ผลของสภาวะอบแห้งและอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดอบกรอบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันตลาดมีความต้องการจิ้งหรีดอบกรอบสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจการเลี้ยงและแปรรูปแมลงมีแนวโน้มทางการตลาดที่ดี เป็นโอกาสที่วิสาหกิจขนาดย่อมสามารถเข้าถึงและสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดได้หากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งจะเป็นการยกระดับสินค้า OTOP ในท้องถิ่นให้สามารถเข้าแข่งขันในตลาดที่สูงได้ต่อไป งานวิจัยนี้มุ่งศึกษากรรมวิธีการอบแห้งจิ้งหรีดสายพันธุ์ทองแดงลาย (สะดิ้ง) เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดอบกรอบที่มีคุณภาพ และศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ จากการศึกษาสภาวะการอบแห้งจิ้งหรีดที่อุณหภูมิ 50, 55 และ 60 องศาเซลเซียส พบว่า สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบจิ้งหรีด คือที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 8 ชั่วโมง ได้ผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดอบกรอบที่มีความชื้นร้อยละ 6.10 ค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw )เท่ากับ 0.1566 และค่าสี L*, C* และ h0 เท่ากับ 22.8, 15.0 และ 78.4 ตามลำดับ มีโปรตีนร้อยละ 62.94 และให้พลังงานทั้งหมด 432.66 กิโลแคลอรี/100 ก. คุณค่าทางอาหารต่างๆ เช่น วิตามินเอ, บี 1, บี 2, แคลเซียม และเหล็ก เท่ากับ 16.25 ไมโครกรัม, 0.048 มก., 2.658 มก., 149.34 มก. และ 6.58 มก. ต่อ 100 ก. ตามลำดับ อายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เมื่อบรรจุผลิตภัณฑ์ในกระป๋องพลาสติก (PET) และมีการใช้สารดูดซับออกซิเจนสามารถเก็บรักษาได้นาน 102 วัน ในขณะที่บรรจุในซองอลูมิเนียมฟอยล์ และมีการเติมก๊าซไนโตรเจนจะสามารถเก็บรักษาได้นาน 167 วัน
Article Details
References
ณัฏชา เปี่ยมคล้า. 2547. การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสําหรับการทอดทุเรียนสุกแช่แข็งด้วยเครื่องทอดสุญญากาศ.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประชาชาติธุรกิจ. 2559. รอบรู้เศรษฐกิจตามติดตลาดโลก. หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. 39 (4886): 7-9 พฤศจิกายน 2559. หน้า 5.
ฐานเศรษฐกิจ. 2560. จิ้งหรีดสัตว์เศรษฐกิจส่งออกใหม่. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. 37(3249) 2-5 เมษายน 2560.
นันทยา จงใจเทศ, พิมพร วัชรางค์กุล, ปิยนันท์ เผ่าม่วง และ เพ็ญโพยม ประภาศิริ. 2549. คุณภาพโปรตีนและไขมันในแมลงกินได้. กองโภชนาการ. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, สุภาพ ณ นคร, พินิจ หวังสมนึก, ไพรัช ทาบสีแพร, และญาดา พลแสน. 2544. ความหลากหลายของแมลงที่ใช้เป็นอาหารในเขตจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 29: 1-9.
ธวัช นุสนธรา. 2557. บรรจุภัณฑ์พลาสติกกับคุณภาพของอาหารโอทอป. กรมวิทยาศาสตร์บริการ. 62(196): 35-37.
ธวัช นุสนธรา และพิริยะ ศรีเจ้า. 2557. การเก็บสินค้าอาหารประเภททอดหรืออบกรอบด้วยบรรจุภัณฑ์. แหล่งข้อมูล:
http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2557_62_195_P14-17.pdf ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562.
รอมลี เจะดอเลาะ และ สะอาด อาแซ. 2560. บรรจุภัณฑ์และอายุการเก็บรักษามะตะบะฮาลาลพื้นเมืองสำเร็จรูป. วิทยาศาสตร์บูรพา. 22(1): 78-91.
สุขเกษม สิทธิพจน์. 2555. การบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการถนอมและแปรรูปอาหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
สุแพรวพันธ์ โลหะลักษณาเดช และนัฎฐา คเชนทร์ภักดี. 2554. การศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ปูหินนิ่มทอดปรุงรส. วิจัยเทคโนโลยีการประมง. 5(2): 105-110.
อาทิตยา พัฒนิบูลย์ และ ดร.อมรชัย อาภรณ์วิชานพ. 2557. เทคโนโลยีการอบแห้ง. แหล่งข้อมูล:
http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/tn234a_p64-67.pdf ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562.
AOAC. 2000. Official Method of Analysis of AOAC International. 17th edition. The Association of Official Analytical Chemists, Arlington, Virginia.
BEM. 2001. Bacteriological Analytical Manual. Available Source: http://www.cfsan.fda.gov. Accessed Dec.1, 2015.
Bin, F. and T.P. Labuza. 1993. Shelf-life prediction: theory and application. Food Control. 4(3): 125-133.
Campo, M.M., G.R. Nute, S.I. Hughes, M. Enser, J.D. Wood, and R.I. Richardson. 2006. Flavour perception of oxidation in beef. Meat Sci. 72: 303-311.
Dutta, A. and G. Dutta. 2016. Comparing optimum barrier variables of aluminium and MPET foil based laminates for coffee packaging. JAPR. 8(3): 51-60.
FAO. 2013. Edible insects Future prospects for food and feed security. Available Source: http://www.fao.org/3/i3253e/i3253e.pdf
Gray, J.I. 1978. Measurement of lipid oxidation: A review. AOCS. 55: 539-546.
Jaysingh, P. and D.P. Cornforth. 2003. Comparison of antioxidant effect of milk mineral, butylated hydroxy toluene and sodium tripolyphosphate in raw and cooked ground pork. Meat Sci. 66: 83-9.
Lopacka, J., A. Poltorak, and A. Wierzbicka. 2017. Effect of reduction of oxygen concentration in modified atmosphere packaging on bovine M. longissimus lumborumand M. gluteus medius quality traits. Meat Sci. 124: 1-8.
Pearson, D. 1976. The chemical analysis of foods. 7th edition. Edinburgh: Churchill Livinstone, New York.
Raharjo S. and J.N. Sofos. 1993. Methodology for measuring malonaldehyde as a product of lipid peroxidation in muscle tissues: A review. Meat sci. 35: 145-169.
Shaviklo, A.R., M. Azaribeh, Y. Moradi and P. Zangeneh. 2015. Formula optimization and storage stability of extruded puffed corn-shrimp snacks. JFST. 63: 307-314.