การใช้สารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินทดแทนอาหารสูตร MS ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกาบหอยแครง (Dionaea muscipula)
Main Article Content
บทคัดย่อ
กาบหอยแครง (Dionaea muscipula) เป็นพืชที่นิยมปลูกเลี้ยงและใช้เป็นไม้ประดับเนื่องจากความสวยงามของกาบ และมีสาร plumbagin ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย การขยายพันธุ์ในสภาพธรรมชาติทำได้ยาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีที่สามารถช่วยขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณต้นได้ แต่ต้นทุนสารเคมีในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชค่อนข้างสูง จึงไม่เหมาะกับเกษตรกรที่มีต้นทุนน้อย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (HNS) ที่มีต่อการเจริญเติบโตของกาบหอยแครงในสภาพปลอดเชื้อ โดยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกาบหอยแครง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Korean Melody Shark (KMS), Cupped Trap (CT), Dark Red (DR) และ Angelwings (AW) บนอาหารสูตร ½MS ¼MS และสารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (stock A และ B เข้มข้น 100 เท่า) ที่ความเข้มข้น 4 และ 6 มล./ล. ร่วมกับ Vitamix V 1,000 ความเข้มข้น 5 และ 10 มล./ล. เพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25±2 oซ ในสภาพให้แสง 16 ชม./วัน เป็นเวลา 45 วัน พบว่า สูตรอาหารและสายพันธุ์มีอิทธิพลต่อจำนวนยอด และความสูงต้น อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) โดยอาหารสูตรที่เตรียมจาก HNS ความเข้มข้น 6 มล./ล. ร่วมกับ Vitamix V 1,000 ความเข้มข้น 5 มล./ล. ให้จำนวนยอดเฉลี่ยในสายพันธุ์ AW มากที่สุด เท่ากับ 10.00+2.00 ยอด และในอาหารสูตรเดียวกันให้ความสูงต้นมากที่สุดในสายพันธุ์ DR เท่ากับ 3.40+0.52 ซม. สำหรับจำนวนราก พบว่าสูตรอาหารและสายพันธุ์มีอิทธิพลต่อจำนวนรากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ไม่มีอิทธิพลต่อความยาวราก (P>0.05) โดยสายพันธุ์ AW ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร ¼MS ให้จำนวนรากที่สูงสุดเท่ากับ 39.00+9.64 ราก นอกจากนี้สูตรอาหารและสายพันธุ์ไม่มีอิทธิพลต่อสีต้น (P>0.05) [ค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*)] ของกาบหอยแครง ดังนั้นสารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินความเข้มข้น 6 มล./ล. ร่วมกับ Vitamix V 1,000 ความเข้มข้น 5 มล./ล. จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนอาหารสูตร MS ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกาบหอยแครงได้
Article Details
References
ปฐมะ ตั้งประดิษฐ์, เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์,ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ และ พีรนุช จอมพุก. 2558. การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในต้นกาบหอยแครงในสภาพปลอดเชื้อโดยใช้โคลชิซิน. ว. วิทยาศาสตร์เกษตร. 46: 801-804. พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง อภิชาติ ชิดบุรี และ ยุทธนา เขาสุเมรุ. 2551. ศักยภาพของสารทดแทนธาตุอาหารและวิตามินในสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร. 39: 528-531.
เพชรรัตน์ จันทรทิณ. 2556. การรวบรวมและผลิตพืชกินแมลงสกุลหยาดน้ำค้างด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช.รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 36 น.
เพ็ญแข รุ่งเรือง, กาญจนา เหลืองสุวาลัย, สายฝน ไวยกูล และ เจนจิรา ต่อเชื้อ. 2560. การใช้สารละลายปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเพื่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่านกระแจะจันทน์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560. 2518-2524.
ศิวพงศ์ จำรัสพันธุ์. 2546. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.
วรรธนา จะนู, กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์, ดาราลักษณ์ เยาวภาคย์โสภณ และ ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา . 2558. อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชต้นทุนต่ำเพื่อการขยายพันธุ์หญ้าหวาน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 6. ว. บัณฑิตศึกษา.1(6): 401-411.
อัญชลี จาละ และสโรธร ไพฑูรย์. 2556. การเพิ่มจำนวนกาบหอยแครงโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. Thai Journal of Science and Technology. 2(2): 134-139.
Chotikadachanarong, K. 2015. Simple Media from Hydroponics Notrient Solution for Tissue Cultures of Exacum affine Balf.f.ex Regel and Stevia rebaudiana Bertoni. Naresuan University. Journal : Scienace and Technilogy. 23(1). 74-81.
Didry, N., Dubreuil, L., Trotin, F. and Pinkas, M. 1998. “Antimicrobial activity of aerial parts of Drosera peltata Smith on oral bacteria.” Journal of Ethnopharmacology. 60(1): 91-96.
Fournet, A., Angelo Barrios, A., Munoz, V., Roblot, F., Hocquemiller, R., and Cave, A. 1992. Biological and chemical studies of Pera benensis, a Bolivian plant used in folk medicine as a treatment of cutaneous leishmaniasis. J. Ethnopharmacol. 37: 159-164.
Itoigawa, M., Takeya, K. and Furukawa, H. 1991. Cardiotonic action of plumbagin on guinea-pig papillary muscle. Planta Med. 57: 317-319.Philip, H.E., William, S.B., Mare, L. and Thierry, S. 1999. Short Note: Plumbagin from Diospyros olen. Molecules. 4: 93.