การเปรียบเทียบเอกลักษณ์พันธุ์ของส้มโอพันธุ์ทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ที่มีแหล่งที่มาของพันธุ์แตกต่างกันด้วยเครื่องหมาย AFLP

Main Article Content

เสาวณี คงศรี
พงษ์นาถ นาถวรานันต์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั ้งนี ้เพื่อตรวจสอบเอกลักษณ์ของส้มโอพันธุ์ทองดี และพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวัดนครปฐม และเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยาและข้อมูลทางพันธุกรรมกับกิ่งพันธุ์ที่เกษตรกรนำมาจากแหล่งปลูกอื่น เช่น ปราจีนบุรี ชัยนาท สมุทรสงคราม ทำการตรวจสอบลักษณะทางพันธุกรรมด้วยเครื่องหมาย AFLP พบว่าเครื่องหมาย AFLP จำนวน 10 เครื่องหมาย ปรากฏแถบดีเอ็นเอทั้งหมด 229 แถบดีเอ็นเอ มีแถบดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างระหว่างแถบลายดีเอ็นเอ (polymorphic band) จำนวน 48 แถบดีเอ็นเอ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 แถบดีเอ็นเอต่อไพรเมอร์ คู่ไพรเมอร์ที่มีค่า polymorphism สูงสุด คือ ACT/CAC มีค่าเท่ากับ 41.18 % ส่วนคู่ไพรเมอร์ที่มีค่า polymorphism ต่ำสุด คือ AAG/CAA และ AAC/CAC มีค่าเท่ากับ 12.50 % การวิเคราะห์จัดกลุ่มและสร้างแผนภูมิต้นไม้เพื่อแสดงความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม พบว่ามีค่าดัชนีความเหมือน (SI) อยู่ในช่วง 0.80-1.00 ที่ค่าดัชนีความเหมือนเท่ากับ 0.80 สามารถแบ่งกลุ่มส้มโอทั้ง 54 ตัวอย่าง ออกได้เป็น 2 กลุ่มพันธุ์ คือ ส้มโอพันธุ์ทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง จากนั้นเมื่อพิจารณาข้อมูลความแตกต่างของแหล่งที่มาของกิ่งพันธุ์ พบว่าพันธุกรรมของส้มโอพันธุ์ทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้งในกลุ่มพันธุ์ที่ปลูกดั้งเดิมกับกลุ่มที่นำกิ่งพันธุ์มาจากแหล่งอื่น มีความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมกันมาก (SI = 0.99-1.00)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2547. ส้มโอนครชัยศรี. แหล่งข้อมูล: http://www.ipthailand.go.th/images/781/pamelo-nakonchaisri_1.pdf. ค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2561.

กัลปพฤกษ์ ลีละวัฒน์. 2534. การศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของผลส้มโอ 7 พันธุ์. ปัญหาพิเศษปริญญาโท ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธรรมนูญ เปรมสุนทร. 2500. การสำรวจส้มโอบางพันธ์ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทกสิกรรมและสัตวบาล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปัญญา ธยามานนท์. 2541. เอกสารวิชาการที่ 21 เรื่องส้มโอ. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

เยาวรัตน์ วงศ์ศรีสกุลแก้ว. 2545. การเจริญเติบโตพัฒนาของผลส้มโอขาวน้ำผึ้งและลักษณะสำคัญของผลพันธุ์อื่นๆ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

ลพ ภวภูตานนท์, กฤษณา กฤษณพุกต์, และยงยุทธ โอสถสภา. 2555. ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติดินในแหล่งปลูกกับปริมาณและคุณภาพผลผลิตส้มโอ. รายงานฉบับฉบับสมบูรณ์ชุดโครงการส้มโอเพื่อการส่งออก สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ.

วิจิตร วังใน. 2526. ชนิดและพันธุ์ไม้ผลเมืองไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรเกษตรตลาดและโฆษณา, กรุงเทพฯ.

วิชัย บุณญะวัฒน์. 2501. การศึกษาลักษณะผลส้มโอที่สำคัญ 11 พันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทกสิกรรมและสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เสาวณี คงศรี และอุณารุจ บุญประกอบ. 2551. การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของส้มโอในประเทศไทยด้วยเครื่องหมาย Simple Sequence Repeat (SSR). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 2557. จังหวัดนครปฐมให้โอกาสส้มโอจังหวัดอื่นมาจำหน่าย. แหล่งข้อมูล: http:// www.thainews.prd.go.th. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558.

