ศักยภาพการให้ผลผลิตและความสามารถในการทนแล้งในอ้อย 15 สายพันธุ์ ที่ได้รับน้ำแตกต่างกัน

Main Article Content

จริยา นามวงษา
พัชริน ส่งศรี
นันทวุฒิ จงรั้งกลาง

บทคัดย่อ

ระบบการปลูกอ้อยส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นการปลูกแบบอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งมักจะกระทบแล้งและทำให้มีผลผลิตลดลงอย่างมาก ซึ่งการใช้พันธุ์อ้อยทนแล้งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาได้อย่าง ยั่งยืน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางการเกษตรและผลผลิตภายใต้สภาพการได้รับน้ำปกติและการขาดน้ำ ดำเนินการทดลองที่หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการวางแผนการทดลองแบบ Split Plot in Randomized Complete Block Design จำนวน 4 ซ้ำ กำหนดให้ปัจจัยหลัก (Main plot คือ) (1) ให้นน้ำปกติ และ (2) ขาดน้ำในช่วงต้นของการเจริญเติบโต ส่วนปัจจัยรอง (Sub plot) คือ พันธุ์อ้อย 15 สายพันธุ์ ปลูกทดสอบในแปลงย่อยที่มีขนาด 6 x 4 เมตร มี 4 แถว แต่ละแถวยาว 4 เมตร ระยะระหว่างร่อง 1.5 เมตร ระยะปลูก 0.5 เมตร ตรวจวัดข้อมูลองค์ประกอบผลผลิตที่อายุ 12 เดือน โดยพบว่าระดับการให้น้ำที่แตกต่างกันมีผลทำให้ลักษณะต่างๆ ที ศึกษามีความแตกต่างกันในทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ความยาวลำ น้ำหนักลำเดี่ยว (P<0.01) และค่าความหวาน (P<0.05) อ้อยที่นำมาทดสอบ มีความแตกต่างกันในทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญระหว่างพันธุ์ ในลักษณะความยาวปล้อง ความยาวลำ เส้นผ่านศูนย์กลางลำ น้ำหนักลำเดี่ยวจำนวนลำต่อกอ จำนวนลำต่อไร่ ผลผลิตอ้อย(P<0.01) และค่าซีซีเอส (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพการได้รับน้ำและพันธุ์อ้อยในลักษณะ ความยาวปล้อง ความยาวลำ เส้นผ่านศูนย์กลางลำน้ำหนักลำเดี่ยว จำนวนลำต่อกอ จำนวนลำต่อไร่ และผลผลิตอ้อย พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงทั ้งในสภาพได้รับน้ำปกติและการขาดน้ำเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิต ได้แก่ พันธุ์MPT03-320, PR3067, MPT06-166, K88-92 และ Nco382 โดยลักษณะทางการเกษตรที่ส่งเสริมให้ อ้อยมีผลผลิตที่สูงมีความแตกต่างกัน โดยในพันธุ์ MPT03-320 มีลักษณะเส้นผ่านศูนย์กลางลำน้ำหนักลำเดี่ยวสูง พันธุ์ PR3067 มีลักษณะจำนวนลำต่อกอและจำนวนลำต่อไร่สูง พันธุ์ MPT06-166, K88-92 และ Nco382 มีลักษณะความยาวลำและน้ำหนักลำเดี่ยวสูง และในสภาพ ขาดน้ำ พันธุ์ที่สามารถรักษาผลผลิตได้ดี ได้แก่ พันธุ์ CP57-603 ลักษณะที่ส่งเสริมให้ผลผลิตสูงคือ มีความยาวปล้องและความยาวลำสูง และพันธุ์ BO14 ลักษณะที่ส่งเสริมให้ผลผลิตสูงคือ มีความยาวลำสูง ดังนั ้นลักษณะดัง กล่าวจะช่วยรักษาระดับการให้ผลผลิตสูงภายใต้สภาพการขาดน้ำ สามารถใช้เป็นลักษณะที่เหมาะสมเพื่อใช้คัดเลือกพันธุ์ในระบบการปรับปรุงพันธุ์อ้อย ตลอดจนได้สายพันธุ์ที่มีการปรับตัวที่ดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จิดาภา คงหินไธสง , พัชริน ส่งศรี และนันทวุฒิ จงรั้งกลาง. 2560. รูปแบบการเจริญเติบโตและสรีรวิทยาของอ้อยต่อการจำลองความแห้งแล้ง ในระบบการปลูกอ้อยข้ามแล้ง. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25 (2): 102-112.

