การใช้เปลือกตาลหมักต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม

Main Article Content

พรพรรณ แสนภูมิ
ทิพาพร ชาญปรีชา
อนันท์ เชาว์เครือ
เสมอใจ บุรีนอก
สุภาวดี ฉิมทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเปลือกตาลหมักโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคในน้ำพืชหมักต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และการย่อยได้โภชนะในแพะพันธุ์ลูกผสม (พื้นเมือง x บอร์) จำนวน 9 ตัว เพศผู้ มีน้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 13.67± 0.58 กก. อายุเฉลี่ย 3-4 เดือน วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลองๆละ 3 ซ้ำ ได้แก่ เปลือกตาลหมักที่ไม่เติมน้ำพืชหมัก (กลุ่มการทดลองที่ 1, กลุ่มควบคุม), เปลือกตาลหมักที่เติมน้ำพืชหมักจากหญ้ากินนี 0.5% (กลุ่มการทดลองที่ 2) และเปลือกตาลหมักที่เติมกากน้ำตาล 0.5% (กลุ่มการทดลองที่ 3)  แพะทุกตัวได้รับอาหารหยาบและน้ำอย่างเต็มที่ตลอดการศึกษา จากการศึกษาพบว่าแพะที่ได้รับเปลือกตาลหมักในแต่ละกลุ่มการทดลองมีปริมาณการกินได้ สมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณกลูโคส ยูเรียไนโตรเจนในกระแสเลือด และสมดุลไนโตรเจนไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ยกเว้นปริมาณไนโตรเจนที่ขับออกทางปัสสาวะ โดยแพะที่ได้รับเปลือกตาลหมักที่เติมน้ำพืชหมักจากหญ้ากินนีมีปริมาณไนโตรเจนที่ขับออกทางปัสสาวะสูงกว่าแพะที่ได้รับเปลือกตาลหมักในกลุ่มการทดลองอื่นๆ (P < 0.05) นอกจากนี้แพะที่ได้รับเปลือกตาลหมักที่ไม่เติมน้ำพืชหมักมีค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโปรตีนต่ำ แต่มีค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของเฮมิเซลลูโลส เซลลูโลส และพลังงานที่ย่อยได้สูงกว่าแพะที่ได้รับเปลือกตาลหมักในกลุ่มการทดลองอื่นๆ (P<0.01) โดยมีค่า 57.64, 89.44, 85.15 และ 63.39% ตามลำดับ  ดังนั้นในการทดลองครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าเปลือกตาลหมักโดยทั้งไม่ใช้หรือใช้แบคทีเรียกรดแลคติคในน้ำพืชหมักสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบทดแทนในการเลี้ยงแพะได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะ และสมรรถนะการเจริญเติบโตในแพะลูกผสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กฤตพล สมมาตย์. 2535. อิทธิพลของการเสริมเชื้อยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae) ต่อการใช้ประโยชน์ของโปรตีน และรูปแบบของขบวนการหมักในกระเพาะหมักในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ได้รับฟางข้าวเป็นอาหารหยาบหลัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น

จันทร์เพ็ญ ชุมแสง และพิทักษ์ อุปัญญ์. 2554. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการผลิตพลังงานทดแทนจากวัสดุเหลือทิ้งของตาลโตนด เพื่อเป็นพลังงานทางเลือก ในเขตอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

ฉลอง วชิราภากร. 2541. โภชนศาสตร์และการให้อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องเบื้องต้น. ภาควิชาสัตวศาสตร์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น:

ชาญชัย มณีดุล. 2532. การเพิ่มผลผลิตทุ่งหญ้าโดยใช้หญ้าพันธุ์ดีกว่า เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรอาหารโคเนื้อ – โคนม. ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน, นครปฐม.

ทิพาพร ชาญปรีชา, พรพรรณ แสนภูมิ, อนันท์ เชาว์เครือ, เสมอใจ บุรีนอก และสุภาวดี ฉิมทอง. 2559. การปรับปรุงเปลือกตาลหมักโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคจากน้ำพืชหมักต่อองค์ประกอบทางเคมี, การย่อยได้ในหลอดทดลอง และผลผลิตแก๊ส. แก่นเกษตร. 44(ฉบับพิเศษ 1): 491-498.

พรพรรณ แสนภูมิ, สุภาวดี ฉิมทอง, อนันท์ เชาว์เครือ, มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี และชาลินี ติ้มขลิบ. 2559. ผลของระดับการใช้เปลือกตาลหมักร่วมกับเปลือกสับปะรดทดแทนกระถินเพื่อเป็นแหล่งอาหารหยาบในช่วงฤดูแล้งต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และการย่อยได้ของโภชนะในแพะลูกผสม. แก่นเกษตร. 44(ฉบับพิเศษ 1): 13-18.

พรพรรณ แสนภูมิ, สุภาวดี ฉิมทอง, อนันท์ เชาว์เครือ, เสมอใจ บุรีนอก และมนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี. 2560. ผลของการใช้แบคทีเรียผลิตกรดแลคติคจากน้ำพืชหมักเป็นสารเสริมในการหมักเปลือกตาลอ่อนร่วมกับฟางข้าวต่อสมรรถนะการเจริญ เติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะ. แก่นเกษตร. 45(ฉบับพิเศษ 1): 616-623.

พีระวัฒน์ ณ มณี, เสาวนิต คูประเสริฐ และ วันวิศาข์ งามผ่องใส. 2554. การใช้เศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบของแพะ. แก่นเกษตร. 39: 399-412.