สำนักข่าวประชาสัมพันธ์นครปฐม. 2554. สวนส้มโอนครปฐมยืนต้นตายหลังถูกน้ำท่วมเสียหายนับ 200 ล้านบาท. แหล่งข้อมูล: http://pr.prd.go.th/nakhonpathom. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558.

อัญมณี อาวุชานนท์ และปณาลี ภู่วรกุลชัย. 2559. การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฟักทองไทย 29 สายพันธุ์ ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ AFLP. แก่นเกษตร. 44: 237-246.

Agrawal, G.K., R.N. Pandey, and V.P. Agrawal. 1992. Isolation of DNA from Cheorospondias asillaris leaves. Biotech. Biodiv. Lett. 2: 19-24.

Ahmad, R., D. Struss, and S. M. Southwick. 2003. Development and characterization of microsatellite markers in Citrus. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 128: 584-590.

Bo W., Z. Guang-yan, Y. Jian-qiang, Y. Run-ting, L. Chong Li, L. Yue-jia, Z. Yun, W. Xuan, J. Bo, Z. Ji, Z. Li, Y. Shu-tang, B. Xue-jun, and Z. Dongguo. 2014. Identification of pummelo cultivars by using a panel of 25 selected SNPs and 12 DNA segments. PLOS ONE. 9: e94506.

Compos, E.T., M.A.G. Espinosa, M.L. Warburton, A.S. Varela, and A.V. Monter. 2005. Characterization of mandarin (Citrus spp.) using morphological and AFLP markers. Interciencia 30: 687-693.

Corazza-Nunes, M. J., M. A. Machado, W. M. C. Nunes, M. Cristofani, and M. L. P. N. Targon. 2002. Assessment of genetic variability in grapefruits (Citrus paradisi Macf.) and pummelos (C. maxima (Burm.) Merr.) using RAPD and SSR markers. Euphytica. 126: 169-176.

Deng, Z.N., A. Gentile, E. Nicolosi, F. Domina, A. Vardi, and E. Tribulato. 1995. Identification of in vivo and in vitro lemon mutants by RAPD marker. J. Hort. Sci. 70: 117-125.

Fang, D. Q., and M. L. Roose. 1997. Identification of closely related citrus cultivars with inter-simple sequence repeat markers. Theor. Appl. Genet. 95: 408-417.

Kijas, J. M. H., M. R. Thomas, J. C. S. Fowler, and M. L. Roose. 1997. Integration of trinucleotide microsatellites into a linkage map of Citrus. Theor. Appl. Genet. 94: 701-706.

Liang, M., X. Yang, H. Li, S. Su, H. Yi, L. Chai, and X. Deng. 2015. De novo transcriptome assembly of pummelo and molecular marker development. PLOS ONE. 10: e0120615.

Nartvaranant, P., and K. Nartvaranant. 2011. Analysis based on AFLP markers of the genetic variations and their relationships for pummelo cultivars grown in the central region of Thailand. Songklanakarin J. Sci. Technol. 33(5): 499-508.

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 2007. Agricultural Standard TAS 13 – 207: Pummelo. Ministry of Agriculture and Cooperatives. The Royal Gazette Vol. 124: Section 78D. Rohlf, F.I. 1997. NTSYSpc: Numerical Taxonomy and Multivariate Analysis System, Version 2.00. Exeter Software; Setauket, N.Y.

Soost, R.K. 1964. Self-incompatibility in Citrus grandis (L.) Osbeck. Amer. Soc. Hort. Sci. Proc. 84: 137-140.

Yong, L., S. Zhong-hai, L. De-chun, W. Bo, and T. Jian-jun. 2005. Assessment of the geneticdiversity of pummelo germplasms using AFLP and SSR markers. China Agric. Sci. 38: 2308-2315.

Vos, P., R. Hogers, M. Bleeker, M. Reijans, T.V. Lee, M. Hormes, A. Frijters, T. Plot , J. Peleman, M. Kuiper, and M. Zebeau. 1995. AFLP: A new technique for DNA fingerprinting. Nucl. Acids Res. 23: 4407-4414.