การขยายพันธุ์มะละกอ (Carica papaya L.) สายพันธุ์ฮอลแลนด์ในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

เพ็ญแข รุ่งเรือง
กิริยา สังข์ทองวิเศษ
กาญจนา เหลืองสุวาลัย

บทคัดย่อ

มะละกอ (Carica papaya L.) เป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย และเป็นไม้ผลที่มีเพศแยกต้น คือ ต้นเพศผู้ ต้นเพศเมีย และต้นสมบูรณ์เพศ โดยมะละกอต้นสมบูรณ์เพศจะให้ผลที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของผู้บริโภค คือ เนื้อหนา เมล็ดน้อย โดยต้นมะละกอที่เพาะจากเมล็ดจะให้ต้นสมบูรณ์เพศร้อยละ 70 และต้นเพศเมียร้อยละ 30 ซึ่งมีคำแนะนำในการปลูกมะละกอต้องทำการปลูกต้นกล้า 2 - 3 ต้นต่อหลุม เพื่อคัดเลือกให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศ ทำให้เกษตรกรต้องปลูกต้นกล้ามะละกอจำนวนมาก สำหรับการใช้เทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมะละกอ ทำให้สามารถผลิตต้นพันธุ์มะละกอที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมและได้ปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีจึงวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ NAA และ BA ในอาหารสูตร MS ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ โดยใช้ส่วนของตายอดอ่อนเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติมสารละลาย naphthaleneacetic acid (NAA) ความเข้มข้น 0 - 0.20 มก./ล. ร่วมกับ benzyl amino (BA) ความเข้มข้น 0 - 0.45 มก./ล. เพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25 ± 2 oซ ในสภาพให้แสง 16 ชม./วัน เป็นเวลา 60 วัน พบว่า ความเข้มข้นของสารละลาย NAA ร่วมกับ BA ไม่มีอิทธิพลร่วมกันต่อการชักนำการเกิดยอดและความยาวยอด (P > 0.05) แต่มีอิทธิพลร่วมกันในการชักนำการเกิดราก จำนวนราก ความยาวราก และจำนวนใบ (P < 0.01) โดยการใช้ NAA 0.10 มก./ล. ร่วมกับ BA 0.45 มก./ล. ให้จำนวนยอดมากที่สุดเท่ากับ 4.14 +0.69 ยอด และ NAA 0.10 มก./ล. ร่วมกับ BA 0.15 มก./ล. ให้จำนวนรากมากที่สุดเท่ากับ 8.71 + 2.21 ราก

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรณ์ กรภัทร์ชัยกุล และลัดดาวัลย์ รักษ์ธรรม. 2558. การขยายพันธุ์โมกมัน [Wrijhtia arborea (Dennst.) Mabb.] ในหลอดทดลอง. ว. วิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยี. 23(5): 833 - 845.

พีรเดช ทองอําไพ. 2529. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : หจก. ไดนามิคการพิมพ์. ละไม ยะปะนัน. 2561. ไปดูมะละกอพันธุ์ใหม่ “ส้มตำ 90” ต้นกะเทย 90 % ทนไวรัส ดก เตี้ย เนื้อกรอบ-ศรแดงทำได้. แหล่งข้อมูล: https://www.kasetvoice.com/post/4401 ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561.

สนอง เศษโม้, รภัสสา จันทาศรี, เกรียงศักดิ ไพรวรรณ ์และ พนิดา อะริมัตทสึ. 2557. การเปรียบเทียบพันธุ์มะละกอสำหรับบริโภคผลดิบ 4 พันธุ์ ในจังหวัดมหาสารคาม. ว. เกษตรพระวรุณ. 11(2): 117-126.

สมดังใจ สายสิงห์ทอง สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนหงษ์ และสุชาดา เวียร์ศิลป์ . 2554. ผลของผงถ่านกัมมันต์และ 2,4-D ต่อการเกิดแคลลัสของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1. ว. เกษตร. 27(2): 175 - 185.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2558. มาตรฐานสินค้าเกษตรมะละกอ. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สิรนุช ลามศรีจันทร์. 2540. การกลายพันธุ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สิริกุล วะสี. 2557. มะละกอ...พืชความหวังใหม่ของเกษตรกร. agriculture@risk เล่มที่ 8. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สังคม เตชะวงศ์เสถียร. ม.ป.ป. สรีรวิทยาผลิตพืช: ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของพืช. สาขาพืชสวน ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

Anandan, R., S. Thirugnanakumar, D. Sudhakar, and P. Balasubramanian. 2011. In vitro organogenesis and plantlet regeneration of (Carica papaya L.). J. Agric tech. 7(5): 1339 - 1348.

Bhattacharya, J., N.N. Renukdas, S.S. Khuspe, and S.K. Rawal. 2003. Multiple shoot regeneration from immature embryo explants of papaya. Biol Plantarum. 47(3): 327 - 331.

Bindu, B. and B. Podikunju. 2017. Tissue culture protocol for in-vitro propagation of papaya (Carica papaya L.). J Krishi Vigyan. 6(1): 205 - 212.

Bruce, S. and C.A. Peter, 2008. Handbook of Environmental Physiology of Fruit Crops. 1st Ed. pp: 217.

Graystona, S.J., S. Wangb, C.D. Campbella, and Edwards, A.C. 1998. Selevtive influence of plant species on microbial diversity in the rhizosphere. Soil Biol and Biochem. 30(3): 369 - 378.

Mumo, N. N., F. K. Rimberia, G. E. Mamati, and A. W. Kihurani. 2013. In vitro regeneration of selected Kenyan papaya (Carica papaya L.) lines through shoot tip culture. Afr. J. Biotechnol. 12(49): 6826 - 6832.

Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue culture. Physiol. Plant. 15: 473 - 497.

Radzuan, N.S., N.A. Hasbullah, F.K.A. Patah, H. Idris, and M. M. Lassim. 2018. Effects of plant growth regulators on shoot regeneration and callus induction of Carica papaya L. 32 - 35. In 12th Int’l Conference on Advances in Agricultural, Chemical, Biological & Medical Sciences (AACBMS-18) August 6-8, 2018 Pattaya (Thailand).

Setargie, A., F. Mekbib, and E. Abraha. 2015. In vitro propagation of papaya (Carica papaya L.). WORLD J. Agric Sci 11(2): 84 - 88.

Soliman, H.I., M. Gabr, and N.A. Abdallah, (2010). Efficient transformation and regeneration of fig (Ficus carica L.) via somatic embryogenesis. GM Crops. 1(1): 40 - 51.