ผลของการพรางแสงและการใส่ปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตของผักกูด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพรางแสงและจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักกูดรวมระยะเวลา 2 เดือน สำหรับเป็นแนวทางให้กับเกษตรกรผู้สนใจปลูกผักกูดแบบปลอดภัยเพื่อการค้า วางแผนการทดลองแบบ split plot in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย Main plot คือ ระดับการพรางแสง 3 ระดับ ได้แก่ ไม่พรางแสง และพรางแสงที่ระดับ 50% และ 80% และ Sub plot คือ การใส่ปุ๋ย 5 รูปแบบ ได้แก่ ไม่ให้ปุ๋ย (ควบคุม) ให้ปุ๋ยเคมี (15-15-15 และ 46-0-0) อัตรา 14.85 กก.N/ไร่ และให้ปุ๋ยมูลโคอัตรา 14.85, 29.70 และ 44.55 กก.N/ไร่ จากผลการทดลองพบว่า การพรางแสงที่สูงขึ้นส่งผลให้ผักกูดมีความสูงและความกว้างทรงพุ่มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ส่งผลให้จำนวนใบของผักกูดลดลง อย่างไรก็ตามการพรางแสงที่ระดับ 50% ทำให้ผักกูดมีผลผลิตสูงที่สุด และแม้ว่าการใส่ปุ๋ยไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางลำต้น แต่พบว่า การใส่ปุ๋ยมูลโคอัตรา 29.70 กก.N/ไร่ ทำให้ผักกูดมีน้ำหนักสดยอดที่เป็นผลผลิตมากที่สุด ทั้งนี้หากพิจารณาที่อิทธิพลร่วมระหว่างการพรางแสงและการใส่ปุ๋ย พบว่า การพรางแสงที่ระดับ 50% ร่วมกับการใส่ปุ๋ยมูลโคอัตรา 29.70 กก.N/ไร่ ถือเป็นการจัดการที่เหมาะสมที่สุดต่อการผลิตผักกูด โดยทำให้ผักกูดมีผลผลิตเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุด คือเท่ากับ 14.68 ก./ต้น หรือ 183.11 กก./ไร่/เดือน ซึ่งมีค่าสูงกว่าผักกูดที่ไม่ได้รับการพรางแสงและให้ปุ๋ยถึงประมาณ 13 เท่า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลชนก นันต๊ะจันทร์, เพ็ญนภา จักรสมศักดิ์, นันทิยา พนมจันทร์ และชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2559. ผลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตและความเข้มข้นธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวพันธุ์พื้นเมือง. แก่นเกษตร. 44(3): 391-398.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2559. แผนที่กลุ่มชุดดิน. แหล่งข้อมูล: http://lddsoilguide.ldd.go.th/soilguide/#/app/map. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2563.
เกริก ปิ่นตระกูล. 2550. ผลต่อการใช้ปุ๋ยต่อคุณภาพดินและน้ำในนาข้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
คริษฐ์สพล หนูพรหม, อมรรัตน์ ชุมทอง และพงษ์ศักดิ์ มานสุริวงศ์. 2560. ผลของมูลโคและน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของบรอคโคลี. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(4): 627-638.
มนตรี แก้วดวง และวิเซ็น ดวงสา. 2556. ผักกูด อาหารต้านอนุมูลอิสระ. วารสารหมอชาวบ้าน. 55(412): 10-14.
ยงยุทธ โอสถภา. 2546. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิเซ็น ดวงสา, สายันต์ ตันพานิช, เรวัตร จินดาเจี่ย และมนตรี แก้วดวง. 2559. ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกูด. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3(3): M08/30-35.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2563. แหล่งข้อมูล: https://www.mhesi.go.th/home /index.php/pr/news/1434-19-12. ค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2563.
สยามรัฐออนไลน์. 2563. ศูนย์พัฒนาพิกุลทอง ศึกษาปลูกผักกูดในดินเปรี้ยวจัดทั่วไทยได้. แหล่งข้อมูล: https://siamrath.co.th/n/167994. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2564.
