การสูญหายของพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน

Main Article Content

สายบัว เข็มเพ็ชร
ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและแผนที่ระดับตำบลเพื่อวิเคราะห์พลวัตและการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดน่านในช่วงปี พ.ศ. 2530 – 2561 เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์และหาแนวทางการบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยอาศัยข้อมูลจากโครงการรักษ์ป่าน่าน และข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat ระบบ TM (Thematic Mapper) ร่วมกับการวิเคราะห์ดัชนีพืชพรรณ (Normalize Difference Vegetation Index: NDVI) และการวิเคราะห์ด้วยสายตา (Visual Analysis) ในส่วนของการประเมินการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้นั้นอาศัยข้อมูลเชิงตัวเลขของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ ร่วมกับการวิเคราะห์สมการเชิงเส้น และแสดงเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้รายตำบล ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ช่วงปี พ.ศ. 2530 –  2548 พบว่าจังหวัดน่านมีพื้นที่ป่าไม้ลดลงเฉลี่ยปีละ 20,300 ไร่ และในช่วงปี พ.ศ. 2548 – 2554 มีการลดลงเฉลี่ยปีละ 48,600 ไร่ ในช่วงปี พ.ศ. 2555 – 2558 พบว่าพื้นที่ป่าไม้ยังคงมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากนั้นในปี พ.ศ. 2558 – 2561 พื้นที่ป่าไม้ค่อนข้างคงที่อยู่ในช่วง 4.56 – 4.65 ล้านไร่ เมื่อทำการวิเคราะห์การลดลงของพื้นที่ป่าไม้รายอำเภอในช่วงปี พ.ศ. 2507 – 2554 พบว่าอำเภอเวียงสามีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดประมาณ 283,681ไร่  ในส่วนผลการวิเคราะห์พื้นที่ป่าไม้ในระดับตำบลพบว่าตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดประมาณ 78,871 ไร่ โดยภาพรวมแล้วจังหวัดน่านสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในช่วงปี พ.ศ. 2507 – 2561 ประมาณ 1.2 ล้านไร่

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. 2558. การแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ของชาติ. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

เยาวเรศ เชาวนพูนผล และวีระศักดิ์ สมยานะ. 2561. การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระบบพันธสัญญาระหว่าง สปป. ลาว กับประเทศไทย: ผลตอบแทนและประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ. แก่นเกษตร. 46: 1083 – 1094.

รักษ์ป่าน่าน. 2557. เอกสารประกอบการสัมมนา “รักษ์ป่าน่าน” ครั้งที่ 1 (บัณฑูร ล่ำซำ). แหล่งข้อมูล: https://www.rakpanan.org/seminar/Documents/slide1.pdf. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562.

รักษ์ป่าน่าน. 2562. แผนที่ป่าไม้. แหล่งข้อมูล: https://www.rakpanan.org/map/Pages/Map.asp. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมป่าไม้. 2562. สถิติป่าไม้. แหล่งข้อมูล: http://forestinfo.forest.go.th/
Content.aspx?id=9. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562.

สง่า ลือชาพัฒนพร. 2558. ป่าเมืองน่าน: ภาพสะท้อนจากความทรงจำ พระครูพิทักษ์นันทคุณ. มูลนิธิฮักเมืองน่าน.

สำนักงานจังหวัดน่าน. 2563. ลักษณะภูมิประเทศ. แหล่งข้อมูล: http://www.nan.go.th/webjo/index.php?option
=com_content&view=article&id=2&Itemid=23. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2563.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. ข้าวโพด: ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความชื้น 14.5% รายเดือนที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา ทั้งประเทศ ปี 2540 – 2563. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/price/monthly_price/maiza.pdf. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562.

สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และเขมรัฐ เถลิงศรี. 2558. การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน. หน้า 7 – 13. ใน สมพร
อิศวิลานนท์ และปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ (บก.). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก. เอกสารเผยแพร่สำนักประสานงานชุดโครงการ งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยเชิงนโยบาย สถาบันคลังสมองของชาติร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.

สุจริต คูณธนกุลวงศ์, ชัยยุทธ สุขศรี, ทวนทัน กิจไพศาลกุล, ไพศาล สันติธรรมนนท์, อักษรา พฤทธิวิทยา, ปิยธิดา ห้อยสังวาล, Ashim, D. G., Seiko, N., โชคชัย สุทธิธรรมจิต, ศักย์ สกุลไทย, วินัย เชาวน์วิวัฒน์, ขวัญชัย แพโคกสูง, มาดา เอี่ยมศุภนิมิต, เปี่ยมจันทร์ ดวงมณี, กมล กอกหวาน, อรุณ บุรีรักษ์ และอรชร กำเนิด. 2555. การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการน้ำของลุ่มน้ำน่านเชิงกลยุทธ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อารีย์ วิบูลพงศ์, เยาวเรศ เชาวนพูนผล, Teangmeng Yangluexay, ศรัญ อารยะรังสฤษฎ์, วีระศักดิ์ สมยานะ, Sayngasack Sengaloun, กาญจนา สุระ, นพดล สายวงค์, พนินท์ เครือไทย, Sthabandith Insisienmay, อริยา เผ่าเครื่อง, สุภาภรณ์ พวงชมพู, Amphaphone Sayasenh, เพียรศักดิ์ ภักดี, สุภาวดี ขุนทองจันทร์, Thanongsai Soukkhamthad, ฉัตรฤดี ศิริลำดวน, ประกาศิต ฮงทอง, กาญจนา โชคถาวร, Vanthana Nolintha, ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์, กฤษฎา แก่นมณี และ Khammerng Bannalath. 2556. การผลิตข้ามแดน (Trans – boundary Production): กรณีไทย – ลาว. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Afirah T., S. Sakinah, S. Ahmad, and A. Ahmad. 2016. Classification of Landsat 8 satellite data using NDVI thresholds. Journal of Telecommunication, Electronic and Computer Engineering. 8: 37-40.

Chintan, P.D., J. Rahul, and S. S. Srivastava. 2015. A survey on geometric correction of satellite imagery. International Journal of Computer Applications. 116: 24-27.

Kliegr, T., K. Chandramoul, J. Nemrava, V. Svatek, and E. Izquierdo. 2008. Combining image captions and visual analysis for image concept classification, pp. 8-17. In Proceedings of the 9th International Workshop on Multimedia Data Mining: held in conjunction with the ACM SIGKDD. 24-27 August 2008. Las Vegas, Nevada, USA.

Nan Sandbox. 2020. What is Nan sandbox? Available: https://www.nansandbox.com/about. Accessed April. 13, 2020.