การประเมินโครงการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ กลุ่มเกษตรกรบ้านโรงวัว ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นิตยาภรณ์ นิพัทธ์ศานต์
เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
ขนิษฐา เสถียรพีระกุล
รัชชานนท์ สมบูรณ์ชัย

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย จากการเลือกเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 23 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การประเมินสภาพแวดล้อมโครงการ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สภาพปัญหาการผลิตลำไยในพื้นที่ ด้านการประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัญหา อุปสรรค พบว่า เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ระยะเวลาในการคัดคุณภาพผลผลิตลำไยใช้เวลานาน เกษตรกรยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการผลิตลำไยคุณภาพ และเกษตรกรไม่มีผู้สืบทอดอาชีพการผลิตลำไย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติพร แก้วมณีชัย. 2544. การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน ความเสี่ยงของการผลิตหน่อไม้ฝรั่งระหว่างการผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ โดยมีสัญญาซื้อขาย และการผลิตที่ใช้สารเคมีโดยไม่มีสัญญาซื้อขาย. วิทยานิพนธ์สายวิทยาศาสตร์สังคม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.

กุลดา เลิศไสว และนรินทร์ สังข์รักษา. 2561. เรื่องเล่าสู่ความสำเร็จ : การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การอนุรักษ์พันธุ์ส้มโอนครชัยศรี. Veridian E J., Silpakorn Univ.11: 1468-1482.

ณพิชญา ศรีจันทร์อินทร์ และ ธีระ ฤทธิรอด. 2554. แนวทางการบริหารส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจผักปลอดภัยจากสารพิษในมุมมองของผู้ผลิต : กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. ฉบับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(3) : 131–139.

บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. สุวียาสาสน์, กรุงเทพมหานคร.

บุปผา ฤทธิ์เดช. 2545. การยอมรับมาตรฐานการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

เยาวดี รางชัยกุล. 2546. การประเมินโครงการแนวคิด และแนวปฏิบัติ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สุรีรัตนาพร นามาวงษ์. 2559. การพัฒนาเกษตรกรรมแบบพอเพียงเพื่อยกระดับสู่มาตรฐาน GAP กรณีศึกษาหอมหัวแดง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา. 2556. รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านดอยก้อม ประจำปี 2556. เอกสารรายงานผลการดำเนินงานโครงการประจำปี. โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านดอยก้อม จังหวัดลำพูน. มูลนิธิชัยพัฒนา, กรุงเทพ.

สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา. 2557. รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านดอยก้อม ประจำปี 2557. เอกสารรายงานผลการดำเนินงานโครงการประจำปี. โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านดอยก้อม จังหวัดลำพูน. มูลนิธิชัยพัฒนา, กรุงเทพ.

อุดม โกสัยสุก. 2535. การปลูกพืชไร่. อักษรบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร.

Likert, R. 1967. The method of constructing and attitude scale. P. 90-95. In: M. Fishbeic. Attitude Theory and Measurement. John Wiley & Son, New York.