มนต์ชัย ดวงจินดา. 2544. การใช้โปรแกรม SAS เพื่อวิเคราะห์งานวิจัยทางสัตว์. ปรับปรุงครั้งที่ 2. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา ภาควิชาสัตวศาสตร์คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น

ยุพา สีสาวแห, พรพรรณ แสนภูมิ, อนันท์ เชาว์เครือ, สุภาวดี ฉิมทอง, เสมอใจ บุรีนอก และศักดา ประจักษ์บุญเจษฎา. 2560. การปรับปรุงเปลือกข้าวโพดหมักโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคจากน้ำหมักเปลือกผลไม้ การย่อยได้โภชนะและสมรรถนะการเจริญเติบโตในแพะลูกผสม. Veridian E-Journal Science Technology Silpakorn University. 4: 144-156.

เสมอใจ บุรีนอก. 2554. การใช้แบคทีเรียกรดแลคติคในน้ำพืชหมักเป็นสารเสริมชนิดใหม่ในพืชหมักเขตร้อน. แก่นเกษตร 39: 85 – 98.

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis. 15th Edition. Association of Official Analytical Chemists, Arlington, VA, USA.

Bezerra, H. F. C., E. M. Santos, J. S. Oliveira, G. G. P. Caravalho, R. M.A. Pinho, T. C. Silva, G. A. Pereira, M. R. Cassuce, and A. M. Zanine. 2019. Fermentation characteristics and chemical composition of elephant grass silage with ground maize and fermented juice of epiphytic lactic acid bacteria. South African Journal Animal Science. 49: 522-533.

Bureenok, S. C. Yuangklang, and K. Vasupen. 2003. Using fermented juice of epiphytic lactic acid bacteria (FJLB) and molasses to improve digestibility and rumen fermentation characteristics of ruzigrass silage fed to dairy cows. P.732-735. In: Proceeding of the 22nd International Grassland Congress, 15-19 September 2013. Sydney, Australia.

Bureenok, S., T. Namihira, Y. Kawamoto, and T. Nakada. 2005. Additive effects of fermented juice of epiphytic lactic acid bacteria on the fermentative quality of guineagrass (Panicummaximum Jacq.) silage. Grassland Science. 1: 243-248.

Bureenok, S., W. Suksombat, and Y. Kawamoto. 2011. Effects of the fermented juice of epiphytic lactic acid bacteria (FJLB) and molasses on digestibility and rumen fermentation characteristics of ruzi grass (Brachiaria ruziziensis) silages. Livestock Science. 38: 266 – 271.

Ellis, J. L., A. Bannink, I. K. Hindrichsen, and R.D. Kinley. 2016. The effect of lactic acid bacteria included as a probiotic or silage inoculant on in vitro rumen digestibility, total gas and methane production. Animal Feed Science Technology. 11: 61 – 74.

Goering, H. K., and P. J. VanSoest. 1970. Forage Fiber Analysis (Apparatus, Reagent, Procedures and some Application). U.S. Agricultural Research Service, Washington. D.C.

Humphrey, L.R. 1991. Tropical Pasture Utilization. Cambridge University Press, Cambridge.

Kaneko, J. J., J. W. Harvey, and M. L. Bruss. 1997. Clinical Biochemistry of Domestic Animals, 3rd Edition. Academic Press, New York.

Kung, L., Jr., and J. T. Huber. 1983. Performance of high producing cows in early lactation fed protein of varying amounts, sources, and degradability. Journal of Dairy Science. 6: 227 – 234.

Lewis, D. 1957. Blood urea concentration in relation to protein utilization in the ruminant. The Journal Agricultural Science. 8: 438 – 446.
Lloyd, S. 1982. Blood characteristics and the nutrition of ruminants. British Veterinary Journal. 38: 70 – 85.

Lukkananukool, A., C. Thammakarn, K. Srikijkasemwat, M. Aung, and Y. Y. Kyawt. 2018. Effect of molasses and fermented juice of epiphytic lactic acid bacteria on the fermentation characteristics and nutrient compositions of cassava leaves silage. Advance in Animal and Veterinary Sciences. 6: 388-394.

Mackay, E. M., and L. L. Mackay. 1972. sugar and nitrogen compounds by enzymatic colorimetric test in serum and plasma. Journal of Clinical Investigation. 4: 295

Masuko, T., Y. Hariyama, Y. Takahashi, L.M. Cao, and M. Oshima. 2002. Effect of addition of fermented juice of epiphytic lactic acid bacteria prepared from timothy and orchard grass on fermentation quality of silages. Grassland Science. 48(2): 120-125.

Nousiainen, J., K. J. Shingfield, and N. P. Huntama. 2004. Evaluation of milk urea nitrogen as diagnostic of protein feeding. Journal of Dairy Science. 87: 386 – 395.

NRC.1981. Nutrient Requirements of Goats. National Academic Press, Washington D.C.

Saenphoom, P., S. Chimtong, A. Chaokaur, D. Kutdaeng, T. Chanprecha, and Y. Seesawhea. 2016. Nutritive value of fermented sugar palm peel with pineapple peel. Silpakorn University Science Technology Journal. 10: 32-27.

Schneider, B. H., and W. P. Flatt. 1975. The evaluation of food though digestibility experiments. The University of Georgia Press, Athens.
Yansari, A.T, R. Valizadeh, A. Naserian, D. A. Christensen, P. Yu, and F. E. Shahroodi. 2004.Effect of alfalfa particle size and specific gravity on chewing activity digestibility and performance of Holstein dairy cows. Journal of Dairy Science. 87: 3912 – 3924.