ผลของรูปแบบการเลี้ยงต่อคุณภาพเนื้อของไก่เบตง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาผลของรูปแบบการเลี้ยงไก่เบตงที่แตกต่างกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบขังคอก และแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย ต่อคุณภาพเนื้อในแง่ของลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมี ทั้งนี้ในช่วง 7 สัปดาห์แรกไก่ทุกตัวได้รับการเลี้ยงดูเหมือนกัน แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ถึง 24 ไก่ทั้งสองรูปแบบได้รับอาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 19% เหมือนกัน แต่กลุ่มที่เลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อยได้รับการเสริมข้าวหุงสุก เมื่อไก่มีอายุครบ 24 สัปดาห์สุ่มไก่เบตงรูปแบบการเลี้ยงละ 30 ตัว มาฆ่าเพื่อศึกษาคุณภาพของเนื้อตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (Randomized complete block design; RCBD) ผลการศึกษา พบว่า เนื้อหน้าอกและสะโพกของไก่ที่เลี้ยงแบบขังคอกมีค่าความเป็นกรดด่างหลังฆ่า 24 ชม. (pHu) ค่าสี L*, a* และ b* สูงกว่า แต่มีค่าการสูญเสียน้ำระหว่างการเก็บรักษาต่ำกว่าเนื้อไก่เบตงที่เลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย (P < 0.05) อย่างไรก็ตามความแตกต่างของรูปแบบการเลี้ยงไม่มีผลทำให้เนื้อทั้งสองส่วนมีค่าแรงตัดผ่านแตกต่างกัน (P > 0.05) แต่มีแนวโน้มว่าเนื้อหน้าอกและเนื้อสะโพกจากไก่ที่เลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อยมีค่าแรงตัดผ่านสูงกว่าแบบขังคอก สำหรับองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อ พบว่า รูปแบบการเลี้ยงไม่มีผลทำให้เนื้อทั้งสองชนิดมีเปอร์เซ็นต์โปรตีน ไขมัน เถ้า และคอลลาเจนแตกต่างกัน (P > 0.05) แต่มีแนวโน้มว่าเนื้อสะโพกของไก่ที่เลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อยมีปริมาณไขมันต่ำกว่าแต่ปริมาณคอลลาเจนมากกว่าเนื้อไก่ที่เลี้ยงแบบขังคอก (P > 0.05)
Article Details
References
กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์. 2557. ประกาศการขึ ้นทะเบียนพันธุ์สัตว์พื ้นเมืองประจำถิ่นไก่เบตง. แหล่งข้อมูล: http://breeding.dld.go.th/biodiversity/chm/pvp_chm/pvp_culture%202.html ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2558
ชัยณรงค์ คันธพนิต. 2529. วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปภาพินท์ พุทธรักษา. 2554. ผลของระบบการเลี้ยงแบบปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมือง. วิทยานิพนธ์ป ริ ญ ญ า วิ ท ย า ศ า ส ต ร ม ห า บั ณ ฑิ ต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
รัตนา โชติสังกาศ และนิรัตน์ กองรัตนานันท์. 2542. การเจริญเติบโตและคุณภาพซากของไก่พื้นเมืองเลี้ยงภายใต้ชั่วโมงแสงธรรมชาติ และชั่วโมงแสงยาว 23 ชั่วโมงต่อวัน. วิทยาสารเกษตรศาสตร์.33: 60-74.
วิทธวัช โมฬี, สุทิศา เข็มผะกา และเฉลิมชัย หอมตา. 2555. ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ. รายงานฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยสุรนารี, นครราชสีมา.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2543. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. โรงพิมพ์ธนบรรณการพิมพ์, เชียงใหม่.
สุชวัช อรรถพร. 2551. การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติ และโครงสร้างระดับจุลภาคของกล้ามเนื ้อไก่พื้นเมืองที่อายุต่างๆ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
สุนีย์ ตรีมณี, พนม สุขราษฎร์, ชัยวุฒิ อักษรรัตน์ และธีระชัย ช่อไม้. 2556. การเจริญเติบโต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และคุณภาพซากและเนื ้อของไก่เบตง. น. 757-763. ใน: การประชุมวิชาการปศุสัตว์แห่งชาติ ประจำปี 2556 2-4 พฤษภาคม 2556. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.
AOAC. 1990. Official methods of analysis of the AOAC. 15th Association of Official Analysis Chemists, VA. Castellini, C., C. Mugnai, and A. Dal Bosco. 2002. Effect of organic production system on broiler carcass and meat quality. Meat Sci. 60: 219-225.
Chen, X., W. Jiang, H.Z. Tan, G.F. Xu, X.B. Zhang, S. Wei, and X.G. Wang. 2013. Effect of outdoor access on growth performance, carcass composition, and meat characteristics of broiler chickens. Poult. Sci. J. 92: 435-443.
Dou, T.C., S.R. Shi, H.J. Sun, and K.H. Wang. 2009. Growth rate, carcass traits and meat quality of slow-growing chicken grown according to three raising systems. Anim. Sci. Pap. Rep. 27: 361-369.
Fanatico, A.C., P.B. Pillai, J.L. Emmert, and C.M. Owens. 2007. Meat quality of slow–growing chicken genotypes fed low–nutrient or standard diets and raised indoor or with outdoor access. Poult. Sci. J. 86: 2245-2255.
Husak, R.L., J.G. Sebranek, and K. Bregendahl. 2008. A survey of commercially available broilers marketed as organic, free-range, and conventional broilers for cooked meat yields, meat composition, and relative value. Poult. Sci. J. 87: 2367-2376.
Mikulski, D., J. Celej, J. Jankowski, T. Majewska, and M. Mikulska. 2011. Growth performance, carcass traits and meat quality of slower-growing and fast-growing chickens raised with and without outdoor access. Asian-Aust. J. Anim. Sci. 24: 1407-1416.
Poltowicz, K., and J.D. Doktor. 2011. Effect of free-range raising on performance, carcass attributes and meat quality of broiler chickens. Anim. Sci. Pap. Rep. 29: 139-149.
Ponte, P.I.P., C.M. Rosado, J.P. Crespo, D.G. Crespo, J.L. Mourao, M.A. ChaveiroSoares, J.L.A. Bras, I. Mendes, L.T.
Gama, J.A.M. Prates, L.M.A. Ferreira, and C.M.G.A. Fontes. 2008. Pasture intake improves the performance and meat sensory attributes of free – range broiler. Poult. Sci. J. 87: 71-79.
SAS. 1998. SAS User’s Guide. Version 6.12. SAS. Inst. Inc., Cary. N.C.Wang, K. H., S.R. Shi, T.C. Dou, and H.J. Sun. 2009. Effect of a free–range raising system on growth performance, carcass yield and meat quality of slow-growing chicken. Poult. Sci. J. 88: 2219-2223.
Wattanachant, S., S. Benjakul, and D.A. Ledward. 2004. Composition, color, and texture of Thai indigenous and broiler chicken muscles. Poult. Sci. J. 83: 123-128.