สาวิตรี มังกรแก้ว, พิจิตรา แก้วสอน, ปริยานุช จุลกะ และปิยะณัฏฐ์ ผกามาศ. 2558. ผลของการพรางแสงและระยะปลูกต่อการเจริญเติบ โตและคุณภาพเมล็ดพริกขี้หนูพันธุ์ห้วยสีทนภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูง. วิทยาศาสตร์เกษตร. 46(3): 769-772.
สำนักพิมพ์ไทยรัฐ. 2561. สหกรณ์โคเนื้อศรีวิชัย (พัทลุง) สร้างงาน-รายได้-มั่นคง-ยั่งยืน. แหล่งข้อมูล: https://www. thairath.co.th/news/local/south/1412343. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563.
อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์ และสมชาย ชคตระการ. 2563. ประสิทธิภาพของปุ๋ยมูลไก่และถ่านชีวภาพต่อความสามารถในการผลิตผักสลัดพันธุ์กรีนโอ๊คในสภาพดินกรด. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(7): 1267-1280.
อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์. 2560. การศึกษาเปรียบเทียบผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อความสามารถในการผลิตจิงจูฉ่าย. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(4): 615-626.
อรประภา อนุกูลประเสริฐ และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2558. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพของผักกาดหอม. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 4(1): 81-94.
Akter, S. 2014. Investigation of in vitro antioxidant, antimicrobial and cytotoxic activity of Diplazium esculentum (Retz), Sw. International Journal of Advances in Pharmacy, Biology, and Chemistry. 3(3): 723-733.
Caruso, G., L. Formisano, E. Cozzolino, A. Pannico, C. El-Nakhel, Y. Rouphael, A. Tallarita, V. Cenvinzo, and S.D., Pascale. 2020. Shading affects yield, elemental composition and antioxidants of perennial wall rocket crops grown from spring to summer in southern Italy. Plants. 9(8): 933.
Chai, T.T., L.Y. Yeoh, N.I.M. Ismail, H.C. Ong, F.A. Manan, and F.C. Wong. 2015. Evaluation of glucosidase Inhibitory and cytotoxic potential of five selected edible and medicinal ferns. Tropical Journal of Pharmaceutical Research. 14(3): 449-454.
Dilworth, L.L., C.K. Riley, and D.K. Stennett. 2017. Pharmacognosy. Academic Press, US.
Gardner, F. P., R. B. Pearce, and R.L. Mitchell. 1985. Physiology of crop plants. Iowa State University Press, USA.
Hussain, A., F. Anjum, A. Rab, and M. Sajid. 2006. Effect of nitrogen on the growth and yield of asparagus (Asparagus officinalis). Journal of Agricultural and Biological Science. 1(2): 41-47.
Muir, R. M., and L. Zhu. 1983. Effect of light in the control of growth by auxin and its iohibitor(s) in the sunflower. - Physiol. Plant. 57: 407-410.
Shim, M. S., Y. J. Kim, D. S. Lee, H. Y. Kwon, S. S. Kim, and U. Kang. 2011. Growth responses of various ferns on shading and fertilizer application. Journal of Bio-Environment Control. 20(2): 109-115.
Trail, P., Y. Danmalidoi, A. Bicksler, and R. Burnette. 2021. Production of vegetable fern (Diplazium esculentum Reytz.) under varying levels of shade. ECHO community; ECHO Asia notes. AN issue. 45: 1-7.
Wang, Y., S. Gao, X. He, Y. Li, Y. Zhang, and W. Chen. 2020. Response of total phenols, flavonoids, minerals, and amino acids of four edible fern species to four shading treatments. The Journal of Life and Environmental Sciences. 8: e8354.
Yushan, W., G. Wanzhuo, and Y. Wenyu. 2017. Shade Inhibits Leaf Size by Controlling Cell Proliferation and Enlargement in Soybean. Scientific reports. 7: 9259.