รา Arthrobotrys oliogospora BCC 3847 และ A. javanica BCC 7879 ชีวภัณฑ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ในพริก

Main Article Content

เกวรินทร์ กล่ำเชาว์
รัศมี หวะสุวรรณ
เชษฐ์ธิดา ศรีสุขสาม
ลูกหว้า ชาวไร่นาค
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด
อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน

บทคัดย่อ

ไส้เดือนฝอยรากปมจัดเป็นศัตรูสำคัญของการปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิดรวมถึงพริกและก่อความเสียหายรุนแรงต่อผลผลิต ที่ผ่านมาการจัดการอาศัยการปลูกปอเทืองหรือพืชหมุนเวียนอื่น ๆ เพื่อลดการแพร่ระบาด แนวทางการควบคุมแบบชีววิธีด้วยจุลินทรีย์เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการจัดการศัตรูพืชเพื่อรองรับตลาดเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยที่จะมีสัดส่วนมากขึ้นในอนาคต งานวิจัยนี้ จึงทดสอบการใช้ราปฏิปักษ์ต่อไส้เดือนฝอยแบบจำเพาะสองสายพันธุ์ คือ ราอาร์โทโบทริส Arthrobotrys oligospora BCC 3847 และ A. javanica BCC 7879 จากการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบเชิงประกอบและแบบอิเลคตรอนส่องกราด ราอาร์โทโบทริสทั้งสองสายพันธุ์สร้างโครงสร้างหลากหลายชนิดเพื่อดักจับไส้เดือนฝอยรากปม ได้แก่ ร่างแหกับดัก (adhesive net) ตุ่มกาวเหนียว (adhesive knob) วงแหวนดักจับ (constricting ring) และห่วงดักจับ (adhesive loop) ซึ่งประกอบด้วยวงซ้อนสลับกัน 3-4 ชั้นในรูปแบบของเงื่อนปม โครงสร้างดักจับของ A. oligospora และ A. javanica ก่อให้เกิดการตายของไส้เดือนฝอยรากปมที่ 34 และ 17% ที่ 7 วันหลังการถ่ายเชื้อ เมื่อตรวจสอบความมีชีวิตรอดของเส้นใยในดิน พบรา A. oligospora และ A. javanica ที่ 1,395 และ 92.5 CFU/g ตามลำดับ ภายใน 15-30 วันหลังถ่ายเชื้อลงดิน ผลทดสอบในโรงเรือนบ่งชี้ว่า  การใส่ราอาร์โทโบทริสทั้งสองสายพันธุ์ก่อนปลูกเชื้อไส้เดือนฝอย 15 วัน สามารถลดความรุนแรงของการเกิดโรครากปมได้ 63-66% เทียบกับชุดควบคุม การใช้ราอาร์โทโบทริสโดยเฉพาะ A. oligospora BCC 3847 สามารถใช้เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและลดการเกิดรากปมในพริกได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ไตรเดช ข่ายทอง, ธิติยา สารพัฒน์, มนตรี เอี่ยมวิมังสา และเสงี่ยม แจ่มจํารูญ. 2554. ประสิทธิภาพของสาร abamectin ในการควบคมไส้เดือนฝอยรากปมในมันฝรั่ง. สำนักวิจัยอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=1108. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564.

ไตรเดช ข่ายทอง และมนตรี เอี่ยมวิมังสา. 2554. การใช้ปอเทืองควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมันฝรั่ง. รายงานผลวิจัยประจำปี 2554 สำนักวิจัยอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=307 ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564

สุรีย์พร บัวอาจ, บุษราคัม อุดมศักดิ์, นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และวีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์. 2557. ประสิทธิภาพของก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi Speg. ต่อไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita Chitwood) ในพริก.วารสารวิชาการเกษตร. 32: 393-398.

มยุรฉัตร ทัดเทียม. 2554. การผลิตมวลชีวภาพของเชื้อรา Pochonia chlamydosporia var. catenulate และประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ในมะเขือเทศ. วารสารวิจัย มข. 16 (4): 348-358.

ยุวดี ชูประภาวรรณ และ สุภาวดี แก้วระหัน. 2557. รายงานการประเมินชีวภัณฑ์เชื้อรา Pochonia chlamydosporia YT008 ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม. แก่นเกษตร. 42(3): 661-667

สุมาลี เม่นสิน. 2550. การคัดเลือกและผลิตเชื้อราปฏิปักษ์ (Arthtobotrys sp.) เพื่อควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในผักกาดหอมห่อ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Agrios G. N. 1997. Plant Pathology. San Diego: Academic Press.

Dackman, C., and B. Nordbring-Hertz. 1992. Conidial trap – a new survival structure of the nematode-trapping fungus Arthrobotrys oligospora. Mycological Research. 96: 194-198.

Jansson, H. B, and L. V. Lopez-Llorca. 2001. Biology of nematophagous fungi. P. 145-173. In: Misra JK & Horn BW (eds). Mycology: Trichomycetes, Other Fungal Groups and Mushrooms. Enfield: Science Publishers.

Kerry, B.R. 2000. Rhizosphere interactions and the exploitation of microbial agents for the biological control of plant-parasitic nematodes. Annual Review of Phytopathology. 38: 423-454.

Kiewnick, S., and R. A. Sikora. 2003. Efficacy of Paecilomyces lilacinus (strain 251) for the control of root-knot nematodes. Communications in Agricultural and Applied Biological Sciences. 68: 123-128.

Liu, X., M. Xiang, and Y. Che. 2009. The living strategy of nematophagous fungi. Mycosscience 50: 20-25.

Nansen, P. 1993. Current and future prospects for control of ostertagiasis in northern Europe-examples from Denmark. Vet Parasitol. 46: 3-21.

Nordbring-Hertz, B., H. B. Jansson, and E. Friman. 1995. Nematophagous Fungi. Film No C1851 Göttinggen, Germany: Institutfür den Wissenschaftlichen Film.

Nordbring-Hertz, B., H.B. Jansson, and A. Tunlid. 2006. Nematophagous fungi. In: Encyclopedia of Life Sciences. John Wiley, USA.

Nordmeyer, D. 1992. The search for novel nematicidal compounds. P. 281–293. In: F.J. Gommers and W. Th. Maas (eds) Nematology from molecules to ecosystem. European Society of Nematologists, Inc. Invergowrie, Dundee, Scotland.

Sasser, J. N. 1980. Root knot nematodes: A global menace to crop production. Plant Disease. 64: 36-41.

Skidmore, A. M., and C. M. Dickinson. 1976. Colony interactions and hyphal interference between sepatoria nodorum and phylloplane fungi. Transactions of the British Mycological Society. 66: 57-64.

Su, H., Y. Zhou, J. Zhou, H. Feng, D. Jiang, K. Q. Zhang, and J. Yang. 2017. Trapping devices of nematode- trapping fungi: Formation, evolution, and genomic perspectives. Biology Reviews. 92: 357-368.

Hays, Z., and D. Watson. 2019. Fungal Ecology, Diversity and Metabolites. ED-TECH Press, UK.

Zopf, W. 1888. Zur Kenntnis der Infektions-Krankheiten neiderer Thiere. Nova Acta Leop Acad Naturf Halle 52: 7.