การจำแนกลักษณะทางสัณฐาน พืชไร่ และคุณภาพพิเศษของข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมืองที่สูงจากภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

สุขสันต์ ฟองฝน
ต่อนภา ผุสดี
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย
ศันสนีย์ จำจด

บทคัดย่อ

ข้าวก่ำพื้นเมืองนับเป็นทรัพยากรพันธุกรรมที่มีคุณค่า เนื่องจากเป็นแหล่งความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สำคัญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกข้าวก่ำพื้นเมืองในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยจำนวน 37 ตัวอย่าง และข้าวพันธุ์เปรียบเทียบจำนวน 9 พันธุ์ ด้วยลักษณะทางสัณฐาน พืชไร่ 19 ลักษณะ และคุณภาพพิเศษในเมล็ดรวม 4 ลักษณะ ได้แก่ ปริมาณแอนโทไซยานิน แกมมาออไรโซนอล ความเข้มข้นธาตุเหล็ก และสังกะสี ผลการศึกษา พบว่าข้าวก่ำพื้นเมืองทุกตัวอย่างปรากฏสีม่วงดำบนส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวแตกต่างกัน โดยข้าวพื้นเมืองส่วนใหญ่ปรากฏสีเขียวทุกส่วนของต้นข้าว รูปร่างเมล็ดใหญ่ และมีชนิดแป้งเป็นข้าวเหนียว (คิดเป็น 65% 80% และ 95% ของตัวอย่างทั้งหมด) นอกจากนี้ ข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมืองมีความแตกต่างในลักษณะทางพืชไร่และลักษณะคุณภาพพิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่ามีตัวอย่างที่มีปริมาณแอนโทไซยานินและแกมมาโอไรซานอลสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ KDK เท่ากับ 2 และ 3ตัวอย่าง ตามลำดับ และมีปริมาณสังกะสีมากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ HN จำนวน 1 ตัวอย่าง และข้าวก่ำพื้นเมืองทุกตัวอย่างที่มีปริมาณธาตุเหล็กต่ำกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ KH-CMU เมื่อจัดกลุ่มด้วยลักษณะทางสัณฐาน พืชไร่ และคุณภาพพิเศษเมล็ดรวม 23 ลักษณะ พบว่าสามารถจำแนกข้าวได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ 5 กลุ่มย่อย ผลที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าข้าวก่ำพื้นเมืองในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยข้าวก่ำพื้นเมืองที่พบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

งามชื่น คงเสรี. 2547. คุณภาพข้าวและการตรวจสอบข้าวหอมมะลิไทย. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ.
จักรกฤษณ์ ขันทอง. 2550. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของคุณภาพเมล็ดในข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมือง.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ดำเนิน กาละดี. 2554. ข้าวก่ำ (ข้าวเหนียวดำ) ทรัพยากรข้าวไทยที่ถูกลืม. สำนักพิมพ์มิ่งเมือง. เชียงใหม่.
ดำเนิน กาละดี, ศันสนีย์ จำจด, และ ประเทือง โชคประเสริฐ. 2554. การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพข้าวก่ำ เพื่อสร้างนวัตกรรมเอกลักษณ์ข้าวก่ำไทย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เชียงใหม่.
ทรายแก้ว มีสิน. 2547. โครงสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
นารีรัตน์ แสนเมืองชิน. 2553. การจัดกลุ่มทางพันธุกรรมของข้าวเหนียวดำพื้นเมืองโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลายพิมพ์ DNA. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
เปรมกมล มูลนิลตา. 2553. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวเหนียวก่ำพันธุ์ พื้นเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
Allan JE. 1961. The determination of zinc in agricultural materials by atomic-absorption spectrophotometry. Analyst. 86(1025):530–34
Boonsit, P., P. Pongpiachan, S. Julsrigival and D. Karladee. 2010. Gamma oryzanol content in glutinous purple rice landrace varieties. CMU J. Nat. Sci. 9:151–58.
Bounphanousay, C. 2007. Use of phenotypic characters and DNA profiling for classification of the genetic diversity in black glutinous rice of the Laos PDR. Ph.D. Dissertation. Khon Kaen University, Khon Kaen.
Chaudhary, R.C. 2003. Speciality rices of the world: effect of WTO and IPR on its production trend and marketing. Food, Agriculture & Environment. 1:34-41.
Delhaize E, Dell B, Kirk G, Loneragan J, Nable R, et al. 1984. Manual of research procedures. Plant Nutrition Research Group, School of Environmental and Life Sciences, Murdoch University, Perth, Australia
Eslami, S., N.M. Esa, S.M. Marandi, G. Ghasemi and S. Eslami. 2014. Effects of gamma oryzanol supplementation on anthropometric measurements & muscular strength in healthy males following chronic resistance training. Indian J. Med. Res. 139:857–63.
IBPGR-IRRI Rice Advisory Committee, & International Board for Plant Genetic Resources. 1980. Descriptors for Rice, Oryza Sativa L. Int. Rice Res. Manila.
Lee J, Durst RW, Wrolstad RE. 2005. Determination of total monomeric anthocyanin pigment content of fruit juices, beverages, natural colorants, and wines by the pH differential method: collaborative study. Journal of AOAC international. 88:1269–1278
Matsuo T. 1952. Genecological Studies on Cultivated Rice. Bull Nat Inst Agr Sci. Japan.
Pathak, K., S. Rathi, R.N. Sarma and S. Baishya. 2016. Assessment of genetic diversity of indigenous glutinous rice genotypes of Assam using SSR marker Indian J. Agric. Res. 29:54–61.
Sancho, R.A.S. and G.M. Pastore. 2012. Evaluation of the effects of anthocyanins in type 2 diabetes. Food Res. Int. 46:378–86.
Shin, S.Y., H.W. Kim, H.H. Jang, Y.J. Hwang, J.S. Choe, Y. Lim, J.B. Kim and Y.H. Lee. 2017. γ-oryzanol-rich black rice bran extract enhances the innate immune response. J. Med. Food. 20:855–63.
Wallace T.C. 2011. Anthocyanins in cardiovascular disease. Adv Nutr. 2:1–7.
Wang, L.S. and G.D. Stoner. 2008. Anthocyanins and their role in cancer prevention. Cancer Lett. 269:281–290.
Xu Z, Godber JS. 1999. Purification and Identification of Components of γ-Oryzanol in Rice Bran Oil. J. Agric. Food Chem. 47:2724–28