ประสิทธิผลทางการเกษตรและความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจของปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยในอ้อย

Main Article Content

นาวา ทวิชาโรดม
ปิยะ ดวงพัตรา
ปิติ กันตังกุล
จุฑามาศ ร่มแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการใช้ปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ดำเนินการปลูกทดลองต้นฤดูฝน 2559 ในแปลงเกษตรกรในอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) 4 ซ้ำ แต่ละซ้ำมี 6 ตำรับทดลอง ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดธรรมดา และใส่ปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อย ในอัตรา ระยะเวลาหลังปลูก และจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยเคมีที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ ความสูงลำต้น เส้นผ่านศูนย์กลางลำ จำนวนลำ/ไร่ น้ำหนัก/ลำ ผลผลิตอ้อยสด และน้ำตาล/ไร่ ค่าเปอร์เซ็นต์ซีซีเอส (CCS) บริกซ์ (Brix) โพล (Pol) เส้นใย (Fiber) และ ความบริสุทธิ์ (Purity) ของน้ำตาลที่ระยะเก็บเกี่ยวอ้อยปลูกแสดงการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีทั้ง 2 ประเภทอย่างมีนัยสำคัญ และการใส่ปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยเพิ่มการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อยสด และผลผลิตน้ำตาลได้มากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดธรรมดา การใส่ปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยสูตร 12-12-12 อัตรา 66 กก./ไร่ที่อายุ 1 และ 3 เดือนหลังปลูก ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อย สูตร 41-0-0 อัตรา 23 กก./ไร่ ที่อายุ 1 เดือนหลังปลูก มีผลผลิตอ้อยสดสูงที่สุด 9.64 ตัน/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยที่ทำให้การผลิตอ้อยมีรายได้สุทธิสูงที่สุด 4,744 บาท/ไร่ คือ การใช้ปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยสูตร 12-12-12 อัตรา 33 กก./ไร่ที่อายุ 1 เดือนหลังปลูก

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ

นราภรณ์ เป้าทอง. 2547. การศึกษาคุณภาพของน้ำอ้อยในการบริโภคในอ้อยคั้นน้ำที่ปลูกโดยใช้ น้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่ง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ

ปิยะ ดวงพัตรา. 2538. หลักการและวิธีการใช้ปุ๋ยเคมี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วิยงค์ กังวานศุภมงคล, สุวัชชัย จรัสโสภณ, ภาวิณี พงษ์วัน, ธนกร วิรุฬห์มงคล, กนิษฐา บุญภา วาณิชกุล และ กรรณิกา สิทธิสุวรรณกุล. 2557. กรรมวิธีการเตรียมเม็ดปุ๋ยเคมีจากการเคลือบด้วยสารเคลือบชนิดพอลิเมอร์-นาโนเคลย์คอมพอสิทและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิธีดังกล่าว. สิทธิบัตรไทย เลขที่ 1401003878

ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ชยันต์ ภักดีไท, ศรีสุดา ทิพยรักษ์ และวัลลีย์ อมรพล. 2555. การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในดินทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. แก่นเกษตร. 40 ฉบับพิเศษ 3: 149-158.

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ. 2557. กรรมวิธีการเตรียมเม็ดปุ๋ยเคมีจากการเคลือบด้วยสารเคลือบชนิดโพลิเมอร์-นาโนเคลย์คอมพอสิท และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิธีดังกล่าว. สิทธิบัตรไทยเลขที่ 1401003878.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการเกษตรประเทศไทยปี 2557. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

Bhanuvally, M., Y.M. Ramesha and H. Yogeeshappa. 2017. Effect of slow releasing nitrogen fertilizers on growth and yield of sugarcane. Int.J.Curr.Microbiol. App.Sci 6: 570-577.

Garrett, J., B. Tubana, S. Kwakye, W. Paye, F.B. Agostinho, D. Forestieri, M.S. Daren and M. Martins. 2017. Controlled release nitrogen fertilizer and application timimg : soil N, leaf N and yield respond in sugarcane. In: Proceeding of Managing Global Resources for a Secure Future 2017 Annual meeting, USA.

Koshino, M. 1993. The Environmental Protection Framework Concerning Fertilizer Use in Japan. Publisher: National Institute of Agro-Environmental Sciences, Department of Farm Chemicals, Tsukuba, Japan.

Morgan, K.T. 2009. Improved Fertilizer Use Efficiency With Controlled Release Sources on Sandy Soils in South florida. Southwest Florida Research and Education Center, Florida.

Mullen, R.W. 2011.Nutrient cycling in soils: nitrogen. In: Hatfield, J.L., Sauer, T.J.(Eds.),Soil management : building a stable base for agriculture. American Society of Agronomy and Soil Science Society of America, Medison,WI,pp.67-78.

Verburg, K., T.H. Muster, Z. Zhao, J.S. Biggs, P.J. Thorburn, J. Kandulu, K. Witter-Schmid, G. McLachlan, K.L. Bristow, J. Poole, M.F.T. Wong and J.I. Mardell. 2017. Roles of Controlled Release Fertilizer in Australian Sugarcane System: final report 2014/11. Sugar Research Australia Ltd, Australia.

Zwieten L.V., J. Rush, T.J.Rose, S.Joseph, R. Beattie, S. Donne, G. Butler, R. Quirk, S. Kimber and S. Morris. 2016. Assessing controlled release and deep placement N fertilizer technologies in subtropical sugarcane, pp 1-4. In: Proceeding of the 2016 International Nitrogen Initiative Conference. Melbourne, Australia