การเร่งสีไข่แดงโดยการเสริมสาหร่ายสไปรูลินาในอาหารเลี้ยงไก่ไข่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสาหร่ายสไปรูลินาในอาหารไก่ไข่ต่อการพัฒนาสมรรถนะการผลิตไข่ไก่และคุณภาพไข่ไก่ โดยใช้ไก่สายพันธุ์ลูกผสมทางการค้า อายุ 30 สัปดาห์ จำนวน 60 ตัว และแบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 5 ตัว ไก่ในแต่ละกลุ่มจะได้รับอาหารทดลองที่มีการเสริมสาหร่ายสไปรูลินาที่ระดับ 0, 5, 10 และ 20 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร ตามลำดับ ซึ่งอาหารแต่ละสูตรจะถูกสุ่มให้แต่ละกลุ่มเป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่าการเสริมสาหร่ายสไปรูลินาในอาหารที่ระดับ 5, 10 และ 20 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร ทำให้อาหารไก่มีปริมาณโปรตีนและไขมัน สูงกว่าสูตรอาหารควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) และยังส่งผลโดยตรงต่อค่าคะแนนสีของไข่แดง ทำให้ไข่แดงของไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีการเสริมสาหร่ายสไปรูลินามีระดับความเข้มสีที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสิถิติ (P<0.01) โดยมีค่าเท่ากับ 11.34, 12.01, 12.21 และ 12.95 ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเสริมสาหร่ายสไปรูลินาในอาหารไก่ไข่สามารถพัฒนาเพิ่มค่าคะแนนสีของไข่แดงให้สูงขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าการเสริมสาหร่ายสไปรูลินาในอาหารไก่ไข่ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงสมรรถนะการผลิตและคุณภาพไข่ไก่ในด้านอื่นๆ
Article Details
References
ณัฏฐนัณ แสนทวีสุข. 2556. ผลของการเสริมสารสกัดเซลล์ยีสต์ร่วมกับอินนูลินต่อสมรรภาพการผลิต คุณภาพไข่และการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในอาหารไก่ไข่. น. 835-840. ใน: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสารคาม ฉบับพิเศษในการประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิจัย ครั้งที่ 9 วันที่ 12-13 กันยายน 2556 . มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต. 2542. การใช้กลีบดอกดาวเรืองแห้งเพื่อเป็นแหล่งสารสีในอาหารไก่ไข่. วารสารสงขลานครินทร์. 22: 169-176.
ภุชงค์ วีรดิษฐกิจ และ ไพโชค ปัญจะ. 2558. อิทธิพลของการเสริมใบมะรุมผงในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพของไก่ไข่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 23(2): 293-305.
มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี, อณัญญา ปานทอง และ วรางคณา กิจพิพิธ. 2558. ผลของการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ปรากฏของโภชนะ สมรรถภาพการผลิต และคุณภาพไก่ไข่. วารสารเกษตร. 31: 107-120.
มาฆะเพ็ญ ทรงอาจ, ยุวรศ เรืองพานิช และ เสกสม อาตมางกูร. 2556. ผลการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่และปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 ในไข่แดง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44 (ฉบับพิเศษ 1): 87-90.
สุวรรณี แสนทวีสุข, จักรพงษ์ ชายคง และ ศศินิชา โตชัยภูมิ. 2555. ประสิทธิภาพการเสริมสารสกัดเซลล์ยีสต์ร่วมกับอินนูลินในอาหารเลี้ยงไก่ไข่. แก่นเกษตร. 40 (ฉบับพิเศษ 2): 498-501.
สุภาพร อิสริโยดม, ประทีป ราชแพทยาคม, ครวญ บัวคีรี และ วิไล สันติโสภาศรี. 2538. การเสริมสารสีจากธรรมชาติบางชนิดในอาหารไก่ไข่. น. 34-38. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33 วันที่ 30 มกราคม – 1 กุมภาพันธุ์ 2538. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อัจฉรา นิยมเดชา และ มงคล คงเสน. 2556. เมทาบอลิซึมและคุณประโยชน์ของแคโรทีนอยด์ในการเพิ่มความเข้มสีไข่แดง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ฉบับพิเศษ 2556. 5: 112-121.
ฮานีย๊ะ กะโด, ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ และ วิศิษย์ เกตุปัญญาพงศ์. 2558. ผลของสารสีจากเมล็ดคำแสดในอาหารไก่ไข่ต่อความเข้มสีไข่แดง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 10: 17-27.
Akhtar, M.H. and M. Bryan. 2008. Extraction and quantification of major carotenoids in processed foods and supplements by liquid chromatography. Food Chem. 111: 255-261.
Anusuya, D.M., G. Subbulakshimi, K.M. Devi, and L.V. Venkataram. 1981. Studies on the proteins of mass-cultivated, blue-green alga (Spirulina platensis). J. Agric. Food Chem. 29: 522-525.
AOAC. 2000. Official method of analysis. 17th Edition. Association of Analysis Chemistry. Gaithersburg, MD.
Fredriksson, S., K. Elwinger, and J. Pickova. 2006. Fatty acid and carotenoid composition of egg yolk as an effect of microalgae addition to feed formula for laying hens. Food. Chem. 99: 530-537.
Habib, M.A.B., M. Parvin, T.C. Huntington, and M.R. Hasan. 2008. A review on cultivation, production and use of Spirulina as food for humans and feed for domestic animal. FAO Fisheries and Aquaculture Circular. No. 1034. FAO, Rome.
Mariey, Y.A., H.R. Samak, and M.A. Ibrahem. 2012. Effect of using Spirulina platensis algae as a feed additive for poultry diet: 1-productive and reproductive performances of local laying hens. Egypt. Poult. Sci. 32: 201-215.
Peerapornpisal Y. 2003. The cultivation of Spirulina. Department of Biology, Faculty of Science, Chiangmai University, Chaingmai:Selim, S., E. Hussein, and R. Abou-Elkhair. 2018. Effect of Spirulina platensis as a feed additive on laying performance, egg quality and hepatoprotective activity of laying hens. Europ. Poult. Sci. 82: 227-239.
Sogi, D.S., M. Siddiq, and K.D. Dolan. 2015. Total phenolics, carotenoids and oxidant properties of “Tommy Atkins” mango cubes as affected by drying techniques. LWT-Food Sci. Technol. 62: 564-568.