ความคาดหวังของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวอินทรีย์ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ศีดา พูนประโคน
ชัยชาญ วงศ์สามัญ
ยศ บริสุทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวอินทรีย์ในจังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ประชากร คือ เกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์ในพื้นที่เขตจังหวัดขอนแก่น ตามบัญชีรายชื่อขึ้นตามแบบคำขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 จำนวนทั้งสิ้น 4 อำเภอ ได้แก่ แวงใหญ่ เมืองขอนแก่น หนองสองห้อง และ บ้านแฮด จำนวน 135 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธี t- test F-test และ เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี Scheffe’ test โดยศึกษาความคาดหวังของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวอินทรีย์ ทั้งหมด 9ด้าน 39 ประเด็น ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีความคาดหวังระดับมาก 8 ด้านดังนี้ 1) ด้านการเตรียมเมล็ดพันธุ์ 2) ด้านการเตรียมพื้นที่ 3) ด้านการใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ 4) ด้านการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว 5) ด้านการบริหารจัดการน้ำ 6) ด้านการจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว 7) ด้านการเก็บรักษาผลผลิต 8) ด้านการตลาดข้าวอินทรีย์ และมีความคาดหวังในระดับที่น้อย 1 ด้าน นั่นคือ 1) ด้านวิธีการปลูก ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังต่อการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น พบว่า เกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่มีอายุ พื้นที่ถือครอง รายได้ประสบการณ์ในการปลูกข้าวอินทรีย์ และเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์แตกต่างกัน มีคาดหวังต่อการผลิตและการตลาดข้าวอินทรีย์แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว. แหล่งข้อมูล http://www.brrd.in.th/rkb, ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กรมการข้าว. 2560ก. คู่มือโครงการโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 60.กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าว.

กรมการข้าว. 2560ค. คู่มือโครงการโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 60.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2555. “ข้าว” พืชเศรษฐกิจของไทย. แหล่งข้อมูล http://iscd.blogspot.com/2012/03/v-behaviorurldefaultvmlo.html, ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. “ข้าว” พืชเศรษฐกิจของไทย. แหล่งข้อมูล http://iscd.blogspot.com/2012/03/v- behaviorurldefaultvmlo.html, ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สำนักบริหารการค้าข้าวต่างประเทศ. 2557. สถานการณ์ข้าวอินทรีย์ไทย. แหล่งข้อมูล http://www.dft.go.th/th-th/dft-about-mission, ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. Englewood Cliff, New Jersey: Prentice-Hall.