การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของโครงการระบบส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลแบบแปลงใหญ่ในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

อติญา วงศ์วิทย์วิโชติ
กุลภา กุลดิลก
เดชรัต สุขกำเนิด

บทคัดย่อ

การจัดทำโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ปลานิลขึ้น เพื่อพัฒนาแหล่งผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ยังขาดการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ปลานิล โดยใช้แบบสอบถามเกษตรกรที่เข้าโครงการ จำนวน 90 ฟาร์ม และไม่เข้าโครงการจำนวน 30 ฟาร์ม ในจังหวัดชลบุรี ผลการศึกษา การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ ประกอบด้วยต้นทุนที่กรมประมงสนับสนุนและการสูญเสียรายได้จากงานประจำของเกษตรกร เทียบกับผลประโยชน์ด้านต้นทุนการผลิตที่ลดลง เช่น ค่าอาหาร ค่าลูกพันธุ์ โดยกำหนดอายุโครงการ 5 ปี อัตราคิดลดร้อยละ 5 พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 13.13 ล้านบาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 5.48 และอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับ ร้อยละ 94 และค่าวิเคราะห์ความอ่อนไหว ยังพบว่า โครงการนี้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน ดังนั้นภาครัฐควรสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรควรรวมกลุ่มเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตและจำหน่ายผลผลิต เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง รวมทั้งส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลภายใต้มาตรฐาน GAP และมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กมลทิพย์ อาระวิล. 2558. การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของงานวิจัยและพัฒนาการแก้ปัญหาโรคในขาวอ้อย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรมประมง. 2560. คู่มือการปฏิบัติงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ปลานิล ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรอย่างเป็นระบบ. แหล่งข้อมูล: http://www.inlandfisheries.go.th/images. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2560.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. 2559. คู่มือโครงการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (Online). แหล่งข้อมูล: http://site2015.doae.go.th/2016/wp-content/uploads/2017, ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561.

กฤษณพันธ์ โกเมนไปรรินทร์ และสมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล. 2551. ต้นทุนและผลตอบแทนการเพาะเลี้ยงปลานิลในกระชังในแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. น.197-208. ใน: ประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2551. กรุงเทพฯ.

นุชนาถ มั่งคั่ง และคณะ. 2556. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สา ประเทศไทย. รายงานเสนอสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ปรีชา พาชื่นใจ, ธัญญะ ฉุยโรจน์ธรรมและสหัส ปาณะศรี. 2556. การประเมินผลโครงการสนับสนุนการเลี้ยงปลาในกระชังและบ่อดินศึกษากรณีกิจกรรมการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2553-2554. เอกสารวิชาการฉบับที่ 1/2556, กรมประมง.

ประคุณ ศาลิกร. 2559. การวิเคราะห์เศรษฐกิจของการเลี้ยงปลานิลในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประพันธ์ศักดิ์ ศีรษะภูมิ. 2556. ปลานิลผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงในการเลี้ยงและแนวทางที่เลี่ยงได้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.

พัณะพงษ์ ศรมยุราและพิทักษ์ ศิริวงศ์. 2559. การผลิตและการตลาดปลานิลในบ่อดินของผู้ประกอบการในพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดดนครปฐม. น.655-661. ใน: ประชุมวิชาการระดับชาติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559. นครปฐม.

สิริวรรณ สุนทรศารทูล. 2556. การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของพริกยอดสนลูกผสมจากสายพันธุ์พริกขี้หนูผลใหญ่ ในลักษณะตัวผู้เป็นหมัน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวรรณา ประณีตวตกุล. 2552. การจัดการและประเมินผลวิจัย. เอกสารการสอนวิชา 0119592 ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2552. ศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

สำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี. 2561. สัตว์น้ำจืดที่จับได้ จำแนกตามชนิดสัตว์น้ำจืด เป็นรายอำเภอ ปี 2558.

เสน่ห์ ผลประสิทธิ์. 2552. การเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก (Online). แหล่งข้อมูล: http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05100010552&%3Bsrcday=&%3Bsearch=no,10 ค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2560.

Alston, J.M., G.W.Norton, and P.G. Pardy. 1998. Science Under Scarcity Principle and Practice for Agricultural Research Evaluation and Priority Setting. CAB International Publishing.