การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมความต้านทานโรคไวรัสใบหงิกเหลืองพริกในพริกเผ็ด

Main Article Content

มณียา ตันเปาว์
เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล
ธัญญารัตน์ ตาอินต๊ะ
สุชีลา เตชะวงค์เสถียร

บทคัดย่อ

ข้อมูลความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมต้านทานต่อโรคไวรัสใบหงิกเหลืองพริก (Pepper yellow leaf curl virus, PepYLCV) มีความสำคัญต่อการพัฒนาพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคนี้ การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมความต้านทานต่อเชื้อ PepYLCV ในประชากรพริก 2 คู่ผสม (101/203 และ 103/203) ที่มาจากแหล่งความต้านทานแตกต่างกัน คือ Tiwari (101) และ PSP-11 (102) ผสมกับพันธุ์พริกที่มีลักษณะที่ดีทางการเกษตรแต่อ่อนแอต่อ PepYLCV (YTP18; 203) โดยสร้างประชากร 6 ประชากร ได้แก่ P1, P2, F1, F2, BC1P1 และ BC1P2 ปลูกทดสอบ 2 ฤดู ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ในคู่ผสม 101/203 พบอิทธิพลของยีนที่ควบคุมความต้านทานเป็นแบบบวกสะสม x แบบข่ม มี h2n ต่ำทั้ง 2 ฤดู และควบคุมด้วยยีนหลายคู่ อิทธิพลของยีนควบคุมผลผลิตเป็นแบบ บวกสะสม x บวกสะสม มี h2n ต่ำทั้ง 2 ฤดู และอิทธิพลของยีนควบคุมลักษณะปริมาณสารแคปไซซินอยด์เป็นแบบข่ม x แบบข่ม ในฤดูแล้ง มี h2n สูงในฤดูแล้ง ส่วนในพริกคู่ผสม 103/203 พบอิทธิพลของยีนต้านทานเป็นแบบบวกสะสม x บวกสะสม และมี h2n ต่ำทั้ง 2 ฤดู และควบคุมด้วยยีนหลักที่เป็นยีนเด่น 1 คู่ อิทธิพลของยีนผลผลิตเป็นแบบข่ม x แบบข่ม มี h2n  สูงทั้ง 2 ฤดู และอิทธิพลควบคุมลักษณะสารแคปไซซินอยด์เป็นแบบข่ม x แบบข่ม ในฤดูแล้ง และมี h2n สูงในฤดูฝน เนื่องจากลักษณะผลผลิตและสารแคปไซซินอยด์ควบคุมด้วยยีนหลายคู่ ดังนั้นในการพัฒนาพันธุ์พริกให้ต้านทานต่อ PepYLCV และมีลักษณะทางการเกษตรที่ดีจึงควรใช้วิธีคัดเลือกแบบบันทึกประวัติ และผสมกลับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ญาณิศา แสงสอดแก้ว. 2561. สมรรถนะการรวมตัวของพริกเผ็ด (Capsicum annuum L.) ต้านทานต่อโรคไวรัสใบหงิกเหลืองพริก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

นครินทร์ จี้อาทิตย์ ธัญญารัตน์ ตาอินต๊ะ ญาณิศา แสงสอดแก้ว พัชราภรณ์ สุวอ Sanjeet Kumar, Wen-Shi Tsai และสุชีลา เตชะวงค์เสถียร. 2016. การประเมินความต้านทานโรคใบหงิกเหลืองของพริก (Capsicum spp.). วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3: 26-31.

วิภาลัย พุตจันทึก. 2555. ผลของชนิดพืชอาหารต่อชีววิทยาของแมลงหวี่ขาวยาสูบ Bemisia tabaci และประสิทธิภาพของด้วงเต่าตัวห้ำ Serangium sp. และแตนเบียน Encarsia sophia. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ รักชัย คุรุบรรเจิดจิต ศัลยมล นิเทศพัฒนพงษ์ และอำไพ ประเสริฐสุข. 2558. การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก. รายงานชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพริก. กรมวิชาการเกษตร.

