ประสิทธิภาพการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดด้วยวิธีดับเบิ้ลแฮพลอยด์ ฝักต่อหลุมประยุกต์และบันทึกประวัติเพื่อพัฒนาสายพันธุ์แท้และพันธุ์ลูกผสม

Main Article Content

ศฎาวุฒิ กุลมณี
ประภา ศรีพิจิตต์
สุจินต์ เจนวีรวัฒน์
ธานี ศรีวงศ์ชัย

บทคัดย่อ

การปรับปรุงพันธุ์เพื่อสร้างสายพันธุ์แท้และสร้างพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมมีหลายวิธี การศึกษาครั้งนั้  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการพัฒนาสายพันธุ์แท้ 4 วิธี ได้แก่ วิธีดับเบิ้ลแฮพลอยด์ในชั่วที่ S0 และชั่วที่ S1 ฝักต่อหลุมประยุกต์ และบันทึกประวัติ ที่ใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์แท้ให้ได้ผลผลิตสูง ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง โดยนำข้าวโพดพันธุ์ CPQ-1302 มาใช้ในการพัฒนาเป็น สายพันธุ์แท้ด้วยวิธีการทั้ง 4 จากนั้นนำสายพันธุ์แท้ที่ได้มาปลูกเปรียบเทียบผลผลิต สายพันธุ์ที่คัดเลือกได้นำมาสร้างเป็นพันธุ์ลูกผสมแล้วปลูกเปรียบเทียบผลผลิตของพันธุ์ลูกผสม โดยวางแผนการทดลองแบบ 14x14 simple lattice square ผลการทดลองพบว่าวิธีดับเบิ้ลแฮพลอยด์ในชั่วที่ S1 เป็นวิธีการพัฒนาสายพันธุ์แท้ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเมื่อนำสายพันธุ์แท้ที่ได้มาสร้างเป็นพันธุ์ลูกผสมสามารถให้พันธุ์ลูกผสมที่มีผลผลิต สูงที่สุด ซึ่งวิธีการนี ้ใช้เวลาการพัฒนาสายพันธุ์แท้เพียง 3 ฤดูปลูกเท่านั ้น ส่วนวิธีที่ให้ประสิทธิภาพรองลงมาคือ วิธีฝักต่อหลุมประยุกต์ ดับเบิ ้ลแฮพลอยด์ชั่วที่ S0 และบันทึกประวัติ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม วิธีการพัฒนาสายพันธุ์แท้ด้วยวิธีดับเบิ ้ลแฮพลอยด์ยังมีข้อจำกัดในบางเชื้อพันธุกรรม เช่น มีอัตราการเกิดแฮพลอยด์ต่ำหรือเทคนิคการเพิ่มชุดโครโมโซม ต้องมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ได้สายพันธุ์แท้จำนวนมากพอสำหรับการสร้างลูกผสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2551. ปรับปรุงพันธุ์พืช: พื้นฐาน วิธีการ และแนวคิด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Bennetzen, J.L., and S. Hake. 2009. Maize Handbook-Volume II : Genetics and Genomics. Springer Science + Business Media LLC, Modern Maize Breeding.

Bermardo, R. 2009. Should maize doubled haploids be induced among F(1) or F(2) plants. Theor Appl Genet. 119: 256-262.

Curran, B. 2008. Future trends in corn genetics and biotechnology. Available Source: http://alfalfa.ucdavis.edu. Accessed Dec. 15, 2016.

Jumbo, M.D., T. Weldekidan, J.B Holland and J.A. Hawk. 2011. Comparison of conventional, modified single seed descent, and double haploid breeding methods for maize inbred line development using germplasm enhancement of maize breeding crosses. Crop Sci. 51: 1534-1543.

Mladenovic, D.S., V. Andelkovic, M. Babic and K. Konstantinov. 2013. New technologies for improving maize breeding, pp. 27–36. In Proceedings of the Fourth International Scientific Symposium “Agrosym 2013”, Jahorina, Bosnia and Herzegovina. Office of Agricultural Economics. 2016. Situation and Trends of the Important Agricultural Products Year 2016, Bangkok, 241. (in Thai)

Prasana, B.M., V. Chaikam and G. Mahukul. 2012. Double Haploid Technology in Maize Breeding: Theory and Practice, Mexico, D.E., CIMMYT.

Shull, G.H. 1908. The composition of a field of maize. J. Hered. 4: 296–301.

Shull, G.H. 1909. A Pure line method of corn breeding. J. Hered. 5: 51–58.