การเกิดโรคและการแพร่กระจายในแปลงที่สำรวจของโรคยอดเหลือง/ไหม้จากปลายยอดของมะละกอ (Papaya carica L.) ที่มีสาเหตุจากเชื้อ Candidatus Phytoplasma solani

Main Article Content

ศิริพร ดอนเหนือ
บุณยาพร ภาคภูมิ
สุภัสสร บุญหล้า

บทคัดย่อ

เชื้อไฟโตพลาสมาที่เป็นสาเหตุโรคยอดเหลือง/ไหม้จากปลายยอดของมะละกอในประเทศไทยระบุได้เป็นเชื้อ Candidatus Phytoplasma solani มีลำดับนิวคลีโอไทด์ยีน 16SrRNA เหมือนกับเชื้อ Ca. Phytoplasma solani ที่ใช้เป็นเชื้อเปรียบเทียบอ้างอิง (GenBank accession: AF248959) 99.5%  จากผลการวิเคราะห์ In silico RFLP พบว่าเชื้อไฟโตพลาสมาจัดอยู่ในกลุ่มย่อย 16SrXII-A เมื่อตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ AluI TaqI BstUI และ BfaI พบลายพิมพ์ดีเอ็นเอแตกต่างจากกลุ่มย่อยอื่น สอดคล้องกับการจัดกลุ่มเชื้อโดยการวิเคราะห์ phylogenetic tree ของลำดับนิวคลีโอไทด์ยีนบริเวณ 16S-23S rRNA และยีน secY ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับเชื้อ Ca. Phytoplasma solani สำรวจในมะละกอ อายุประมาณ 1 ปี จำนวน 2 แปลง ใน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ย. พ.ศ. 2563 ทั้งสองแปลงพบดัชนีการเกิดโรคและอัตราการตายภายในแปลงเดียวกันมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) เมื่อวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยวิธี Tukey’s Honestly Significant Different (HSD) โดยค่าดัชนีการเกิดโรค เดือน เม.ย. ถึง ก.ย. พ.ศ. 2563 แปลงที่ 1 คือ 27.64, 30.65, 31.16, 38.57, 41.46 และ 48.74 ตามลำดับ แปลงที่ 2 คือ 13.23, 14.29, 15.21, 18.52, 19.58 และ 23.81 ตามลำดับ อัตราการตาย แปลงที่ 1 คือ 2.51, 5.53, 26.13, 29.15, 30.15 และ 31.16 ตามลำดับ แปลงที่ 2 คือ 0.00, 1.59, 12.70, 14.82, 14.82 และ 17.99 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ศิริพร ดอนเหนือ บุณยาพร ภาคภูมิ และ เกรียงศักดิ์ ไทยพงษ์. 2564. Candidatus phytoplasma solani สาเหตุโรคของมะละกอที่เกิดจากไฟโตพลาสมาในประเทศไทย. แก่นเกษตร. 49(5): 1249-1258.

สุภาพร กลิ่นคง. 2552. ไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพืช. โรงพิมพ์บริษัทศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง จำกัด, นนทบุรี.

Bau, H. J., S. C. Hung , W. C. Chang, and Y. K. Chen. 2011. First report of group 16SrXII phytoplasma associated with papaya yellows in Taiwan. Plant Disease. 95: 1581.

Christensen, N.M., H. Nyskjold, and M. Nicolaisen. 2013. Real-time PCR for universal phytoplasma detection and quanti fication. P. 245-252. In: M. Dickinson and J. Hodgetts . Phytoplasma: Methods and Protocols. Humana Press, London.

Fialova, R., P. Valova, G. Balakishiyeva, J. L. Danet, D. Safarova, X. Foissac, and M. Navratil. 2009. Genetic variability of stolbur phytoplasma in annual crop and wild plant species in South Moravia (Czech Republic). Journal of Plant Pathology. 91: 411-416.

Gibb, K. S., B. Schneider, and A.C. Padovan. 1998. Differential detection and genetic relatedness of phytoplasmas in papaya. Plant Pathology. 47: 325-332.

Lee, I.-M., K.D. Bottner-Parker, Y. Zhao, R. E. Davisand and N.A. Harrison. 2010. Phylogenetic analysis and delineation of phytoplasmas based on secY gene sequences. International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology. 60: 2887-2897.

McMaugh, T. 2005. Guidelines for surveillance for plant pests in Asia and the Pacific. ACIAR Monograph No.119, ACIAR, Canberra.

Melo, L., E. Silva, D. Flôres, J. Ventura. H. Costa, and I. Bedendo. 2013. A phytoplasma representative of a new subgroup, 16SrXIII-E, associated with Papaya apical curl necrosis. European Journal of Plant Pathology. 137: 445–450.

Sambrook, J., E. F. Fritsch, and T. Maniatis. 1989. Molecular Cloning: a Laboratory Manual. 2nd Edition. Cold Spring Harbor Laboratory Press, New York.

White, D.T., L.L. Blackall, P.Y. Scott, and K.B. Walsh. 1998. Phylogenetic positions of phytoplasmas associated with dieback, yellow crinkle and mosaic diseases of papaya, and their proposed inclusion in ' Candidatus Phytoplasma australiense ' and a new taxon, ' Candidatus Phytoplasma australasia’. International Journal of Systematic Bacteriology. 48: 941-951.

Zhao, Y., W. Wei, I. Lee, J. Shao, X. Suo, and R. E. Davis. 2009. Construction of an interactive online phytoplasma classification tool, iPhyClassifier, and its application in analysis of the peach X-disease phytoplasma group (16SrIII). International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology. 59: 2582–2593.