สุชีลา เตชะวงค์เสถียร. 2557. พริก: นวัตกรรมจากทฤษฎีการปรับปรุงพันธุ์พืชสู่การใช้ประโยชน์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. ขอนแก่น.

สิทธิวุฒ เมธาสิริปกรณ์ สมพงศ์ จันทร์แก้ว เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล และ จิรวัฒน์ สนิทชน. 2560. การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยระหว่างชั่วของลักษณะความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งในข้าวพื้นเมืองพันธุ์ผาลาดำ. แก่นเกษตร. 45: 7-14.

Chomdej, O., U. Pongpayaklers, and J. Chunwongse. 2012. Resistance to tomato yellow leaf curl virus- Thailand isolate (TYLCTHV-[2]) and markers loci association in BC 2 F 1 population from a cross between Seedathip 3 and a wild tomato, Solanum habrochaites' L06112'clone no. 1. Songklanakarin Journal of Science & Technology. 34: 31-36.

Collins, M., and K. J. Moore. 1995. Postharvest processing of forages. The Science of Grassland Agriculture. 2: 147–161.

Ganefianti, D. W., S. Sujiprihati, S. H. Hidayat, and D. M. Syuku. 2008. Infection methods and resistance of pepper genotypes to Begomovirus. Journal Akta Agrosia. 2: 162-169.

Ganefianti, D. W., S. H. Hidayat, and M. Syukur. 2015. Genetic study of resistance to Begomovirus on Chili pepper by Hayman's diallel analysis. International Journal on Advanced Science, Engineering and Information Technology. 5: 426-432.

Jindal, S.K., M. S. Dhaliwal, A. Sharma, and H. Thakur. 2018. Inheritance studies for resistance to leaf curlvirus disease in chilli (Capsicum annuum L.). Agricultural Research Journal. 55: 757-760.

Kumar, S., R. Kumar, S. Kumar, M. Singh, A. B. Rai, and M. Rai. 2009. Reaction of pepper leaf curl virus field resistance of chilli (Capsicum annuum L.) genotypes under challenged condition. Vegetable Science. 36: 230-232.

Mather, K., and J. L. Jinks. 1971. Components of means: additive and dominance effects. In Biometrical Genetics (pp. 65-82). Springer, Boston, MA.

Mather, B. S. K., and J. L. Jinks. 1982. Biometrical genetics. Ed ke-3. New York: Chapman and Hall. 396 hal.

Murthy, H. M. K., and A. A. Deshpande. 1997. Genetics of yield attributes in chilli (Capsicum annuum L.). Vegetable Science. 24: 118-122.

Nyquist, W. E., and R. J. Baker. 1991. Estimation of heritability and prediction of selection response in plant populations. Critical reviews in plant sciences. 10: 235-322.

Prakash, S., and S. J. Singh. 2006. Insect transmitted virus of pepper: Vegetation Science. 33: 109-116.

Rai, V. P., R. Kumar, S. P. Singh, S. Kumar, M. Singh, and M. Rai. 2014. Monogenic recessive resistance to Pepper leaf curl virus in an interspecific cross of Capsicum. Scientia Horticulturae. 172: 34-38.

Rubinstein, G., and H. Czosnek. 1997. Long-term association of tomato yellow leaf curl virus with its whitefly vector Bemisia tabaci: effect on the insect transmission capacity, longevity and fecundity. Journal of General Virology. 78: 2683-2689.

Singh, R. K., N. Rai, M. Singh, S. Saha, and S. N. Singh. 2015. Detection of tomato leaf curl virus resistance and inheritance in tomato (Solanum lycopersicum L.). The Journal of Agricultural Science. 153: 78.

Tempeetikul, V., S. Techawongstien., K. Lertrat, and S. Techawongstien. 2013. Inheritance of pungency in Thai hot pepper (Capsicum annuum L.). SABRAO Journal of Breeding & Genetics. 45: 248-254.

Zewdie, Y., and P.W. Bosland. 2000. Capsaiciniods inheritance in an interspecific hybridization of Capsicum annuum x Capsicum. chinense, Journal American Society Science. 125: 448-453.