ผลของออกซินต่อการชักนำให้เกิดโซมาติคเอ็มบริโอและการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ของปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์ทรัพย์ ม.อ.
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์ทรัพย์ ม.อ. เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี การผลิตในเชิงการค้าใช้วิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งใช้ระยะเวลานานและไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของออกซินและสูตรอาหารต่อการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันในหลอดทดลอง โดยนำเอ็มบริโอเจนิคแคลลัส (embryogenic callus; EC) ที่ได้จากการเลี้ยงคัพภะวางเลี้ยงบนอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมัน (oil palm culture medium; OPCM) ที่เติม 3,6-dichloro-2-methoxybenzoic acid (ไดแคมบา) ความเข้มข้นต่างๆ หลังจากเพาะเลี้ยงนาน 4 สัปดาห์ พบว่า ไดแคมบา 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้อัตราการเกิดโซมาติคเอ็มบริโอ (somatic embryo; SE) สูงสุด 80 เปอร์เซ็นต์และจำนวน SE เฉลี่ย 1.4 เอ็มบริโอต่อหลอด แต่แคลลัสที่ได้มีลักษณะคล้ายรากสีน้ำตาล ในขณะที่ไดแคมบา 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จำนวนยอดเฉลี่ย 1.14 ยอดต่อหลอด แคลลัสที่ได้มีสีเหลือง จากนั้นนำยอดที่ได้วางเลี้ยงบนอาหารสูตร OPCM ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต นาน 6 สัปดาห์ เพื่อให้ยอดยืดยาว แล้ววางเลี้ยงบนอาหารชักนำรากที่ประกอบด้วยชนิดสูตรอาหาร และความเข้มข้นของ a-naphthalene acetic acid (NAA) แตกต่างกัน พบว่า อาหาร OPCM ที่เติม NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้อัตราการเกิดรากสูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวนรากเฉลี่ย 7.38 รากต่อต้น ความยาวรากเฉลี่ย 1.5 เซนติเมตร ดัชนีการเจริญเติบโต 1.22 และจำนวนใบ 3.75 ใบต่อต้น หลังจากเพาะเลี้ยงนาน 8 สัปดาห์ และเมื่อย้ายต้นกล้าลงปลูกในดินผสม พบว่าต้นกล้ามีอัตราการรอดชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์ หลังจากย้ายปลูกนาน 8 สัปดาห์ ดังนั้นอาหารสูตร OPCM ที่เติมไดแคมบา 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับชักนำ SE ในขณะที่อาหารสูตร OPCM ที่เติม NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เหมาะสมสำหรับการชักนำรากของปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถใช้สูตรอาหารและออกซินทั้งชนิดและความเข้มข้นดังกล่าวในการช่วยส่งเสริมการผลิตต้นกล้าเพื่อการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันต่อไปในอนาคต
Article Details
References
ชีรวัลย์ สิทธิศักดิ์, ทัศนี ขาวเนียม และสมปอง เตชะโต. 2560. ผลของการสับและสภาพวางเลี้ยงต่อการเพิ่มปริมาณโซมาติกเอ็มบริโอของปาล์มน้ำมันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 4: 41-46.
ธนวดี พรหมจันทร์. 2551. การชักนำโซมาติกเอ็มบริโอชุดที่สองและการวิเคราะห์ความแปรปรวนของต้นปาล์มน้ำมันที่พัฒนาโดยใช้เครื่องหมายอาร์เอพีดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ธีระ เอกสมทราเมษฐ์. 2554. การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน. สำนักวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ยุพาภรณ์ ศิริโสม และสมปอง เตชะโต. 2557. การประเมินการสร้างรากของปาล์มน้ำมัน 2 สายต้นในหลอดทดลอง. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 1: 6-9.
ศตปพร เกิดสุวรรณ และสมปอง เตชะโต. 2557. ผลของไดแคมบาต่อการชักนำโซมาติกเอ็มบริโอและการพัฒนาเป็นต้นของปาล์มน้ำมัน. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 1: 2-9.
ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี. 2553. วิชาการปาล์มน้ำมัน. แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/palm/linkTechnical/nursery%20seedling.html. ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561.
สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2561. ปาล์มน้ำมัน “พันธุ์ทรัพย์ ม.อ.”. แหล่งข้อมูล: http://www.rdi.ku.ac.th ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561.
สกุลรัตน์ แสนปุตะวงษ์, สมปอง เตชะโต และ สรพงค์ เบญจศรี. 2557. ผลของผงถ่านและอาหารเหลวต่อการงอกและการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่จากโซมาติกเอ็มบริโอชุดที่สองของปาล์มน้ำมัน. วารสารแก่นเกษตร 42: 456-461.
สมปอง เตชะโต. 2539. ตำราเรียนรายวิชา 510-401 บทปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพของพืชปลูก. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมปอง เตชะโต, อาสลัน หิเล และอิบรอเฮม ยีดำ. 2547. การชักนำเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสและพืชต้นใหม่จากใบอ่อนปาล์มน้ำมันต้นโตที่ให้ผลผลิตดี. วารสารสงขลานครินทร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 26: 617-628.
อภิชญา นุกูลรัตน์, สุรีรัตน์ เย็นช้อน และสมปอง เตชะโต. 2560. ผลของกรดแอสคอร์บิค ออกซิน และน้ำตาลต่อการชักนำโซมาติกเอ็มบริโอของปาล์มน้ำมันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 4: 1-7.
Agarwal, S., K. Kanwar and D. R. Sharma. 2004. Factors affecting secondary somatic embryogenesis and embryo maturation in Morus alba L. Acta Hort. 102: 359–368.
Corley, R. H. V. and P. B. Tinker. 2003. The Oil Palm, 4th ed. Blackwell Publishing, Oxford.
Gomes, H. T., P. M. C. Bartos and J. E. Scherwinski-Pereira. 2015. Optimizing rooting and survival of oil palm (Elaeis guineensis) plantlets derived from somatic embryos. In Vitro Cell. Dev. Biol. Plant. 51: 111-117.
Hilae, A. and S. Te-chato. (2005). Effects of carbon sources and strength of MS medium on germination of somatic embryos of oil palm (Elaeis quineensis Jacq.). Songklanakarin J. Sci. Technol. 27: 629-635.
Jayanthi, M., B. Susanthi, N. M. Mohan and P. K. Mandal. 2015. In vitro somatic embryogenesisand plantlet regeneration from immature male inflorescence of adult dura and tenera palmsof Elaeis guineensis (Jacq.) SpringerPlus 4: 1-7.
Kurup, S. S., M. A. M. Aly, G. Lekshmi and N. H. Tawfik. 2014. Rapid in vitro regeneration of date palm (Phoenix dactylifera L.) cv. Kheneizi using tender leaf explant. Emir. J. Food Agr. 26: 539-544.
Mallon, R., P. Covelo and A. M. Vieitez. 2012. Improving secondary embryogenesis in Quercus robur: application of temporary immersion for mass propagation. Tree 26: 731–741.
Promchan, T., S. Sanputawong and S. Te-chato. 2012. Effect of sizes of haustorium embryo on secondary somatic embryo formation and histological study in oil palm. J. Agric. Technol. 8: 671-679.
Sheil, D., A. Casson, E. Meijaard, M. V. Noordwijk, J. Gaskell, J. Sunderland-Groves, K. Wertz and M. Kanninen. 2009. The impacts and opportunities of oil palm in Southeast Asia. Occasional 51: 1-67.
Steinmacher, D. A., M. P. Guerra, K. Saare-Surminski and R. Lieberei, R. 2011. A temporary immersion system improves in vitro regeneration of peach palm through secondary somatic embryogenesis. Ann. Bot. 108: 1463–1475.
Teixeira, J. B., M. R. Sondahl and E. G. Kirby. 1994. Somatic embryogenesis from immature inflorescences of oil palm. Plant Cell Rep. 13: 247-250.
Thawaro, S. and S. Te-chatoS. 2010. Effect of culture medium and genotype on germination of hybrid oil palm zygotic embryos. ScienceAsia 36: 26–32.