การศึกษาข้อมูลการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์และผลของการให้อาหารเสริมในโคเนื้อแบบปล่อยเลี้ยง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยแทะเล็มร่วมกับการให้อาหาร เสริมต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวและรายได้ของเกษตรกร ใช้โคเนื้อ 18 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีเกษตรกร 3 รายๆละ 2 ตัว วางแผนการทดลองแบบ 3 x 3 จัตุรัสลาติน มีการให้อาหารข้นร่วมกับเสริมกากมันสำปะหลังหมักเป็นอาหารเสริมในอัตราส่วน 50:50 3 ระดับ ได้แก่ ปล่อยโคแทะเล็ม โดยไม่ให้อาหารข้นเสริม (T1) ปล่อยโคแทะเล็ม ร่วมกับการให้อาหารข้นร่วมกับกากมันสำปะหลังหมักเป็นอาหารเสริมระดับ 1.5% BW (T2) และปล่อยโคแทะเล็ม ร่วมกับการให้อาหารข้นร่วมกับกากมันสำปะหลังหมักเป็นอาหารเสริมระดับ 2.0% BW (T3) ผลการศึกษาพบว่า จากการที่เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเลี้ยงโคเนื้ออยู่ทั้งหมด 2 สายพันธุ์คือ โคเนื้อพันธุ์ลูกผสมบราห์มัน และโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมฮินดูบราห์ซิล โดยวิถีการเลี้ยงจะอาศัยอาหารสัตว์ท้องถิ่นที่มีอยู่ตามธรรมชาติและพืชอาหารสัตว์ที่มีการเพาะปลูกหรือมีการเลี้ยงแบบปล่อยแทะเล็มและล่ามจูงตามทุ่งนาเมื่อมีการทดสอบคะแนนความรู้ ก่อนทำการทดลอง มีค่าเฉลี่ยคือ 11.87 คะแนน โดยคะแนนความรู้ หลังทำการทดลอง มีค่าเฉลี่ย คือ 17.23 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน การให้อาหารข้นร่วมกับกากมันสำปะหลังหมักที่ระดับ 1.5-2 เปอร์เซ็นต์ ในโคแทะเล็มไม่ส่งผลกระทบต่อค่า BUN และฮีมาโตคริตของเลือด การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การให้อาหารข้นร่วมกับกากมันสำปะหลังหมักที่ระดับ 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ร่วมกับการปล่อยแทะเล็ม ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของโคเนื้อ แต่โคเนื้อมีเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวและเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
ปรารถนา พฤกษะศรี. 2548. สาระน่ารู้เกี่ยวกับโค ชุดที่ 3 พันธุ์และการคัดเลือกโคพันธุ์. นีออน บุ๊คมีเดีย. นนทบุรี.
ฐิติมา นรโภค, เมธา วรรณพัฒน์, อนุสรณ์ เชิดทอง, ชูช้าง กาง, กัมปนาจ เภสัชชา และธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร. 2559. การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของกากมันสำปะหลังหมักและกระบวนการหมักในหลอดทดลองด้วยการหมักยูเรียและกากน้ำตาล. วารสารแก่นเกษตร. 44 (ฉบับพิเศษ 1): 405-412.
สมิต ยิ้มมงคล และสุกัญญา จัตตุพรพงษ์. ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/ 50/animal/11_2_animal/11_2animal.html#author. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2561.
AOAC. 1985. Official method of analysis (18thed) Association of official Analytical Chemists. Arlington, VA.
Ahola, J.K., R.M. Enns, and T. Holts. 2006. Examination of potential method to predict pulmonary arterial pressure score in beef cattle. J. Anim. Sci. 84: 1259-1264.
Crocker, C.L. 1967. Rapid determination of urea nitrogen in serum or plasma without deproteinization. The American Journal of Medical Technology. 33: 361-365.
Ferreiro, H.M., and T.R. Preston. 1976. Effect of different concentrations of urea in final molasses given as a supplement to chopped sugar cane for fattening cattle. Trop. Anim. Health Prod. 1: 66-71.
Kaneko, M., C. Helfrich-Forster, and J.C. Hall. 1997. Spatial and temporal expression of the period and timeless genes in the developing nervous system of Drosophila: Newly identified pacemaker candidates and novel features of clock gene product cycling. J. Neurosci. 17: 6745-6760.
SAS. 1985. User’s Guide: Statistic (Version 5). SAS. Institute, Cary, NC.
Silvestre, R., N.A. MacLeod, and T.R. Preston. 1977. Fattening cattle with molasses/ urea: Effect of different urea levels. Trop. Anim. Health Prod. 2: 315-318.
Van Soest P.J., J.B. Robertson, and B.A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber, neutral detergent fiber, and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. J. Dairy Sci. 74: 3583–3597.