ความแตกต่างของขนาดเมล็ดต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และปริมาณสารอาหารในเมล็ดถั่วหรั่ง

Main Article Content

นันทิยา พนมจันทร์
เพ็ญพักตร์ เพ็ชรเพ็ง
จตุพร ไกรถาวร

บทคัดย่อ

ถั่วหรั่งเป็นพืชปลูกแซมสวนยางในภาคใต้ บริโภคในรูปถั่วต้มซึ่งมีปริมาณโปรตีนสูงแต่ไขมันต่ำ การเจริญเติบโตของฝักถั่วหรั่งเกิดไม่พร้อมกันขนาดเมล็ดจึงต่างกัน การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของขนาดเมล็ดต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และคุณค่าทางโภชนาการในถั่วหรั่งพันธุ์สงขลา 1 โดยคัดแยกขนาดเมล็ดด้วยตะแกรงร่อนตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเมล็ด Ø คือ เมล็ดขนาดกลาง (Ø ระหว่าง 16-24 มม.) และขนาดใหญ่ (Ø มากกว่า 24 มม.) การทดลองที่ 1: ศึกษาผลของขนาดเมล็ดต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วหรั่ง พบว่าเมล็ดถั่วหรั่งขนาดกลางมีคุณภาพเมล็ดพันธุ์สูงกว่าเมล็ดขนาดใหญ่ เมล็ดขนาดกลางมีเปอร์เซ็นต์การงอก ความเร็วในการงอก และค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่รั่วไหลออกจากเมล็ด เท่ากับ 95.3 %, 23.6 ต้นต่อวัน และ 38.7 ไมโครซีเมน/เซนติเมตร/กรัมเมล็ด ตามลำดับ และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของเมล็ดขนาดใหญ่เท่ากับ 78.7 %, 19.5 ต้นต่อวัน, 72.3 ไมโครซีเมน/เซนติเมตร/กรัมเมล็ด ตามลำดับ การทดลองที่ 2: ศึกษาผลของขนาดเมล็ดต่อคุณค่าทางโภชนาการในเมล็ดถั่วหรั่งแห้งและงอก พบว่าปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้นเมื่อเมล็ดเกิดกระบวนการงอก เมล็ดงอกจากเมล็ดขนาดกลางมีโปรตีนสูงสุด (19.5 %) เมล็ดแห้งขนาดใหญ่มีไขมันสูงสุด (10.2 %) และลดลงเท่ากับ 8.3 % ในเมล็ดงอก ถั่วหรั่งงอกจากเมล็ดขนาดใหญ่มีเยื่อใยและอมิโลสเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.0 % และ 6.6 % ตามลำดับ ดังนั้นควรเลือกถั่วหรั่งเมล็ดขนาดใหญ่เพื่อบริโภคทั้งรูปเมล็ดสดและเมล็ดงอก ส่วนเมล็ดขนาดกลางคัดไว้เป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

โชคชัย กิตติธเนศวร. 2533. อิทธิพลของขนาดเมล็ดต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของถั่วลิสง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

นฤบดี ศรีสังข์, ไชยรัตน์ เพชรคีรี, อัครภาส์ สมหวัง, ศุภกฤต เลิศล้ำมงคล และณรงค์ชัย ชีวะธรรมรัตน์. 2558. การอบแห้งถั่วหรั่งงอกด้วยเทคนิคฟลูอิเซชันแบบอากาศร้อน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: 457-460.

ปิยรัตน์ ศิริวงค์ไพศาล. 2548. การปรับปรุงแป้งและสตาร์ชจากถั่วหรั่ง. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, สงขลา.

วิชัย หวังวโรดม, จิระ สุวรรณประเสริฐ และนงนุช วงศ์สินชวน. 2550. ผลของขนาดเมล็ดพันธุ์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของถั่วหรั่ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับพิเศษ): 212-214.

วินัย ขวัญแก้ว. 2553. รายงานผลการดำเนินงานเรื่องส่งเสริมการปลูกถั่วหรั่ง (ถั่วปันหยี) เพื่อเพิ่มรายได้ในอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. เอกสารประกอบการประเมินนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการพิเศษ, สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช, กรมส่งเสริมการเกษตร.

Alhassan, G.A. and M.O. Egbe. 2013. Participatory rural appraisal of bambara groundnut (Vigna subterranea (L.) Verdc.) production in southern Guinea Savannah of Nigeria. Journal of Agricultural Science. 1:18-31.

Ambika, S., V. Manonmani and G. Somasundaram. 2014. Review on effect of seed size on seedling vigour and seed yield. Research Journal of Seed Science. 7: 31-38.

AOAC. 2016. Official Methods of Analysis of AOAC International 20th edition. AOAC International, Maryland, USA. Bharathi, M. 2010. Effect of seed size on seedling vigour and crop productivity in groundnut. Master of Science in Agriculture Thesis, Acharya N. G. Ranga Agricultural University, India.

Brough, S.H., A.J. Taylo, and S.N. Azam-Ali. 1993. The potential of bambara groundnut (Vigna subterranea) in vegetable milk production and basic protein functionality systems. Food Chemistry, 47: 277-283.

Ilieva, V., S. Mitrev, I. Karov, N. Markova and E. Todorovska. 2013. Seed quality and its importance in agricultural production and safety of agricultural products. In: International Conference “Quality and Competence 2013”, 13-15 June 2013, Ohrid, Macedonia. ISTA. 2017. International Rules of Seed Testing. International Seed Testing Association. Bassersdorf, Switzerland.

Ito, S., and Y. Ishikawa. 2004. Marketing of value-added rice products in Japan: Germinated brown rice and rice bread. Proceedings of the FAO Rice Conference, Rice in Global markets. Pp 62-68. FAO, Rome, Italy.

Khampang, E., O. Kerdchoechuen, and N. Laohakunjit. 2009. Change of chemical composition of rice and cereals during germination. Agricultural Science Journal. 40: 341-344.

Kolawole, G.O., K.A. Adebayo and M.A. Adebayo. 2011. Effect of seed sizes on the growthand establishment of seedlings of sheanut tree (Vitellaria paradoxa). Journal of Agricultural Science and Technoloty. 5: 428-432.

Massawe, F.J., J.A. Roberts, S.N. Azam-Ali, and M.R. Davey. 2003. Genetic diversity in bambara groundnut (Vigna subterranea (L.) Verdc) landraces assessed by random amplified polymorphic DNA (RAPD) markers. Genetic Resources and Crop Evolution. 50: 737-741.

Nik, M.M., M. Babaeian and A. Tavassoli. 2011. Effect of seed size and genotype on germination characteristic and seed nutrient content of wheat. Scientific Research and Essays. 6: 2019-2025.PROTA (Plant Resources of Tropical Africa). 2006. In Brink M, Belay G (Eds). Cereals and Pulses, PROTA Foundation, Netherlands, pp. 213-217.

Rastegar, Z. and M.A.S. Kandi. 2011. The effect of salinity and seed size on seed reserve utilization and seedling growth of soybean (Glycine max). International Journal of Plant Production. 2: 1-4.

Tetlow, I.J. and M.J. Emes. 2017. Starch biosynthesis in the developing endosperms of grasses and cereals. Agronomy. 7: 1-43.

Thant, A.A., M. Kalousová and H. Than. 2017. Effect of seed sizes and varieties on growth, yield and oil and protein contents of groundnut (Arachis hypogaea L.). In: conference on International Research on Food Security, September 20-22, 2017 at Natural Resource Management and Rural Development organised by the University of Bonn, Bonn, Germany.