evaluation of an Automatic Fish Feeder. Journal of Aquaculture Research and Development. 7(2): 1-4.

Ozigbo, E., C. Anyadike, F. Gbadebo, and R. Okechukwu. 2013. Development of an automatic fish feeder. African Journal of Root and Tuber Crops. 10(1): 27-32.

Premalatha, K., P. Maithili, and J. J. Nandhini. 2017. Smart Automatic Fish Feeder. International Journal of Computer Sciences and Engineering. 5(7): 92-95.

Saturday auto feed. 2561. Saturday auto feed 15 kg. Available: https://www.facebook.com/saturdayautofeed1/ Accessed Apr. 12, 2018.

Shaari, M. F., M. E. I. Zulkefly, M. S. Wahab, and F. Esa. 2011. Aerial fish feeding system. p.2135-2140. In: International Conference on Mechatronics and Automation. August 7-10, 2011, Beijing, China.

Stone, N. M., and H. K., Thomforde. 2004. Understanding your Fish Pond Water Analysis Report. University of Arkansas Cooperative Extension Service Printing Services, Little Rock, AR, USA.

Texas hunter products. 2018. Texas Hunter Products Directional Fish Feeder w/Adjustable Legs - 70 lb. Available: https://www.texashunterproducts.com/fish-feeders/ Accessed Apr. 12, 2018.

Wei, H. C., S. M. Salleh, A. M. Ezree, I. Zaman, M. H. Hatta, B. A. Zain, S. Mahzan, M. N. A. Rahman, and W. A. W. Mahmud. 2017. Improvement of automatic fish feeder machine design. p.1-7 In: International Conference on Material Physics and Mechanics 2017. July 22-23, 2017, Universiti Tun Hussein Onn Malaysia, Langkawi, Malaysia.

Zulkefly, M. E. I. 2010. Development of PLC Controlled Aerial Fish Feeding System. Doctoral dissertation. Universiti Tun Hussein Onn Malaysia, Langkawi, Malaysia.