นัฐภัทร์ คำหล้า, ประชา ถ้ำทอง, กนกทิพย์ เลิศประเสริฐรัตน์, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, เสรีวัฒน์ จัตตุพรพงษ์, สมนึก คงเทียน และมานิตย์ สุขนิมิตร. 2555. การประเมินพันธุ์อ้อยโคลนดีเด่นภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝน. แก่นเกษตร 40 ฉบับพิเศษ 3: 37-44.

ประสิทธิ์ ใจศิล. 2555. เทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอเทคโนโลยีการผลิตอ้อย. ณ โรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชันเซ็นเตอร์ขอนแก่น. สิงหาคม 2555. หน้า 47-57

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2557. รายงานพื ้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2556/57 แหล่งข้อมูล http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9193.pdf. ค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2559.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2558. รายงานพื ้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2558/59 แหล่งข้อมูล http://www.ocsb.go.th/th/home/index.php. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2559.

อาทิตย์ แสงสายันห์, เรวัติ เลิศฤทัยโยธิน และ อภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์. 2557. การตรวจสอบผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยปลูกพันธุ์กำแพงแสนโดยใช้ค่า GE scores. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3(2): 39-51.

Doorenbos, J., and W.O. Pruitt. 1992. Calculation of Crop Water Requirement. In Crop Water Requirement. FAO of the United Nation, Rome, Italy. pp. 1–65.

Humbert, R.P. 1968. The Growing of Sugar Cane. Elsevier, Amsterdam, Netherlands.Ishaq, M.N., and G. Olaoye. 2008. Expression of heterosis in sugarcane genotypes under moisture stressed condition. African Journal of General Agriculture. 4: 99-105.

James, N.I. 1971. Yield components in random and selected sugarcane populations. Crop science. 11: 906-908.

Jangpromma, N., S. Thammasirirak, P. Jaisil, P. Songsri. 2012. Effects of drought and recovery from drought stress on aboveground and root growth, and water use efficiency in sugarcane (Saccharum

officinarum L.) Australian Journal of Crop Science. 6:1298-1304.

Kramer, P. J. 1980. Drought stress and the origin of adaptations. In adaptation to water and high temperature stress. Eds. N.C. Turner and P.J. Kramer. John Wiley and Sons, New York, pp 7–20.

Milligan, S.B., K.A. Gravois, K.P. Bischoff, and F.A. Martin. 1990. Crop effects on genetic relationships among sugarcane traits. Crop Science. 30: 927-931.

Robertson, M.J., N.G. Inman-Bamber, R.C. Mochow, and A.W. Wood. 1999. Physiology and productivity of sugarcane with early and mid-season water deficit. Field Crops Response. 64: 211-227.

Singh, G. 2002. Constraints to high yield and CSS in large and lodged cane crops. Ph.D. Thesis. James Cook University, Australia.

Silva, M.A., J.L. Jifon, J.A.G. Silva, and V. Sharma. 2007. Use of physiological parameters as fast tools to screen for drought tolerance in sugarcane. Brazilian Journal of Plant Physiology. 19: 193–201.

Songsri, P., S. Jogloy, CC. Holbrook, T. Kesmala, N. Vorasoot, C. Akkasaeng, A. Patanothai. 2009. Association of root, specific leaf area and SPAD chlorophyll meter reading to water use efficiency of peanut under different available soil water. Agricultural Water Management. 96: 790-798.