ผลของการแช่น้ำร้อนต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์และการควบคุมโรคถอดฝักดาบในข้าวบางพันธุ์

Main Article Content

อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช
ประภาพรรณ ธวัชชัย
จุฑามาศ ร่มแก้ว
ชัยสิทธิ์ ทองจู
สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์

บทคัดย่อ

โรคถอดฝักดาบจากเชื้อรา Fusarium moniliforme เป็นโรคข้าวที่สามารถติดต่อผ่านทางเมล็ดพันธุ์และเป็นปัญหาสำคัญในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการแช่น้ำร้อนต่อความงอกและการควบคุมเชื้อรา            F. moniliforme สาเหตุโรคถอดฝักดาบในข้าวบางพันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 การทดลองได้แก่ การทดลองที่ 1 ผลของการแช่น้ำร้อนที่อุณหภูมิและระยะเวลาที่แตกต่างกันต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว 12 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ factorial in completely randomized design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัย A คือ อุณหภูมิ 58, 60, 62 และ 64 ˚C ปัจจัย B คือ ระยะเวลาในการแช่เมล็ดในน้ำร้อน ได้แก่ 5, 10 และ 15 นาที พบว่าการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวในน้ำร้อนที่อุณหภูมิและระยะเวลาเพิ่มขึ้นไม่มีผลทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว กข6 กข49 กข57 ขาวดอกมะลิ 105 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 และสุพรรณบุรี 1 ลดลงโดยมีความงอกสูงกว่า 80% แต่มีผลทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว กข41 กข47 ชัยนาท 1 และสุพรรณบุรี 60 ลดลง การทดลองที่ 2 ผลของการแช่น้ำร้อนที่อุณหภูมิและระยะเวลาแตกต่างกันที่มีต่อการควบคุมเชื้อรา F. moniliforme วางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัย A คือ อุณหภูมิ 58, 60, 62 และ 64 ˚C ปัจจัย B คือ ระยะเวลาในการแช่เมล็ดในน้ำร้อน ได้แก่ 5 และ 10 นาที พบว่าการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60˚C เป็นเวลา 10 นาที สามารถควบคุมการเกิดเชื้อรา F. moniliforme ได้ 76% เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีการแช่น้ำร้อน และยังคงมีความงอกมากกว่า 80%

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ชูศักดิ์ จอมพุก. 2552. สถิติ: การวางแผนการทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย “R”. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชนสิริน กลิ่นมณี เสาวนีย์ ศรีบัว และ อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ. 2556. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการระบาดของโรคข้าว ในนาชลประทานที่ปลูกต่อเนื่องในจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช. น. 235-250. ใน: รายงานการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 30. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว. กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

แซมซูร รอฮอมาน สุชาดา เวียรศิลป์ และ สมบัติ ศรีชูวงศ์. 2544. ผลของการใช้น้ำร้อนต่อเชื้อรา Macrophomina phaseolina และอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว. วารสารเกษตร. 18: 40-45.

ประภาส วีระแพทย์. 2560. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 3. แหล่งที่มา : http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=3&chap=1&page=t3-1-infodetail10.html. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560.

ประภัสสร สีลารักษ์ และ เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล. 2559. การถ่ายทอดทางเมล็ดพันธุ์ของเชื้อราฟิวซาเรียมสาเหตุโรคถอดฝักดาบของข้าวและศักยภาพของเชื้อ Streptomyces – PR 15 และ Streptomyces – PR 87 ในการควบคุมโรคจากเชื้อราฟิวซาเรียมของพืชเศรษฐกิจ. แก่นเกษตร. 44(พิเศษ 1): 239 – 245.

มุกดา ฐิตะสุต และ นิ่มนวล โอกูม่า. 2527. สารชีวโมเลกุล. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ.

รัติยา พงศ์พิสุทธา ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล และ รณภพ บรรเจิดเชิดชู. 2557. เชื้อราบนเมล็ดพันธุ์. บริษัทแดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่นจำกัด, กรุงเทพฯ.

รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์. 2548. โรคถอดฝักดาบของข้าว. น. 2. ใน: ข่าวอารักขาพืช. วันที่ 4 มิถุนายน 2548. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์ ปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม วิชชุดา รัตนากาญจน์ และ วันพร เข็มมุกด์. 2554. ประสิทธิภาพของผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคถอดฝักดาบของข้างในแปลง. น. 282-289. ใน: รายงานการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 30. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว. กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. สถิติการเกษตรของประเทศไทย พืชอาหาร: ข้าว. แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/oae_report/stat_agri/report_result_content.php. ค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2560.

สมพจน์ โรจนสถิต. 2504. การทดลองใช้น้ำร้อนฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดข้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สายชล โนชัย และ สมบัติ ศรีชูวงศ์. 2550. ประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ที่แยกได้จากเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในการควบคุมโรคถอดฝักดาบในต้นกล้าข้าว. วารสารเกษตร. 23: 59-66.

ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี. 2560. มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว ของสำนักวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว กรมการข้าว. แหล่งที่มา: http://spr.brrd.in.th/web/index.php/2009-10-05-15-12-45. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2560.

Agarwal, V.K., and J. B. Sinclair. 1996. Principles of Seed Pathology. 2ed. CRC Press, Inc., USA.

Grondeau, C., and R. Samson. 1994. A review of thermotherapy to free plant materials from pathogens, especially seeds from bacteria. Critical Reviews in Plant Sciences. 13: 57-75.

Halmer, P. 2006. Thermotherapy. pp. 700. In: M. Black, J.D. Bewley, and P. Halmer. The Encyclopedia of Seeds., Sciense, Tecnology and Uses. Cromwell Press, UK.

Hayasaka, T., K. Ishiguro, K. Shibutani, and T. Namai. 2001. Seed disinfection using hot water immersion to control several seed – borne disease of rice plants. Japanese Journal of Phytopathology. 67: 26–32

Heaton, J. B., and J. R. Morschel. 1965. A foot root disease of rice variety Bluebonnet, in Nothhernterritory Australia, caused by F. moniliforme Sheldon. Tropical Science. 7: 116-121.

ISTA. 2016. International Rules for Seed testing. Seed Science and Technology. Zurich, Switzerland.

Ito, S., and J. Kimura. 1931. Studies on the Bakanae disease of the rice plant. Agricultural Experiment Station. 27: 1-95.

Kazuyo, H., T. Kidokoro, and J. Oyama. 1991. Hot – water treatment of rice seeds to control Bakanae disease. Annual Report of The Society of Plant Protection of North Japan. 50: 40- 42.

Kottapalli, B., and C.E. Wolf-Hall. 2008. Effect of hot water treatments on the safety and quality of Fusarium-infected malting barley. International Journal of Food Microbiology. 124: 171-178.

Mew. T.W., and P. Gonzales. 2002. A handbook of rice seedborne fungi. International rice research institute
(IRRI), Philippines.

Ou, S.H. 1985. Rice Disease. 2nd edition. Commonwealth Mycological Institute, Kew, England.

Pavgi, M. S., and J. L. Singh. 1964. Bakanae and foot of rice in Uttar Pardesh, India. Plant Disease Reporter. 48: 340-342.

Rosales, A.M., and T.W. Mew. 1997. Suppression of Fusarium moniliforme in rice by rice – associated antagonistic bacteria. Plant Disease. 81: 49-52.

Rosales, A.M., F.L. Nuque, and T.W. Mew. 1986. Biological control of Bakanae disease of rice with antagonistic bacteria. Philippine Phytopath. 22: 29-35.

Yamashita, T., N. Sakai, N. Eguchi, R. Akanuma, and Y. Saito. 2000. Control of seed-borne diseases of rice plants by hot water treatment of rice seeds 2- Effect of hot water treatment on germination of rice plants. Annual Report of the Kanto-Tosan Plant Protection Society. 47: 13-16.