การแทนที่ปลาป่นด้วยแหล่งโปรตีนจากพืชในอาหารปลาสวายลูกผสม

Main Article Content

วิศรุต ช่อเส้ง
นัทท์ นันทพงศ์
วุฒิพร พรหมขุนทอง

บทคัดย่อ

ทำการทดลองเพื่อศึกษาการแทนที่โปรตีนจากปลาป่นโดยใช้แหล่งโปรตีนจากพืชผสม (กากถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน, ถั่วลิสงป่น และโปรตีนกลูเตนจากข้าวสาลี) ในอาหารปลาสวายลูกผสม (น้ำหนักเริ่มต้น 3.00±0.00 กรัม) อาหารทดลองมี 5 สูตร กำหนดให้แต่ละสูตรมีโปรตีน (28%) และพลังงาน (18 เมกะจูลต่อกิโลกรัมอาหาร) ใกล้เคียงกัน โดยแทนที่โปรตีนจากปลาป่นด้วยแหล่งโปรตีนจากพืชผสมที่ต่างกัน 5 ระดับได้แก่ 0 (สูตรควบคุม),
25, 50, 75 และ 100% อาหารแต่ละสูตรมี 3 ซ้ำ ใช้ปลาจำนวน 20 ตัวต่อซ้ำ ให้อาหารทดลองวันละ 2 ครั้งโดยให้กินจนอิ่ม ระยะเวลาทดลอง 8 สัปดาห์ จากการทดลองพบว่า ปลาที่ได้รับอาหารที่มีการแทนที่ปลาป่นด้วยแหล่งโปรตีนจากพืช 100% มีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (1.77±0.11 %/วัน) แตกต่างทางสถิติ (P<0.05) กับชุดการทดลองอื่นๆ แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ในปลาที่ได้รับอาหารที่มีการแทนที่ 0 25 50 และ 75% (2.44±0.21, 2.50±0.28, 2.63±0.30 และ 2.46±0.03 %/วัน, ตามลำดับ) ปลาที่ได้รับอาหารที่มีการแทนที่ปลาป่นด้วยแหล่งโปรตีนจากพืช 50% มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (1.12±0.13) แตกต่างทางสถิติ (P<0.05) กับปลาที่ได้รับอาหารที่มีการแทนที่ 75% และ 100% (1.38±0.08 และ 1.50±0.02 ตามลำดับ) และมีการใช้ประโยชน์จากโปรตีนสุทธิแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) กับชุดการทดลองอื่นๆ ด้านองค์ประกอบเลือดที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันได้แก่ ปริมาณเม็ดเลือดขาว กิจกรรมของไลโซไซม์และเอนไซม์ไมอีโลเพอร์ออกซิเดสพบว่า ปลาที่ได้รับอาหารที่มีการแทนที่ 25 50 และ 75% มีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ยกเว้นปลาที่ได้รับอาหารที่มีการแทนที่ 100% ที่มีค่าแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) ด้านกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหารในลำไส้มีค่าลดลงตามปริมาณการแทนที่ปลาป่ นด้วยแหล่งโปรตีนจากพืชที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการใช้กากถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน, ถั่วลิสงป่น และโปรตีนกลูเตนจากข้าวสาลีเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนสามารถแทนที่โปรตีนจากปลาป่นในอาหารสำหรับปลาสวายลูกผสมได้ 75% โดยไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบเลือดที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการใช้อาหารที่ดีที่สุดอยู่ที่ระดับการแทนที่ 50%

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมประมง. 2560. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558. เอกสารฉบับที่ 5/2560, กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง, กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ชลกานต์ ขวัญนาวารักษ์. 2555. การเสริมสารสกัดเห็นนางฟ้าในอาหารปลาสวาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ไพบูลย์ ปะนาเส, ดวงพร อมรเลศพิศาล และเกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน. 2556. การเจริญพันธุ์และประสิทธิภาพการเพาะพันธุ์ของปลาหนัง 3 สายพันธุ์; ปลาบึก ปลาสวายและปลาลูกผสมโดยเทคนิคการผสมกลับ. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 7: 27-37.

เรืองไร โตกฤษณะ, กุลภา กุลดิลก, กุลภา บุญชูวงศ์, เบญจวรรณ คงขน และธันย์ธาดา มะวงศ์ไว. 2558. สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: เอกสารวิชาการหมายเลข 9. สถาบันคลังสมองของชาติ, กรุงเทพฯ.

สิทธิชัย ฮะทะโชติ, เกตุนภัส ศรีไพโรจน์ และอุทัยรัตน์ ณ นคร. 2553. ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของปลาสวาย (Pangasianodon hypophthalmus) ปลาโมง (Pangasius bocourti) และลูกผสม (P. hypophthalmus X P. bocourti). น. 210-217. ใน: เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั ้งที่ 48: สาขาประมง 3-5 ก.พ. 2553. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Anh Ngoc, P.T., D. Gaitán-Cremaschi, M.P.M. Meuwissen, C.L. Tru, R.H. Bosma, J. Verreth, and A. Oude Lansink. 2018. Technical inefficiency of Vietnamese Pangasius farming: A data envelopmentanalysis. Aquaculture Economics & Management. 22: 229-243.

