ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผักไมโครกรีนของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เยาวเรศ เชาวนพูนผล
จุฑามาส คุ้มชัย
สุกิจ กันจินะ
ภวิษฐ์พร วงศ์ศักดิ์

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ การอพยพย้ายถิ่น และวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ มีแนวโน้มที่จะเลือกบริโภคสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ผักไมโครกรีนเป็นหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่นอกจากจะเป็นอาหารปลอดภัยต่อสุขภาพแล้วยังมีความหลากหลายในชนิด รูปแบบบรรจุภัณฑ์ มาตรฐานความปลอดภัย ราคาและสถานที่จำหน่าย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาคุณลักษณะสำคัญของผักไมโครกรีนที่ผู้บริโภคต้องการอย่างชัดเจน การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาคุณลักษณะของผักไมโครกรีนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจผู้บริโภคที่ซื้อผักไมโครกรีน จำนวน 200 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint Analysis) ผลการศึกษาพบว่า เหตุผลที่ผู้บริโภคเลือกบริโภคผักไมโครกรีน คือ ความมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ความสดความสะอาด และเป็นผักที่ปลอดสารพิษ โดยมีค่าใช้จ่ายในการซื้อเฉลี่ยครั้งละ 200 บาท ขึ้นไป คุณลักษณะผักไมโครกรีนที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด คือ ผักที่บรรจุในกล่องพลาสติกมีตรารับรองมาตรฐาน GAP กำกับ ขนาด 500 กรัม ราคา 25 บาท ส่วนคุณลักษณะที่เป็นที่ต้องการน้อยที่สุด คือ ผักบรรจุกล่องพลาสติกที่ไม่มีตรารับรองมาตรฐานสินค้า ขนาด 250 กรัม ราคา 150 บาท ซึ่งสะท้อนถึงคุณลักษณะของผักไมโครกรีนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากที่สุด คือ ตรารับรองมาตรฐานสินค้าที่กำกับไว้บนบรรจุภัณฑ์ รองลงมา ได้แก่ ราคา ขนาดบรรจุต่อหน่วย และลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรรณิกา บุญพาธรรม และดนุพล เกษไธสง. 2560. การประเมินผลผลิตและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในผักไมโครกรีน 13 ชนิด. แก่นเกษตร 45: 368-373.

กฤษณี เจริญทรัพย์. 2558. พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อผักปลอดสารพิษในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ชไมพร สอนเทพา. 2555. พฤติกรรมการเลือกซื้อพืชอาหารปลอดภัยของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วิฑูรย์ ปัญญากุล และชัยวัฒน์ คงสม. 2558. โครงการศึกษาและจัดทำข้อมูลสถานการณ์การผลิตและการตลาดสินค้าอินทรีย์. แหล่งข้อมูล: https://drive.google.com / filed/0BwM7RRN XrRHocUhNX2NDdWRvMms/view. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2560.

ธนะชัย พันธ์เกษมสุข, เกวลิน คุณาศักดากุล, ธนียา เจติยานุกรกุล, วรรณวรางค์ พัฒนะโพธิ์, วลัยพร มูลพุ่มสาย, สรณะ สมโน, และอรอุมา เรืองวงษ์. 2560. ส่งเสริมตลาดเกษตรสุขภาพดีวิถีล้านนา. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

พรประพา คงตระกูล, พรรณิภา ยั่วยล และศิริขวัญ สุดวัดแก้ว. 2558. ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Trichoderma harzianum ต่อการผลิตผักกลุ่มไมโครกรีน. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์, ชุมพร.

ละอองศรี ศิริเกษร , สาโรจน์ ยิ้มถิ่น , สุรเชษฐ์ บำรุงคีรี และอุดมลักษณ์ มัจฉาชีพ. 2553. เทคโนโลยีการผลิตผักพื้นบ้านแบบไมโครกรีน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. 2557. Innovation trend. แหล่งข้อมูล: http://www.nia.or.th/innolinks/page.php? issue=201412&section=6. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. 2560. ชุดความรู้แผนงานพัฒนาเครือข่ายการตลาดพืชอาหารปลอดภัย กระบวนการผลิตพืชอาหารปลอดภัยของชุมชน ตอน การจัดการตลาดโดยชุมชน. แหล่งข้อมูล: http://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/151124144834940563.pdf. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560.

อุดมลักษณ์ มัจฉาชีพ, สิริวรรณ สุขนิคม, จันทร์เพ็ญ บุตรใส, พาขวัญ ทองรักษ์, อรุณี ชัยศรี, อัจฉรียา มณีน้อย, สุรชัย มัจฉาชีพ และสมเจตน์ เจริญศรีสัมพันธ์. 2557. การศึกษาการผลิตไมโครกรีนพืชพื้นบ้านเพื่อการค้าในสภาพโรงเรือน. แหล่งข้อมูล: http://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2557/2557239875509.pdf. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560.

Akhilesh, B. 2017. Conjoint Analysis: A Potential Methodology For IS Research. Available: http://aisel.aisnet.org/cgi/viewcontent.cgi?article=1595&context=amcis1999. Accessed Nov. 8, 2017.

Chandra, D., J. G. Kim, and Y. P. Kim. 2012. Changes in microbial population and quality of microgreens treated with different sanitizers and packaging films. Hortic. Environ. Biotechnol. 53: 32-40.

Chikkamath, M., B. R. Atteri, S. K. Srivastava, and S. Roy. 2012. Factors influencing consumers behaviour for vegetable purchase. Veg. Sci. 39: 35-39.

John, L. K. 1971. Consumer Demand: A New Approach. Issue 5. Columbia University Press, New York.John, L. K. 2017. A New Approach to Consumer Theory. Available: http://citeseerx.ist. psu.edu/viewdoc/ download ?doi=10.1.1.456.4367& rep=rep1&type=pdf. Accessed Nov. 8, 2017.

Kongsom, W. and C. Kongsom. 2016. Consumer Behavior and Knowledge on Organic Products in Thailand. Available: https://waset.org/publications/10004971/consumer-behavior-and-knowledge-on-organic-products-in-thailand. Accessed Nov. 1, 2017.

Moser, R., R. Raffaelli, and D. Thilmany-McFadden. 2011. Consumer preferences for fruit and vegetables with credence-based attributes: A Review. Int. Food Agribus. Man. 14: 121-142.

Nicolae, I. and P. Corina. 2011. Consumer behavior on the fruits and vegetables market. Annals of Faculty of Economics, University of Oradea, Faculty of Economics. 1: 749-754.

Peggy, C. 2017. Conjoint Analysis: Data Quality Control. Available: https://repository.upenn.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1022&context=wharton_research_scholars. Accessed Nov. 8, 2017.

Xiao, Z., E. E. Codling, Y. Luo, X. Nou, G. E. Lester, and Q. Wang. 2016. Microgreens of Brassicaceae: mineral composition and content of 30 varieties. J. Food Compost. Anal. 49: 87-93.

Xiao, Z., G. E. Lester, Y. Luo, and Q. Wang. 2012. Assessment of Vitamin and Carotenoid Concentrations of Emerging Food Products: Edible Microgreens. J. Agric. Food Chem. 60 (31): 7644–7651.