AOAC (Association of Official Analytical Chemists). 1990. Official Methods of Analysis 15 Edition. Association of Official Analytical Chemists, Washington DC.

Apper-Bossard, E., A. Feneuil, A. Wagner, and F. Respondek. 2013. Use of vital wheat gluten in aquaculture feeds. Aquatic Biosystems. 9: 21.

Barrows, F.T. and J.B. Frost. 2014. Evaluation of the nutritional quality of co-products from the nut industry, algae and an invertebrate meal for rainbow trout, Oncorhynchus mykiss. Aquaculture. 434: 315–324.

Bergmeyer, H.U., E. Bernt, F. Schmidt, and H., Stork, 1974. D-glucose determination with hexokinase and glucose-6-phosphate dehydrogenase. In: H.U. Bergmeyer. Methods of Enzymatic Analysis, VerlagChemie, Weinheim.

Blaxhall, P.C. and K.W. Daisley. 1973. Routine haematological methods for use with fish blood. Journal of Fish Biology. 5: 771-781.

Castro, R., M.C. Piazzon, M. Noya, J.M. Leiro, and J. Lamas. 2008. Isolation and molecular cloning of a fish myeloperoxidase. Molecular Immunology. 45 :428-437.

Cheng, Z., Q. Ai, K. Mai, W. Xu, H. Ma, Y. Li, and J. Zhang. 2010. Effects of dietary canola meal on growth performance, digestion and metabolism of Japanese seabass, Lateolabrax japonicas. Aquaculture. 305: 102-108.

Da, C.T., L.T. Hung, H. Berg, J.E. Lindberg, and T. Lundh. 2013. Evaluation of potential feed sources, and technical and economic considerations of small-scale commercial striped catfish (Pangasius hypothalamus) pond farming systems in the Mekong Delta of Vietnam. Aquaculture Research. 44: 427-438.

Da, C.T., T. Lundh, and J.E. Lindberg. 2012. Evaluation of local feed resources as alternatives to fish meal in terms of growth performance, feed utilisation and biological indices of striped catfish (Pangasianodon hypophthalmus) fingerlings. Aquaculture. 364–365:150–156.

Demers, N.E. and C.J. Bayne. 1997. The immediate effects of stress on hormones and plasma lysozyme in rainbow trout. Developmental and Comparative Immunology. 21: 363-373.

Erlanger, B., N. Kokowsky, and W. Cohen. 1961. The preparation and properties of two new chromogenic substrates of trypsin. Archives of Biochemistry and Biophysics. 95: 271-278.

Francis, G., H.P.S. Makkar, and K. Becker. 2006. Antinutritional factors present in plant-derived alternate fish feed ingredients and their effects in fish. Aquaculture. 199: 197-227.

Hardy, R.W. 2010. Utilization of plant proteins in fish diets: effects of global demand and supplies of fishmeal. Aquaculture Research. 41: 770-776.

Hardy, R.W. and F.T. Barrows. 2002. Diet Formulation and Manufacture. In: J.E. Halver, and R.W. Hardy. Fish Nutrition. Academic press, San Diego.

Hung, L.T., N. Suhenda, J. Slembrouck, J. Lazard, and Y. Moreau. 2004. Comparison of dietary protein and energy utilization in three Asian catfishes (Pangasius bocourti, P. hypophthalmus and P. djambal). Aquaculture Nutrition. 10: 317–326.

Kiron, V. 2012. Fish immune system and its nutritional modulation for preventive health care. Animal Feed Science and Technology. 173: 111-133.

Kokou, F. and E. Fountoulaki. 2018. Aquaculture waste production associated with antinutrient presence in common fish feed plant ingredients. Aquaculture. 495: 295–310.

Larsen, H.N. and S.F. Snieszko. 1961. Comparison of Various Methods of Determination of Hemoglobin in Trout Blood. The Progressive Fish-Culturist. 23: 8-17.

Li, Y., Q. Ai, K. Mai, W. Xu, J. Deng, and Z. Cheng. 2014. Comparison of high-protein soybean meal and commercial soybean meal partly replacing fish meal on the activities of digestive enzymes and aminotransferases in juvenile Japanese seabass,Lateolabrax japonicus (Cuvier, 1828). Aquaculture Research. 45: 1051-1060.

Martin, S.A.M. and E. Król. 2017. Nutrigenomics and immune function in fish: new insights from omics technologies. Developmental and Comparative Immunology. 75: 86–98.

Oliva-Teles, A. P. Enes, and H. Peres. 2015. Replacing fishmeal and fish oil in industrial aquafeeds for carnivorous fish. In: D. A. Davis. Feed and Feeding Practices in Aquaculture. Elsevier/Woodhead Publishing, Amsterdam.